Quantcast
Channel: Isriya Paireepairit blogs
Viewing all 557 articles
Browse latest View live

Economics Policy

$
0
0

ช่วงหลังๆ รัฐบาลมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจด้านนโยบายเศรษฐกิจหลายประการ ก็ขอแสดงความเห็นรวมๆ ไว้ ณ ที่นี้ ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวของผมเองนะครับ

หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ

  • ผมเห็นว่า หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ควรโอนกลับไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งหมด เพราะเป็นหนี้ที่มีจุดริเริ่มมาจากนโยบายที่ผิดพลาดของ ธปท. ในขณะนั้น และปัจจุบัน ธปท. เองก็มีเงินมากพอสำหรับใช้หนี้ (เพียงแต่อยู่คนละบัญชีกัน) แต่กลับโบ้ยภาระนี้มาให้ ก.คลัง นานนับสิบปี แทนที่จะเอาเงินมาพัฒนาประเทศกลับต้องเอาเงินไปจ่ายดอกเบี้ยแทน
  • ผมไม่เห็นด้วยกับการโอนภาระหนี้มายังธนาคารพาณิชย์ เพราะสุดท้ายภาระจะตกมาอยู่ที่ผู้บริโภคอยู่ดี

หนี้สาธารณะ

  • หนี้สาธารณะยิ่งน้อยยิ่งดี แต่การไม่มีหนี้เลยเป็นเรื่องของความฝัน สุดท้ายแล้วเราต้องกู้เงิน (ไม่ว่าจะจากที่ไหน) มาลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศ ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคที่เก่าล้าสมัย ไม่ได้ทำอะไรมานาน
  • หนี้ของใครควรเป็นของคนนั้น ดังนั้นหนี้ของ ปตท. หรือการบินไทย ก็ควรเป็นองค์กรเหล่านั้นรับผิดชอบเอง การขายหุ้นรัฐวิสาหกิจ

  • ผมเห็นด้วยกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกประเภท ด้วยเหตุผลด้านความสามารถในการแข่งขัน และเป็นการตีกรอบให้รัฐวิสาหกิจมีเจ้านายเป็นตัวเป็นตนคือผู้ถือหุ้น (จากเดิมที่เป็นเงินหลวงใช้จ่ายยังไงก็ได้)

  • การขายหุ้นรัฐวิสาหกิจจาก ก.คลัง ให้กับกองทุนวายุภักษ์ เป็นเทคนิคทางบัญชีที่ช่วยให้หนี้สาธารณะลดลง แต่ผลดีทางอ้อมก็อย่างที่เขียนไปในข้อที่แล้ว (พูดง่ายๆ ว่าปัจจัยผลักดันเป็นอย่างอื่น) นอกจากนี้ ตัวรัฐวิสาหกิจเองคือ การบินไทย ก็ไม่ได้อยากเป็นรัฐวิสาหกิจเพราะไม่คล่องตัวในการทำงาน
  • สรุปคือผมเห็นด้วยกับการขายหุ้นให้กองทุนวายุภักษ์ แต่ด้วยเหตุผลเรื่องการแข่งขันของรัฐวิสาหกิจเป็นหลัก ไม่ใช่เหตุผลเรื่องการลดหนี้สาธารณะเป็นหลัก

ราคาพลังงาน

  • ควรจะลอยตัวทั้งหมด สะท้อนต้นทุนจริง ไม่บิดเบือนโครงสร้างตลาด (แต่ในทางปฏิบัติคงต้องค่อยๆ ลอยตัวไปทีละส่วน)
  • นอกจากราคาฐานควรจะลอยตัวแล้ว ควรจะเก็บเงินเพิ่มอีกส่วนหนึ่งเข้ากองทุนน้ำมันด้วยซ้ำ แล้วนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนในสาธารณูปโภคระบบราง เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้าน logistics ของประเทศในระยะยาว

ราคาข้าว

  • จากที่ศึกษามาและเคยทำงานกับ TDRI มาบ้าง ผมเห็นด้วยกับนโยบายประกันรายได้เกษตรกร (ที่พรรคประชาธิปัตย์ใช้) มากกว่านโยบายจำนำข้าว (ที่พรรคเพื่อไทยใช้) ด้วยเหตุผลว่าเป็นการตัด process ของคนกลาง (ในที่นี้คือโรงสี) เพื่อป้องกันการทุจริต
  • อย่างไรก็ตาม นโยบายประกันรายได้เกษตรกรก็มีปัญหาของตัวมันเอง เช่น ขาดแรงจูงใจทำให้ข้าวคุณภาพต่ำลง แต่พิจารณาแล้ว ผลเสียน้อยกว่านโยบายจำนำข้าว

ทวาย

  • สนับสนุนเต็มที่ เพราะนี่เป็น new growth engine ที่บ้านเราขาดแคลนมานาน เพียงแต่ต้องใช้ประโยชน์ของมันอย่างฉลาด และการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ๆ ในยุคนี้ก็ต้องแคร์ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม-สังคม มากขึ้นมากด้วย

EMC Product Lines

$
0
0

เมื่อวานทาง EMC ชวนไปกินข้าวคุยเล่น พูดถึงสถานการณ์ทั่วๆ ไปของโลก enterprise IT ในประเทศไทย โดยรวมสนุกมากเพราะผมไม่ค่อยรู้เรื่อง enterprise และทาง EMC Thailand ส่งวิศวกรมาคุยโดยตรง (พอเป็นภาษาเทคนิคมันเลยสนุก)

ปัญหามีอยู่นิดนึงว่า พอไม่รู้จักว่า EMC ทำอะไรบ้าง บางทีมันก็นึกตามไม่ค่อยออก แถม EMC เป็นบริษัทที่ทำตลาดผ่านแบรนด์ลูกต่างๆ โดยไม่ใช้ชื่อบริษัทแม่โดยตรง (ตรงข้ามกับ Oracle อย่างสิ้นเชิง) ทำให้บางครั้งจะเจอแบบ "อ้าว ตกลงบริษัท ... มันเป็นลูกของ EMC ด้วยเหรอเนี่ย"

กลับมาบ้านเลยต้องมาค้นดูสักหน่อย

อันนี้ลอก Wikipedia มาเลย จดเก็บไว้ใช้อ้างอิงในอนาคต

Product category EMC products
Storage VMax, Symmetrix, CLARiiON (discontinued), Celerra (discontinued), VNX/VNXe, Iomega, Isilon
Virtualization VMware, VPLEX
Information Security RSA Security
Backup, Recovery and Archiving DataDomain, Avamar, Mozy, RecoverPoint, SRDF, NetWorker, Centera, SourceOne
Data warehousing/Business intelligence Greenplum
Enterprise content management and Information governance Documentum, SourceOne, xDoc, Captiva
IT management Ionix, SMARTS
Cloud computing EMC Atmos, vBLOCK, Mozy

ส่วนเวอร์ชันข้างล่างเป็นรายชื่อทั้งหมด (ณ มกราคม 2555) เอามาจากเว็บของ EMC เอง

EMC Product List

Keyword:

Comment is Free, But Facts are Sacred

$
0
0

หนังสือพิมพ์ The Guardian เป็นสื่อคุณภาพที่ผมชื่นชมมากอีกแห่งหนึ่ง (อีกรายคือ The Economist) ด้วยเหตุผลหลายประการ

  • แนวคิดเชิง ideology ที่ใกล้เคียงกันหลายอย่าง (ใน Wikipedia เรียก Centre-left liberalism)
  • การบริหารจัดการเว็บไซต์ที่โดดเด่นมากในสื่อสิ่งพิมพ์ระดับเดียวกัน
  • การให้ความสำคัญกับ data/visualization

สิ่งพิมพ์ที่ "ลึก" ในระดับนี้ย่อมมี "ราก" ที่เข้มแข็งพอสมควร ช่วงหลังเลยพยายามศึกษา "ราก" ของ The Guardian เพื่อดูที่มาที่ไปของแนวคิด แนวทาง อุดมการณ์ต่างๆ ผมพบว่าแนวทางสำคัญของ The Guardian มาจาก บ.ก. คนที่สี่ Charles Prestwich Scott หรือมักเรียกกันว่า C.P. Scott ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงช่วงต้นของศตวรรษที่ 20

เขาเป็น บ.ก. ของ The Guardian เป็นเวลาถึง 57 ปี (1872–1929) เป็นคนวางรากฐานของหนังสือพิมพ์ และพัฒนา The Guardian จาก นสพ. ท้องถิ่นในแมนเชสเตอร์ (ชื่อเดิมคือ The Manchester Guardian) มาเป็นหนังสือพิมพ์ระดับชาติของอังกฤษได้สำเร็จ

งานเขียนที่สำคัญของ C.P. Scott ต่อการวางระบบของ The Guardian เกิดขึ้นในโอกาสที่หนังสือพิมพ์ครบรอบ 100 ปีเมื่อปี 1921 บทความชิ้นนี้มีชื่อว่า Comment is free, but facts are sacred ยังอ่านได้บนเว็บตามลิงก์ที่ให้ไว้

C.P. Scott พูดถึงการบาลานซ์มิติของหนังสือพิมพ์ในฐานะองค์กรธุรกิจ และในฐานะสถาบันสื่อที่เป็นปากเสียงของประชาชน ที่ต้องทำควบคู่ไปด้วยกัน ไม่สามารถละทิ้งอันใดอันหนึ่งได้

ยกส่วนที่สำคัญมาแสดงสักหน่อย

Fundamentally it implies honesty, cleanness, courage, fairness, a sense of duty to the reader and the community. A newspaper is of necessity something of a monopoly, and its first duty is to shun the temptations of monopoly. Its primary office is the gathering of news. At the peril of its soul it must see that the supply is not tainted. Neither in what it gives, nor in what it does not give, nor in the mode of presentation must the unclouded face of truth suffer wrong.

C.P. Scott บอกว่านักหนังสือพิมพ์ต้องทำ "หน้าที่" ต่อผู้อ่านและชุมชนในการค้นหาและรวบรวมข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่ผูกขาด หนังสือพิมพ์ยิ่งเป็นสิ่งจำเป็น

Comment is free, but facts are sacred. "Propaganda", so called, by this means is hateful. The voice of opponents no less than that of friends has a right to be heard. Comment also is justly subject to a self-imposed restraint. It is well to be frank; it is even better to be fair. This is an ideal. Achievement in such matters is hardly given to man. We can but try, ask pardon for shortcomings, and there leave the matter.

ย่อหน้านี้คงสำคัญที่สุดเพราะเป็นชื่อของบทความด้วย C.P. Scott บอกว่า "Comment is free, but facts are sacred" ซึ่งแปลเป็นไทยแบบคร่าวๆ ก็คือ เรานับถือเสรีภาพของความเห็น แต่บูชาข้อเท็จจริง ความเห็นของทุกฝ่ายสำคัญเท่ากันไม่ว่าจะเป็นมิตรหรือศัตรู แต่ความเห็นก็เป็นแค่ความเห็นที่แต่ละคนแตกต่างกันไป สิ่งที่สำคัญกว่าคือ "ข้อเท็จจริง" ที่ทุกฝ่ายยอมรับต่างหาก

ประโยคที่ว่านี้ถือเป็นหลักการสำคัญอย่างหนึ่งในวงการสื่อสมัยใหม่ และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไปของนโยบายด้านเนื้อหาในปัจจุบัน โดยเฉพาะ Wikipedia นี่เห็นชัดเจน

  • หลักการเรื่อง comment is free หรือ "ใครๆ ก็มีสิทธิแสดงความเห็นได้" ไม่ต่างอะไรกับหลัก neutral point of view (NPOV) ที่ Wikipedia ใช้ในปัจจุบัน
  • ส่วน facts are sacred ก็ตรงกับหลักการเรื่อง citation หรือ no original research ว่าบทความห้ามมีข้อมูลที่คิดเองเออเอง ต้องมีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือและตรวจสอบได้

นอกเรื่องนิดนึง คนที่อธิบายประเด็นเรื่อง citation ของ Wikipedia ได้เจ๋งที่สุดคือ xkcd

พอ The Guardian มาทำเว็บ ก็เลยนำแนวคิดเรื่อง Comment is free นี้ไปพัฒนาต่อ สุดท้ายกลายเป็นพื้นที่แสดงความเห็นของผู้อ่าน ชื่อเซคชันก็ตามกันคือ Comment is free

guardian comment-is-free

จากภาพจะเห็นว่าเซคชันนี้มีความสำคัญเป็นอันดับสามด้วยซ้ำ คือเป็นรองแค่ News กับ Sport ซึ่งเป็นเซคชันยอดนิยมตลอดกาลอยู่แล้ว

โดยแนวคิดแล้วมันไม่ต่างอะไรกับ Op-Ed หรือพื้นที่แสดงความเห็นของบุคคลภายนอกในหนังสือพิมพ์ (กรุงเทพธุรกิจใช้คำว่า "ทรรศนะวิจารณ์") เพียงแต่ในทางปฏิบัติ The Guardian ฉบับออนไลน์ได้พัฒนาให้มันกลายเป็น user blog ที่มีความเห็นหลากหลาย และมีบรรณาธิการของเซคชันนี้โดยเฉพาะ ทำหน้าที่คัดกรองบทความที่โดดเด่น และชวนให้ผู้อ่านเข้ามาแลกเปลี่ยนความเห็นกันผ่านคอมเมนต์อีกต่อหนึ่ง

แนวทางของ Comment is free ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้อ่านของ The Guardian มีคุณภาพพอสมควร แล้วก็มีเรื่องผลต่างตอบแทนคือ

  • ผู้อ่านที่ส่งเรื่องเข้ามาได้แสดงออก ได้คุยกับคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน และได้เท่ที่ได้ลง The Guardian
  • The Guardian เองก็ได้ content คุณภาพจำนวนมหาศาลมาฟรีๆ (อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่อง บ.ก. บ้าง)

รายอื่นที่ใช้แนวทางนี้แล้วประสบความสำเร็จคือ The Huffington Post ที่มีบล็อกของผู้อ่านและระบบคัดกรองมาขึ้นหน้าแรกอีกเหมือนกัน (ผมคิดว่าเนชั่นก็อยากทำแบบเดียวกันกับ OKNation แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไรนัก)

นอกจากเซคชัน Comment is free แล้ว The Guardian ยังมีเซคชัน Facts are sacred ที่ได้รับความนิยมน้อยกว่ากันมากแต่ก็ยังน่าสนใจ มันคือ Datablog หรือเซคชันเกี่ยวกับ "ข้อมูล-สารสนเทศ" ที่ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับไอที แต่เป็นการนำเอาข้อมูลในข่าวมาย่อยให้เข้าใจง่าย ผ่านเทคนิคด้าน visualization และรวมไปถึงการรวบรวมข้อมูลสาธารณะ การวิเคราะห์ข้อมูลจาก Wikileaks อีกด้วย

guardian datablog

ปิดท้ายในฐานะที่ผมก็เป็นคนทำ content คนหนึ่ง แนวทางของ C.P. Scott ก็ตรงกับสิ่งที่เรายึดถือมาโดยตลอด (จริงๆ เอามาจาก Wikipedia นะครับ)

  • Comment is free = ส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นในคอมเมนต์, เปิดรับบทความจากสมาชิก (โดยไม่สนใจมุมมองของเนื้อหา แต่มีระดับการคัดกรองที่คุณภาพของบทความ)
  • Facts are sacred = ต้องมีลิงก์กลับเพื่อตรวจสอบข้อมูล, เอาชนะกันด้วยหลักฐานและข้อมูลประกอบ ไม่ใช่ความเชื่อหรือความเป็นสาวก

โลกแห่งสื่อนี่มันช่างล้ำลึกจริงๆ

NBTC Telecom Master Plan

History of China: Late Qing to People's Republic

$
0
0

ช่วงนี้กำลังสนใจเรื่องประวัติศาสตร์จีนช่วงปลายราชวงศ์ จนมาถึงการสร้างชาติในระบบสาธารณรัฐ และจบด้วยชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

หนังสือที่ผมอ่านอยู่คือ "ดาวแดงเหนือแผ่นดินจีน" หรือ Red Star Over China ของ Edgar Snow นักข่าวฝรั่งคนแรกที่มีโอกาสได้สัมภาษณ์เหมา เจ๋อ ตุง ขณะกำลังหลบซ่อนตัวอยู่ในป่า

ทีนี้ เหตุการณ์ปฏิวัติและสร้างชาติจีนยุคใหม่นั้นซับซ้อนมาก คือเอาแค่ระยะเวลาแบบ official ก็ยาวนานเกือบ 40 ปีแล้ว (นับจากปฏิวัติซินไห่ปี 1911 ถึงการประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949) ยังไม่รวมเหตุการณ์ก่อนหน้าและหลังจากนั้น

ส่วนตัวละครและฝักฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็มีมากมาย ตั้งแต่ฝ่ายราชวงศ์ชิง ฝ่ายขุนศึกของราชวงศ์ ฝ่ายขุนศึกหัวเมือง ฝ่ายปฏิวัติ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ฝ่ายจีนคณะชาติ ญี่ปุ่น สหรัฐ รัสเซีย ฯลฯ เยอะแยะไปหมด

ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจเรื่องราว บริบท สถานการณ์ในแต่ละช่วง ก็ต้องเข้าใจประวัติศาสตร์จีนในยุคนั้นๆ ด้วย หลายวันที่ผ่านมาจึงใช้เวลาทำความเข้าใจเรื่องนี้อยู่นานพอสมควร

ความเสื่อมถอยของราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (Qing) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีน ขึ้นสู่จุดสูงสุดในสมัยจักรพรรดิเฉียหลง (Qianlong) จากนั้นก็เริ่มเสื่อมถอยหลังแพ้สงครามฝิ่นสองครั้งกับชาติตะวันตก

ราชวงศ์ชิงช่วงปลายเริ่มนับจากจักรพรรดิเสียนเฟิง (Xianfeng) (องค์ที่สี่จากท้าย) ครองราชย์เป็นระยะเวลาสั้นๆ 1850-1861 ช่วงนี้แพ้สงครามฝิ่นครั้งที่สอง จักรพรรดิสวรรคตไป แต่ตัวละครสำคัญของชิงช่วงปลายยังคงอยู่คือ พระสนมอี้ ซึ่งตอนหลังก็คือ "ซูสีไทเฮา" (Cixi) นั่นเอง

จักรพรรดิชิง 3 องค์สุดท้ายล้วนอยู่ใต้อิทธิพลของซูสีไทเฮาทั้งนั้น เริ่มจาก

  • จักรพรรดิถงจื้อ (Tongzhi) ครองราชย์ 1861-1875 คนนี้เป็นลูกของซูสีไทเฮาเอง ครองราชย์ตอนอายุ 5 ขวบ ตายตอนอายุ 19 (ครองราชย์ประมาณ 13 ปี)
  • จักรพรรดิกวังซวี่ (Guangxu) ครองราชย์ 1875-1908 เป็นหลานป้าของซูสีไทเฮา ครองราชย์ประมาณ 34 ปี ตายก่อนซูสีไทเฮา 1 วัน
  • จักรพรรดิเซวียนถ่ง (Xuantong) ครองราชย์ 1908-1912 จักรพรรดิองค์สุดท้ายที่รู้จักในนาม "ปูยี" ถูกเลือกโดยซูสีไทเฮาก่อนตาย ตอนครองราชย์อายุ 2 ขวบ ตอนสละราชสมบัติอายุประมาณ 6 ขวบ

ซูสีไทเฮาเป็นผู้ปกครองราชวงศ์ชิงอยู่หลังม่านตั้งแต่ปี 1861 เปลี่ยนจักรพรรดิมาสององค์ จนกระทั่งกวังซวี่เริ่มโตพอจะปกครองประเทศได้ ซูสีไทเฮาก็วางมือและไปอยู่ในวังฤดูร้อนในปักกิ่งแทนในปี 1889 รวมระยะเวลาที่ปกครองล็อตแรกประมาณ 28 ปี

ซูสีไทเฮามีนโยบายอนุรักษ์นิยม หัวโบราณ สืบทอดอำนาจและขนบธรรมเนียมจากราชวงศ์ชิงมาครบถ้วน ซึ่งเริ่มล้าสมัยเมื่อเทียบกับโลกในยุคนั้น ในขณะที่จักรพรรดิกวังซวี่มีหัวปฏิรูปมากกว่า และใช้สอยขุนนางหัวใหม่ ซึ่งสุดท้ายเริ่มปฏิรูปประเทศในปี 1898 ที่เรียกว่า "ปฎิรูปร้อยวัน" (Hundred Days' Reform) แต่ไม่สำเร็จ เพราะขุนนางเก่าไปฟ้องซูสีไทเฮา ทำรัฐประหาร และกักตัวจักรพรรดิกวังซวีไว้ในตำหนักตลอดชีวิต

ซูสีไทเฮากลับมาปกครองประเทศอีก 10 ปี ก่อนจะสวรรคตในปี 1908 รวมเวลาปกครองจีนประมาณ 40 ปี (ถ้านับระยะเวลาทั้งหมดก็ประมาณ 50 ปี)

50 ปีของซูสีไทเฮานี้เป็นการกดไม่ให้สายปฏิรูป ขุนนาง นักศึกษารุ่นใหม่ๆ ได้เดินหน้านโยบายปฏิรูปประเทศ ช่วงปลายราชวงศ์จึงมีการกบฎหลายครั้ง ที่ใหญ่ที่สุดคือกบฎนักมวยในปี 1900 ที่ทำให้ซูสีไทเฮาต้องหนีไปอยู่ที่ซีอานพักหนึ่ง

ปฏิวัติซินไห่ 1911

ช่วงปลายของซูสีไทเฮา ก็มีกลุ่มคนจีนหัวใหม่ทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก พยายามเคลื่อนไหว ปลุกระดมเพื่อปฏิวัติราชวงศ์ชิง

คนที่โดดเด่นในตอนนั้นคือ ซุน ยัต เซ็น (เกิด 1866) ที่ได้รับการศึกษาด้านเภสัชฯ จากมิชชันนารีตะวันตก และไม่พอใจราชวงศ์ชิง เลยตั้งสมาคมซิงจงฮุ่ย (Xingzhonghui) ในปี 1894 โดยพยายามปลุกระดมประชาชนในมณฑลต่างๆ ให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับราชวงศ์ชิง

ซุนยัตเซ็นโดนราชวงศ์ชิงล่า เลยต้องหนีไปอยู่ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา อยู่พักใหญ่ ซึ่งช่วงนี้ซุนยัตเซ็นก็ตั้งสมาคมใหม่ "ถงเหมิงฮุ่ย" (Tongmenghui) มีปฏิบัติการอยู่ในต่างประเทศ และได้เงินจากคนจีนโพ้นทะเลที่ไม่ชอบชิง (ช่วงนี้ซุนยัตเซ็นเข้ามาอยู่ในมาเลเซียและไทยด้วยพักหนึ่ง)

ระหว่างที่กลุ่มของซุนยัตเซ็นอยู่เมืองนอก ในจีนเองก็มีสมาคมอื่นๆ ที่เป็นพันธมิตรกันปลุกระดมให้ประชาชนลุกขึ้นสู้อยู่เรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็โดนปราบไปตลอด แกนนำคนสำคัญของถงเหมิงฮุ่ยในจีนคือ "หวงซิง" (Huang Xing) นายพลแปดนิ้ว (ซึ่งหนังเรื่องล่าสุดของเฉินหลง 1911 เขารับบทเป็นนายพลคนนี้)

หวงซิงปลุกระดมผู้คนมาหลายสิบครั้งก็ไม่สำเร็จ มาสำเร็จเอาตอนปี 1911 ในการประท้วงที่อู่ชาง (Wuhang uprising) ที่ฝ่ายปฏิวัติรบชนะทหารของชิงในเดือนตุลาคม 1911 จนทำให้เกิดซีรีส์การประท้วงและยึดเมืองชุดใหญ่ตลอดปี 1911 (ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดถูกเรียกว่า "การปฏิวัติซินไห่" หรือ Xinhai Revolution) หลายมณฑลเริ่มประกาศตัวเป็นอิสระจากรัฐบาลชิง

เนื่องจากช่วงนั้นจักรพรรดิปูยียังเด็ก และราชสำนักชิงก็ตกต่ำ อำนาจการสั่งการจึงเป็นของนายพล "หยวนซื่อไข่" (Yuan Shikai) ที่จะเป็นตัวละครสำคัญในอีกหลายปีข้างหน้า หยวนซื่อไข่เป็นผู้บัญชาการของกองทัพที่เก่งที่สุดของชิง ที่หมดอำนาจไปแล้วแต่ถูกเรียกตัวกลับมาสู้การปฏิวัติ

ปลายปี 1911 ฝ่ายปฏิวัติและฝ่ายของหยวนซื่อไข่ก็ตกลงกันได้ว่า จะเลิกระบบจักรพรรดิ หันมาใช้ระบบสาธารณรัฐ และเรียกตัวซุนยัตเซ็นกลับมาในช่วงปลายเดือนธันวาคม

สาธารณรัฐจีน (Republic of China) ก่อตั้งในวันที่ 1 มกราคม 1912 โดยให้ซุนยัตเซ็นเป็นประธานาธิบดีชั่วคราว (provisional president) กษัตริย์ปูยีสละราชบัลลังก์ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ (แต่ยังอยู่ในวังไปอีกพักหนึ่ง ตามหนังเรื่อง The Last Emperor)

เรื่องเหมือนจะจบด้วยดี แต่นั่นเป็นแค่จุดเริ่มต้น

รัฐบาลเป่ยหยาง 1912-1916

เงื่อนไขการเจรจาระหว่างฝ่ายปฏิวัติและฝ่ายหยวนซื่อไข่คือ ถ้าหยวนซื่อไข่บีบให้จักรพรรดิสละราชสมบัติได้ ซุนยัตเซ็นจะมอบตำแหน่งประธานาธิบดีให้

หยวนซื่อไข่เป็นประธานาธิบดีคนที่สองในวันที่ 10 มีนาคม 1922 โดยใช้คณะรัฐมนตรีผสมระหว่างฝ่ายของหยวนซื่อไข่กับฝ่ายปฏิวัติ

ปี 1912 เป็นปีที่จีนเตรียมตัวเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ซึ่งฝ่ายปฏิวัติก็ตั้งพรรคขึ้นมาลงเลือกตั้ง หลักๆ แล้วคือพรรคชาตินิยม หรือ ก๊กมินตั๋ง/กั๋วหมินตั่ง (Kuomintang - KMT) การเลือกตั้งมีในช่วงปลายปี 1912 ซึ่งพรรคก๊กมินตั๋งชนะ

ปี 1913 พรรคก๊กมินตั๋งที่เตรียมจะจัดตั้งรัฐบาลในเดือนเมษายน หัวหน้าพรรคที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีถูกลอบสังหารโดยฝ่ายของหยวนซื่อไข่ในเดือนมีนาคม 1913 ฝ่ายก๊กมินตั๋งเลยระดมกำลังมาสู้กับฝ่ายหยวนซื่อไข่ (Second Revolution) ในช่วงกลางปี 1913 แต่แพ้เละเทะ

หยวนซื่อไข่ได้อำนาจการเมืองจีนเบ็ดเสร็จ ฝ่ายก๊กมินตั๋งหนีออกไปในต่างประเทศ รัฐบาลช่วงนี้เรียกรัฐบาลเป่ยหยาง (Beiyang Government) ตามชื่อกองกำลังของหยวน

หลังจากหยวนซื่อไข่สามารถกำจัดฝ่ายปฏิวัติ (counter revolution) ได้แล้ว ก็เตรียมฟื้นฟูระบบกษัตริย์อีกครั้ง โดยเขารับตำแหน่งฮ่องเต้คนใหม่เองในช่วงปลายปี 1915 แต่ก็โดนต้านเยอะมาก หยวนเป็นจักรพรรดิได้ 83 วันก็ต้องเปลี่ยนกลับ และป่วยตายช่วงกลางปี 1916

จากนั้นจีนก็เริ่มเข้าสู่ยุค "แผ่นดินเดือด" ที่ไม่มีใครครองอำนาจอย่างแท้จริง

ยุคขุนศึก 1916-1928

หลังหยวนซื่อไข่ตายก็ไม่มีใครยอมใคร ขุนศึกผู้คุมกำลังทหารในมณฑลต่างๆ ก็ตั้งตัวเป็นอิสระ ส่วนรัฐบาลที่ปักกิ่ง (ตอนนั้นชื่อเป่ยจิง) ก็อ่อนแอ และฝ่ายก๊กมินตั๋งเองก็ถูกตีกระเจิงไปอยู่ต่างประเทศ แถมแบ่งออกเป็นฝ่ายย่อยๆ เหมือนกัน

เหตุการณ์ช่วงนี้จะมั่วๆ คือขุนศึกทะเลาะกันและแย่งกันเป็นใหญ่ มีความพยายามฟื้นฟูราชวงศ์ชิงอีกครั้ง โดยเชิญปูยีกลับมาเป็นจักรพรรดิในปี 1917 เป็นช่วงเวลาสั้นๆ และเลิกไปเพราะโดนค้านเยอะ ปูยีถูกไล่ออกจากพระราชวังต้องห้ามในช่วงนี้เอง

หลังหยวนซื่อไข่ตาย ในปี 1917 ซุนยัตเซ็นกลับมาในจีนอีกครั้ง โดยตั้งตัวอยู่ทางใต้ โดยตั้งรัฐบาลที่กว่างโจว (ฐานที่มั่นของฝ่ายชิงอยู่ที่ปักกิ่ง) พรรคก๊กมินตั๋งช่วงนี้ยังไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไรเพราะอาศัยอำนาจของขุนศึกท้องถิ่น ไม่มีกำลงทหารของตัวเอง

ฝ่ายของก๊กมินตั๋งสะสมกำลังอยู่ที่ภาคใต้ชั่วเวลาหนึ่ง โดยมีแผนจะรุกขึ้นไปตีขุนศึกทางเหนือ เพื่อรวมจีนให้เป็นหนึ่ง แต่ซุนยัตเซ็นกลับเป็นมะเร็ง ตายไปก่อนในปี 1925 ช่วงนี้จีนฝ่ายใต้ก็จับมือกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ก่อตั้งในปี 1921 ด้วย

จีนฝ่ายใต้ถูกสืบทอดต่อโดยเจียงไคเช็ค ซึ่งเป็นทหารขวาจัดที่จบการศึกษามาจากญี่ปุ่น คือเดิมทีพรรคก๊กมินตั๋งจะประกอบด้วยฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา โดยซุนยัตเซ็นจะออกซ้ายนิดๆ เลยสามารถเชื่อมโยงกับพรรคคอมมิวนิสต์ได้ แต่พอมาเป็นเจียงไคเช็คที่เป็นขวาแบบฟาสซิสต์เต็มขั้น ก็เลยไม่ถูกกับคอมมิวนิสต์ (เจียงไคเช็คได้รับการยอมรับน้อยกว่าซุนยัตเซ็น เลยพยายามทุกทางเพื่อสืบทอดอำนาจ ซึ่งรวมถึงการแต่งงานกับน้องสาวของภรรยาซุนยัดเซ็น เพื่อให้เกี่ยวข้องกันทางเครือญาติด้วย)

เจียงไคเช็คเริ่มยุทธการบุกเหนือ (Northern Expedition) ในปี 1926 ไล่ตีขุนศึกไปทีละกลุ่ม สงครามชุดนี้กินเวลา 3 ปี และพรรคก๊กมินตั๋งก็พิชิตจีนทั้งประเทศได้ในปี 1928 นำประเทศกลับมาเป็นหนึ่งอีกครั้ง (แต่ช่วงหลังๆ ขุนศึกก็ยอมแพ้โดยไม่สู้ และสามารถปกครองตัวเองต่อไปได้แบบเนียนๆ)

Northern Expedition Map

แผนที่แสดงเส้นทางของยุทธการบุกเหนือของพรรคก๊กมินตั๋ง แยกกันเป็น 3 สาย บุกจากล่างสุด (กวางตุ้ง) ขึ้นไปตีปักกิ่ง (จาก Saint Martin's University)

ในทางตัวหนังสือ พรรคก๊กมินตั๋งครองจีนได้ แต่ในทางปฏิบัติ ก็ยังมีกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่ให้ความร่วมมือแต่ไม่ได้เป็นพวก 100% และกลุ่มขุนศึกที่ยอมสวามิภักดิ์ด้วย

ปี 1927 ยังมีเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนแตกกัน นั่นคือ กองกำลังผสมสองฝ่ายนี้บุกยึดเซี่ยงไฮ้จากขุนศึกได้ และเจียงไคเช็คที่เกลียดพรรคคอมมิวนิสต์อยู่แล้ว ก็อาศัยจังหวะนี้ปราบสมาชิกของ พคจ. ที่เซี่ยงไฮ้ หวังฆ่าให้ตายหมดเสี้ยนหนาม เหตุการณ์นี้เรียกว่า Shanghai massacre ซึ่งฝ่าย พคจ. โดนฆ่าไปเป็นพัน ส่วนระดับแกนนำอย่าง เฉินตู้ซิ่ว (Chen Duxiu) เลขาธิการและผู้ก่อตั้งพรรค กับ โจวเอินไหล (Zhou Enlai) รอดมาได้

ต้นปี 1929 เจียงไคเช็ครวมประเทศเป็นหนึ่งได้อีกครั้ง แต่ยังมีพรรคคอมมิวนิสต์ที่เป็นเสี้ยนหนาม หนีไปอยู่ในชนบท และการรุกรานจากจักรวรรดิญี่ปุ่นก็กำลังคืบคลานเข้ามา

ทศวรรษแห่งนานกิง / ยุคสงครามกลางเมือง 1927-1937

ช่วงเวลาสิบปีระหว่างปี 1927-1937 ถูกเรียกว่าเป็น "ทศวรรษแห่งนานกิง" หรือ "ทศวรรษแห่งนานจิง" (Nanjing/Nanking Decade) เพราะมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวงของ "สาธารณรัฐจีน" ที่นานกิงในปัจจุบัน

ยุคนี้จะเริ่มนับจากการตั้งรัฐบาลนานกิงของเจียงไคเช็ค (ก่อนพิชิตทั่วประเทศได้เล็กน้อย) ไปจนถึงเหตุญี่ปุ่นบุกในปี 1937

เหตุการณ์ในช่วงนี้คือ พรรคก๊กมินตั๋งครองประเทศจีนได้ และใช้ระบบ 1 ประเทศ 1 พรรคปกครอง ซึ่งเจียงไคเช็คก็ต้องพยายามสร้างเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ ปราบขุนศึก ปราบก๊กต่างๆ ภายในพรรคตัวเองให้อยู่หมัด

ฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์หลังจากโดนปราบในเหตุการณ์ที่เซี่ยงไฮ้ ก็หนีมายังภาคกลาง-ตะวันตกของจีน และก่อตั้งประเทศในชื่อ "สาธารณรัฐโซเวียตจีน" (Soviet Republic of China) ในปี 1931

คำว่า "โซเวียต" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงรัสเซีย แต่หมายถึงรัฐคอมมิวนิสต์ แบบเดียวกับโซเวียตรัสเซีย (USSR)

สาธารณรัฐโซเวียตจีนมีพื้นที่ไม่ต่อกัน ประมาณว่าเขตไหนแดงๆ ก็ประกาศตัวเป็นรัฐโซเวียต และประสานงานระหว่างเขตกัน โดยเขตหลักอยู่ที่มณฑลเจียงซี (Jiangxi) มีระบบเศรษฐกิจ ธนบัตรของตัวเอง (แบงค์เป็นรูปเลนิน!) และได้รับความช่วยเหลือจากโซเวียตรัสเซียอยู่เยอะ

ตั้งประเทศมาได้ไม่ทันไร เขตโซเวียตจีนก็โดนรัฐบาลจีนคณะชาติล้อมปราบ โดยครั้งแรกตั้งแต่ปี 1930-1931 นั่นแหละ ซึ่งฝ่ายโซเวียตจีนก็ใช้ยุทธการรบแบบกองโจร ตอดเล็กตอดน้อย ล่อให้กองทัพจีนคณะชาติเข้าไปยังพื้นที่แล้วตลบหลัง เอาชนะมาได้เรื่อยๆ ช่วงการล้อมปราบมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Encirclement Campaigns ถ้าพูดเป็นภาษาไทยสมัยนี้ก็คง "กระชับวงล้อม" หรือ "ขอพื้นที่คืน" นั่นล่ะครับ

เจียงไคเช็คล้อมปราบโซเวียตจีนมา 4 ครั้ง ล้มเหลวกลับไปทุกครั้ง เปลืองพลังเงิน-ทหารไปมาก มาสำเร็จเอาในการล้อมปราบครั้งสุดท้ายคือครั้งที่ 5 ในปี 1934 โดยใช้ยุทธการใหม่คือบุกเข้าไปช้าๆ สร้างป้อมเชื่อมต่อกัน ค่อยๆ กดดันเข้าไปเรื่อยๆ ด้วยกำลังทหาร-อาวุธที่มากกว่า

พรรคคอมมิวนิสต์จีนถูกล้อมอยู่เกือบปี ตอนหลังรู้ว่าน่าจะแพ้แน่ เลยวางแผนตีฝ่าวงล้อม พาทหารและประชาชนของตัวเองนับแสนออกไปทางทิศตะวันตก คนวางแผนในช่วงนี้เป็นฝีมือโจวเอินไหลล้วนๆ แทบจะคนเดียว เหตุผลส่วนหนึ่งที่หนีออกจากวงล้อมได้เป็นเพราะกองกำลังที่ปิดล้อมไม่ได้มีแต่กองกำลังจากรัฐบาล มีกองกำลังของขุนศึกท้องถิ่นด้วย ซึ่งโจวเอินไหลไปเจรจากับขุนศึก (ที่ไม่ต้องการให้ทหารของตัวเองตายจากการรบกัน) และเปิดทางออกไปได้

จากนั้นพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็เริ่มประวัติศาสตร์ 1 ปีช่วงที่ตื่นเต้นมาก นั่นคือการเดินทัพระยะไกล (Long March) เพื่อหนีการไล่ตามของเจียงไคเช็ค มีทั้งข้ามแม่น้ำ ปีนสะพาน ข้ามเหว เดินทัพกลางคืน ฯลฯ อ่านแล้วยังกับเกมแต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง

พรรคคอมมิวนิสต์เดินทางไปยังทิศตะวันตก ซึ่งเป็นเขตบ้านนอกที่พรรคก๊กมินตั๋งยังไม่มีอิทธิพลแผ่ไปถึง กองกำลังของ พคจ. แบ่งเป็น 3 สาย โดยสายหลักของเหมาเจ๋อตงและโจวเอินไหลคือกองทัพที่ 1 (นอกจากนี้ยังมีกองทัพที่ 2 และ 4 แยกกันเดินทางไปคนละเส้น)

Logn March ใช้เวลา 1 ปีเต็ม เดินด้วยเท้าไปครึ่งประเทศจีน ตอนแรกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ เข้าไปยังยูนนาน แล้วตอนหลังเดินทางขึ้นเหนือไปภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ไปตั้งมั่นอยู่ที่มณฑลส่านซี (Shanxi) ซึ่งอยู่ห่างไกลอิทธิพลของก๊กมินตั๋งมากที่สุด

การเดินทัพทางไกลครั้งนี้ทารุณมาก เพราะภูมิประเทศทางภาคตะวันตกของจีนมีแต่ภูเขา นอกจากนี้ก็โดนทัพของเจียงไคเช็คล้อมปราบ ทิ้งระเบิด ฯลฯ อยู่เรื่อยๆ แถมเจอปัญหาโรคภัย อาหารขาดแคลน สภาพอากาศ ฯลฯ สรุปว่าตอนเริ่มต้นเดินมีเกือบแสน ตอนถึงที่หมายมีเกือบหมื่นเท่านั้น แต่บรรดาผู้นำของ พคจ. ก็รอดไปถึงที่หมายกันได้เกือบหมด

การเดินทัพรอบนี้ถึงจะโหดร้ายทารุณ แต่ก็มีประโยชน์ในเชิงประชาสัมพันธ์แนวคิดของ พคจ. โดยฝ่ายนำกำหนดว่าห้ามปล้นชิงราษฎร ต้องการของให้ซื้อ ถ้าเจอเจ้าที่ดินกดขี่ให้ปล้นแล้วเอาของมาแจกราษฎร ชาวนายากจนในพื้นที่ ทำให้มีคนเข้าร่วม+เห็นใจ พคจ. อีกมาก

Long March Map

แผนที่: Long March จาก Wikipedia เส้นทางเดินทัพของเหมา เริ่มต้นตรงตัว X อันล่างสุด ตามเส้นสีแดง ไปจบที่ก้อนสีแดงด้านบนสุด

สุดท้ายช่วงปลายปี 1935 พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ได้ฐานที่มั่นใหม่ในมณฑลส่านซี และตั้งเมืองหลวงที่นครป่าวอัน (Bao'an) ในการเดินทัพครั้งนี้ เหมาเจ๋อตงแสดงความเป็นผู้นำและสั่งสมบารมีจนกลายเป็นเบอร์ 1 ของ พคจ. (โจวเอินไหลเป็นเบอร์ 2)

ปี 1936 เอ็ดการ์ สโนว์ คนเขียนหนังสือ "ดาวแดงเหนือแผ่นดินจีน" เดินทางไปที่ป่าวอัน และมีโอกาสสัมภาษณ์เหมา รวมถึงสังเกตสภาพการณ์ในเขตโซเวียตจีน ที่ยากจนแต่ก็มีกำลังใจที่ดีจากอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ที่ทุกคนเท่าเทียมกัน (ในอดีตจีนมีปัญหาเรื่องเจ้าที่ดินมาก ทำให้ชาวนายินดีเข้าร่วมกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่ต้านระบบเจ้าที่ดิน)

ระหว่างนั้น ญี่ปุ่นก็รุกเข้ามาในดินแดนจีนเรื่อยๆ โดยเริ่มจากแมนจูเรีย-แมนจูกัว ซึ่งเจียงไคเช็คก็ใช้วิธียอมๆ หยวนๆ มาโดยตลอด แต่หันมาเน้นการปราบคอมมิวนิสต์แทน ทำให้คนจีนไม่พอใจมาก (อารมณ์แบบว่าศัตรูมาบุกหน้าบ้านแล้วยังไปทำอย่างอื่น รบกันเองกับคนชาติเดียวกัน)

พคจ. พยายามจับมือกับพรรคก๊กมินตั๋งเพื่อรบญี่ปุ่นแต่เจรจาไม่สำเร็จสักที จนช่วงปลายปี 1936 ก็เกิดเหตุขุนศึกที่เป็นพันธมิตรกับเจียงไคเช็ค จับเจียงเป็นตัวประกันไว้ 2 อาทิตย์ แลกกับเงื่อนไขว่าเจียงต้องจับมือกับคอมมิวนิสต์เพื่อต้านญี่ปุ่น ซึ่งสุดท้ายเจียงก็ยอม (ส่วนขุนศึกคนนี้คือ Zhang Xueliang ก็โดนโทษกักบริเวณในบ้านชั่วชีวิต โทษฐานไปจับผู้นำ) เหตุการณ์นี้เรียกว่า Xi'an incident

สองฝ่ายเลยต้องจับมือกันชั่วคราวเพื่อต้านญี่ปุ่นในปี 1937 เป็นต้นไป ความร่วมมือครั้งนี้เรียกว่า Second United Front หรือ "แนวร่วมครั้งที่สอง"

สงครามโลกครั้งที่สอง 1937-1945

ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายจริงๆ เป็นแค่ในนาม เพราะต่างฝ่ายต่างรบกับญี่ปุ่น ไม่ค่อยได้ประสานงานกันนัก (แค่หยุดสู้กันเองก็ดีแล้ว) ฝ่ายจีนคณะชาติเป็นกำลังหลักที่รบกับญี่ปุ่นในแบบ ซึ่งก็โดนญี่ปุ่นตีนานกิงได้อย่างรวดเร็ว (เหตุการณ์ตามหนังสือ "หลั่งเลือดที่นานกิง") ทำให้เจียงต้องอพยพหนีไปยังภาคตะวันตกอยู่เรื่อยๆ

ส่วนฝ่าย พคจ. ก็ใช้กลยุทธแบบกองโจรตามที่ถนัด ทำให้เสียหายน้อยและได้รับเสียงสนับสนุนจากคนในพื้นที่มาก โมเมนตัมของทั้งสองฝ่ายเลยเริ่มเปลี่ยน นั่นคือก๊กมินตั๋งมีพลังลดลง ในขณะที่ พคจ. มีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ

(หมายเหตุ: ช่วงนี้ยังอ่านไม่ถึงเลยไม่ค่อยละเอียด)

สงครามกลางเมืองครั้งที่สอง 1946-1950

หลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้ ทั้งสองฝ่ายก็มารบกันต่อ คราวนี้ฝ่าย พคจ. มีกำลังเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่ฝ่ายก๊กมินตั๋งมีความขัดแย้งภายในระหว่างฝ่ายของเจียงไคเช็ค กับฝ่ายของหลี่ซงเหริน (Li Zongren) โดยตอนหลังหลี่ซงเหรินขึ้นมามีอำนาจทางปกครอง แต่ก็สั่งทหารที่ยังอยู่กับเจียงไคเช็คไม่ได้

ปัจจัยหลายอย่างนี้ทำให้ฝ่ายพรรคก๊กมินตั๋งแพ้สงคราม และโดนพรรคคอมมิวนิสต์ยึดประเทศได้เบ็ดเสร็จในปี 1950 ซึ่งฝ่ายของเจียงไคเช็คเห็นอนาคตของตัวเองมาสักพักหนึ่ง ก็เตรียมทางถอยและอพยพไปไต้หวันมาก่อนแล้ว

ก่อนพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะเอาชนะได้เบ็ดเสร็จ ก็ประกาศตั้งประเทศใหม่ "สาธารณรัฐประชาชนจีน" (People's Republic of China) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 1949 ปิดฉากความขัดแย้งตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศ์ชิง รวมเวลาเกือบ 50 ปี (ผมเข้าใจว่าเนื้อหาส่วนนี้อยู่ในภาพยนตร์เรื่อง "มังกรสร้างชาติ" หรือ Founding of a Republic ซึ่งยังไม่ได้ดู)

แต่เรื่องของจีนยังไม่จบง่ายๆ เพราะพรรคคอมมิวนิสต์ที่ยึดอำนาจได้ก็มีปัญหาภายใน ต้องรอไปอีกเกือบ 20 ปีจนถึงยุคของเติ้งเสี่ยวผิง เสถียรภาพถึงเริ่มกลับคืนมาสู่ประเทศจีน รวมเวลาเบ็ดเสร็จที่อยู่ใน "ยุคมืด" ก็น่าจะเกือบร้อยปี ถือเป็น China's Lost Decade อย่างแท้จริง

Keyword:

GigaOm Buys paidContent

$
0
0

ข่าวใหญ่วันนี้ของโลก online tech media คือเว็บที่ผมชอบมากทั้งสองเว็บซื้อกิจการกันเอง

เว็บที่ว่าคือ GigaOm ของ Om Malik (ผมเคยไปฟังแกพูดที่ลอนดอน ตอนนั้นแกยังไม่เปิดเว็บและไม่รู้ว่าแกเป็นใคร!!!) เข้าซื้อเว็บทั้งหมดในเครือ paidContent (หลักๆ คือ paidContent กับ mocoNews) ซึ่งเดิมเป็นของกลุ่ม Guardian

การซื้อครั้งนี้เป็นการเสริมทัพ online content ของเครือ GigaOm ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ซื้อเว็บอื่นๆ มาบ้างแล้ว เช่น jkOnTheRun

ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า ทั้ง GigaOm และ paidContent เป็นเว็บที่ขายเนื้อหาเชิงคุณภาพ เน้นการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและทิศทางของตลาด มากกว่าจะเป็นข่าวผลิตภัณฑ์ทั่วๆ ไปแบบ Engadget/The Verge ที่เน้นตลาดแมส

สิ่งต่อมาที่น่าสนใจคือ มุมมองของ Om Malik ต่อการซื้อกิจการครั้งนี้ว่าเป็น strategic buyout สำหรับธุรกิจ online content ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และกำลังลองผิดลองถูกอยู่ว่าจะไปในทิศทางไหน

I have always believed that we’ve got to stop thinking of media as what it was and focus on more of what it could be. In the world of plenty, the only currency is attention and attention is what defines “media.” Zynga is fighting Hollywood for attention (and winning). Instagram is taking moments away from other media. They have attention. There are old companies that are dying and new ones that are being invented. We’re eager to expand our coverage of social and digital media editorially, in our research and at our events. paidContent is the best chronicler of the media industry, and by blending their coverage with ours, we hope to watch this fast-changing industry ever more closely.

จาก GigaOm

Techmeme Event Calendar

$
0
0

การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจครั้งที่สองของ Techmeme หลังปรับดีไซน์หน้าเว็บใหม่เมื่อเร็วๆ นี้ คือการเพิ่ม event calendar เข้ามา (ประกาศ)

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้น่าสนใจสำหรับผมมาก เพราะในอดีต Blognone เคยทำ event calendar คล้ายๆ กันนี้ แต่สุดท้ายก็ล้มเลิกไปเพราะการหาข้อมูลมาป้อนในปฏิทิน เป็นงานที่กินแรงสูง และผลตอบแทนไม่ค่อยคุ้มกับแรงที่ลงไปมากนัก (แต่กรณีของ Techmeme ก็แสดงให้เห็นชัดว่ามันมีตลาดนั่นแหละ)

ประเด็นที่น่าสนใจของ Techmeme มี 3 อย่าง

  1. การเลือกว่าจะลง event ไหนในปฏิทินบ้าง เนื่องจาก event มีเยอะ ถ้าลงหมดจะเป็นการ flood (ไม่สามารถแยก signal จาก noise) ดังนั้น Techmeme จะลง event ที่คิดว่าสำคัญและน่าจะเป็นข่าวได้เท่านั้น อันนี้ใช้การคัดกรองด้วยคนเป็นหลัก
  2. วิธีการลง event ให้เจ้าของงานเป็นคนส่งเข้ามาให้คัดเลือก ซึ่งตรงนี้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องแรงงานในการหาข้อมูลไปได้พอสมควร (เพราะปัจจุบัน Techmeme ดังมากอยู่แล้ว ใครๆ ก็อยากลง) เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ
  3. วิธีการหารายได้ event ทุกงานลงฟรี แต่ถ้าอยากเด่นกว่าปกติและอยากเพิ่มลิงก์ลงทะเบียนให้หน้าแรก ก็ต้องจ่ายเงินเพิ่ม อันนี้เป็นโมเดลธุรกิจแบบ freemium ที่กำลังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ

เก็บไว้เป็นกรณีตัวอย่าง เผื่อ Blognone จะนำ event calendar กลับมาอีกครั้งเมื่อถึงเวลาอันสมควร

1911

$
0
0

1911 หรือชื่อไทย "ใหญ่ฟัดใหญ่" (เกี่ยวอะไรกันเนี่ย) เป็นหนังเรื่องที่ 100 ของเฉินหลง เล่าเรื่องการปฏิวัติซินไฮ่ของจีนในปี 1911 ซึ่งทำลายระบบจักรพรรดิที่สืบทอดกันมานาน 2000 ปีลงได้

1911 Poster

หนังเดินเรื่องด้วยระบบพระเอกคู่ โดยกล่าวถึง 2 แกนนำของสมาคมปฏิวัติ "ถงเหมิงฮุ่ย" (Tongmenghui) คือ ซุนยัตเซ็น (แสดงโดย Winston Chao) ผู้นำของถงเหมิงฮุ่ย และ นายพลหวงซิง (Huang Xing แสดงโดยเฉินหลง) เบอร์สองขององค์กร ใช้วิธีเล่าเรื่องแบบตัดสลับเหตุการณ์ระหว่างกัน คือ ซุนยัตเซ็นเดินสายหาเงินจากคนจีนในต่างประเทศเพื่อมาทำการปฏิวัติ ล้มราชวงศ์ชิง ส่วนหวงซิงก็ก่อการลุกฮือตามเมืองต่างๆ ทั่วประเทศจีน หนังเปิดเรื่องด้วยการลุกฮือที่กว่างโจวในเดือนเมษายน 1911 (Second Guangzhou Uprising) ซึ่งล้มเหลว นายพลหวงซิงโดนระเบิดเสียนิ้วไปสองข้าง จากนั้นตามมาด้วยการลุกฮือที่อู๋ชาง (Wuchang Uprising) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เพราะเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายปฏิวัติก่อการแล้วชนะ การลุกฮือครั้งนี้ หวงซิงไม่ได้เข้าร่วมแต่แรก แต่พอชนะแล้ว เขาเข้ามาเป็นนายพลสั่งการรับมือกับกองทัพของราชวงศ์ชิงที่มาปราบ

ฝ่ายราชวงศ์ชิงก็แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ฝ่ายราชสำนักที่นำโดยไทเฮา และฝ่ายทหารที่นำโดยนายพลหยวนซื่อไข่ ซึ่งหยวนซื่อไข่ก็เป็นงาน จงใจถ่วงเวลาสงครามที่ตัวเองได้เปรียบเพื่อขูดรีดผลประโยชน์จากราชสำนัก

ครึ่งแรกเป็นหนังสงคราม ส่วนครึ่งหลังเป็นหนังการเมือง ที่ฝ่ายปฏิวัติพยายามต่อรองให้ฝ่ายของหยวนซื่อไข่บีบให้จักรพรรดิ (ปูยี) สละบัลลังก์ โดยแลกกับการที่หยวนซื่อไข่เป็นประธานาธิบดี (ซึ่งหนังจบลงตรงนี้ แต่เรื่องจริงๆ ตามประวัติศาสตร์ยังต่อไปอีกยาว)

หนังเรื่องนี้ได้ชื่อว่าเป็น "หนังเฉินหลง" แต่เอาเข้าจริงเป็นสารคดีสงคราม-การเมืองเสียมากกว่า เฉินหลงเป็นนายพลนำทัพ ถือปืนวิ่งๆ ยิงๆ มีแอคชั่นบู๊เพียง 1 ฉาก ที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องเลย ใส่มาเพื่อให้รู้สึกว่ายังเป็นหนังเฉินหลงเท่านั้น

ตัวคาแรกเตอร์ของเฉินหลงเองก็งงๆ ไม่รู้จะไปในทิศทางไหน (ประมาณว่าพยายามเอาความดังของเฉินหลง มายัดให้เป็นพระเอกของหนัง) ตัวที่เด่นกว่ามากกลับเป็นคาแรกเตอร์ของซุนยัตเซ็น และหยวนซื่อไข่มากกว่า

บทหนังยังดูขาดๆ เกินๆ อยู่มาก เพราะพยายามยัดตัวละครในประวัติศาสตร์เข้ามาให้มากที่สุด แต่ละตัวเลยมีบทกันน้อยมาก ความสนุกในฐานะภาพยนตร์เล่าเรื่องจึงเสียรสไปมาก ที่ผมว่าแย่คือคาแรกเตอร์ของนางเอก (แฟนของเฉินหลง) ที่พยายามใส่เข้ามาให้มีความโรมานซ์บ้าง แต่ไม่เข้ากับหนังอย่างรุนแรง (ตัดทิ้งไปเลยยังน่าจะดีกว่า) ส่วนข้อดีของหนังคือโปรดักชันทำดี ฉากสวย ภาพสวยเป็นทุน จนเสียดายว่าถ้าใส่บทดีๆ คงดีกว่านี้อีกมาก

หนังเล่าในมุมของคนจีนที่น่าจะรู้ประวัติศาสตร์ช่วงนี้ในระดับหนึ่ง เลยไม่ค่อยปูพื้นความรู้และบริบทให้คนดูมากนัก (ผมดูแผ่นก็ต้อง pause เพื่อเปิด Wikipedia ควบคู่ไปด้วย) อันนี้ไม่แน่ใจว่าเป็นกันทั้งโลกหรือเปล่า คาดว่าคนประเทศอื่นมาดูหนังประวัติศาสตร์ไทยก็อารมณ์เดียวกัน

แบบสรุปๆ คือ เหมาะสำหรับดูเพื่อรับทราบประวัติศาสตร์ช่วงการปฏิวัติซินไฮ่ มากกว่าจะดูเอาสนุกในฐานะภาพยนตร์บันเทิงครับ


My Disclaimer

$
0
0

ประกาศไว้บน Blognone แต่ก็มีผลกับการทำงานของผมในทุกๆ ที่ครับ ตามมารยาทก็ควรประกาศไว้ล่วงหน้าในที่แจ้งอะนะ

Disclaimer: การทำงานในฐานะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมประมูลคลื่น 3G

ธงชัย วินิจจะกูล: ระบอบสังคมการเมืองที่ฝืนการเปลี่ยนแปลง

$
0
0

เมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว คนในแวดวงพูดถึงปาฐกถาชิ้นใหม่ของ อ.ธงชัย วินิจจะกูล กันไม่น้อย เผอิญว่าตลอดสัปดาห์ไม่มีเวลา-สมาธิมานั่งอ่านอะไรยาวๆ วันนี้มีเวลาแล้วก็เคลียร์ของเก่าเสียหน่อย

ผมพบว่า ปาฐกถาชิ้นนี้ของ อ.ธงชัย conceptualize พัฒนาการของการเมืองไทยหลัง 2475 ได้ดีมากๆ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างสถาบันกษัตริย์-ทหารในอดีต ซึ่งทหารพ่ายแพ้ในปี 2535 และถูกผนวกเข้ามาอยู่ใต้อำนาจของ "ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์" อย่างสมบูรณ์ แต่นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของ "พลังใหม่" ที่ผุดขึ้นมาอย่างช้าๆ บนเส้นขอบฟ้าในช่วงนั้นด้วยอีกเหมือนกัน

ประชาไทเก็บเนื้อหาไว้ครบถ้วน อ่านได้จาก 3 ลิงก์นี้ครับ

Keyword:

Being Adaptive

$
0
0

ผมทำ online content มาก็มาก เห็นพฤติกรรมหรือคุณลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของสื่อออนไลน์ ที่ต่างไปจากสื่อแบบเดิมๆ คือความสามารถในการแก้ไขและแจกจ่ายแบบเรียลไทม์

สื่อตระกูล textual ด้วยกันอย่างหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือเล่ม ถ้ามีข้อมูลอะไรผิด เก่า หรือไม่อัพเดต การแก้ไขจะทำได้ยากมาก เพราะมีต้นทุนในการผลิต (cost of reproduction) และต้นทุนในการแจกจ่าย (cost of distribution) สูงเทียบเท่ากับต้นฉบับการพิมพ์ครั้งแรก ปัจจัยเหล่านี้จึงต้องบีบให้สื่อกระดาษต้องตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด เพื่อลดต้นทุนเหล่านี้ให้มากที่สุด

แน่นอนว่า content จำนวนมหาศาลมันย่อมต้องมีความผิดพลาดอยู่บ้าง วิธีแก้ปัญหาที่เหลือก็ต้องลงพิมพ์ข้อความแก้ในหนังสือฉบับต่อๆ ไปแทน ซึ่งไม่ใช่โซลูชันในอุดมคติเท่าไรนัก (มีโอกาสที่คนจะไม่เห็นสูง) คุณลักษณะที่ต่างออกไปของสื่อออนไลน์ที่สามารถปรับแก้ได้ทันที ตลอดเวลา และลักษณะของการแจกจ่าย (distribution) ที่จะแสดงเวอร์ชันล่าสุดเสมอ ทำให้ content ของสื่อออนไลน์จะไม่มีความนิ่งหรือเสถียรอย่างสื่อกระดาษ เพราะแต่ละ revision มีความสำคัญเท่ากันตลอดเวลา (เพื่อความใหม่ที่สุด อัพเดตที่สุดของเนื้อหา) ต่างจากสื่อกระดาษที่จะมี main revision เป็นหลัก และมี revision ย่อยๆ ที่สำคัญน้อยลง

เนื้อหาออนไลน์จึงมีลักษณะที่ปรับตัวอยู่เสมอ (adaptive) ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคงเป็น Wikipedia แต่เนื้อหาพวกบล็อกกับข่าวออนไลน์ก็นำหลักการนี้ไปใช้ได้เหมือนกัน

คนทำเนื้อหาออนไลน์จึงต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า เนื้อหาจะไม่มีวันนิ่ง เราจะไม่มีวันถูกต้องเสมอ ไม่มีทาง แต่เราต้องสร้างกระบวนการที่เป็น feedback loop ให้มีการแจ้งข้อผิดพลาดเข้ามาได้ (เช่น ระบบคอมเมนต์) เพื่อจะสามารถปรับเนื้อหาให้ถูกต้องและอัพเดตที่สุดอยู่เสมอ (หลักการก็คล้ายกับประชาธิปไตยคือไม่มีคนที่รู้ทุกสิ่ง การตัดสินใจจึงได้แต่ลองไปก่อน ถ้าผิดก็เลือกใหม่ ขอแค่ปรับตัวให้เร็วพอ)

คุณลักษณะด้าน adaptive ไม่ได้มีแต่ข้อดี ข้อเสียก็มีคือ information overload ซึ่งแก้ได้โดยระบบการคัดกรอง (suggestion & filtering) ด้วยวิธีการต่างๆ (เช่น algorithmic แบบกูเกิล หรือ collective แบบ social network) ซึ่งจะว่ากันในโอกาสต่อไป

Digital Life

$
0
0

ช่วงหลังๆ มานี้ ผมพบว่าเห็นคำศัพท์เหล่านี้มากขึ้นในสื่อกระแสหลัก เช่น ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์

  • Share
  • Like
  • Post
  • Checkin
  • Comment

คำศัพท์เหล่านี้เป็นคำกริยา ไม่ได้เป็นชื่อเฉพาะของบริการหรือผลิตภัณฑ์ (แน่นอนว่าเรามีคนกลุ่มใหญ่ที่พูดถึง Instagram, Path, Foursquare กันเป็นเรื่องปกตินะครับ) ซึ่งมันน่าจะแสดงให้เห็นว่า วิถีชีวิตแบบดิจิทัล มันเริ่มแทรกตัวเข้ามาอยู่ใน way of life ของคนทั่วๆ ไปในสังคมบ้างแล้ว (ดีกรีความเข้มข้นคงต่างกันไปตามแต่ละสื่อที่ปรากฏ เช่น วิทยุใน กทม. อาจพูดถึง "แชร์" เยอะกว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เป็นต้น)

คำศัพท์เหล่านี้เป็นยอดของภูเขาน้ำแข็ง เพราะมันคือ "สิ่งที่คนกระทำเสมอ" > บน "ผลิตภัณฑ์ยอดนิยม" > ที่ต้อง "ใช้อินเทอร์เน็ต"

อาการเหล่านี้น่าจะแปรผันตรงกับอัตราการใช้อินเทอร์เน็ต (ทั้งแบบดั้งเดิมและผ่านสมาร์ทโฟน) ของคนไทย มันอาจแปลได้ว่าอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นผ่านจุด threshold ที่จะสร้างอิมแพคต่อสังคมได้แล้ว?

Single Standard API

$
0
0

จากข่าวนี้ Connecting your apps, files, PCs and devices to the cloud with SkyDrive and Windows 8

ประเด็นที่น่าสนใจและไม่น่าจะมีคนพูดถึงมากนัก ก็คือกระบวนการสร้าง SkyDrive Metro App ของไมโครซอฟท์

To build a SkyDrive experience on WinRT, we took an approach that we expect many web developers will choose to take on Windows 8. We built the entire app using modern web technologies like JavaScript, CSS, and HTML5, and because of our recent updates to SkyDrive.com, we were able to use the same JSON APIs and JavaScript object model that the website uses.

จากตัวเน้นจะเห็นได้ชัดเจนว่า แนวทางการสร้างแอพของไมโครซอฟท์จะใช้

  • เครื่องมือมาตรฐาน (WinRT) เฉกเช่นเดียวกับนักพัฒนา Metro อื่นๆ
  • ช่องทางมาตรฐาน (JSON API) เฉกเช่นเดียวกับแอพตัวเดียวกันแต่เป็นเวอร์ชันเว็บ

กระบวนการพัฒนาแบบมาตรฐานเดียวอย่างนี้จะช่วยลดการใช้ Quick Hack หรือ Private API ลง (ด้วยเหตุผลว่าทำเองได้ง่ายกว่า) และช่วยให้ตัวแพลตฟอร์มมีเสถียรภาพ มีคุณภาพมากกว่าในระยะยาว ช่วยลดปัญหาเวียนหัวในภายหลังได้

ไมโครซอฟท์ไม่ใช่รายแรกที่ทำแบบนี้ ผมจำได้ว่าตอน Twitter เปลี่ยนมาใช้หน้าเว็บแบบใหม่ (New Twitter -- รุ่นปัจจุบันเป็น New New Twitter) ก็พยายามใช้ API มาตรฐานของตัวเอง ตัวเดียวกับที่ให้นักพัฒนาแอพอื่นๆ ใช้ จากเดิมที่เวอร์ชันเว็บจะเป็นชนชั้นสูง สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบพิสดารที่คนอื่นใช้ไม่ได้

อีกกรณีศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจ คือ อดีตพนักงานของ Amazon ที่ตอนนี้ทำงานอยู่กับ Google+ ออกมาเปรียบเทียบการทำงานของทั้งสององค์กร ว่า Jeff Bezos จะย้ำอยู่เสมอให้ผลิตภัณฑ์ของ Amazon ต้องถูกออกแบบโดยคิดว่าจะต้องเปิด API ต่อคนนอกเสมอ ทำให้พนักงานต้องละเอียดและเตรียมพร้อมเรื่องนี้ตั้งแต่แรก ดังนั้น Amazon จะไม่มีปัญหาเรื่องนี้ ในขณะที่กูเกิลนิยมวิธี quick hack ให้งานเสร็จไว้ก่อนเป็นหลัก เราเลยยังไม่เห็น Google+ API สักทีจนบัดนี้

แบบสรุปๆ ก็คือ จงเลือกทางที่เป็นระเบียบมากกว่า สุดท้ายจะดีเอง ถึงแม้ตอนแรกมันจะลำบากก็ตาม

Google Calendar without Google Bar

$
0
0

ช่วงหลังมานี้ผมใช้ Google Calendar หนักมาก เพราะเป็นปฏิทินกลางของทีม

ปัญหามีอยู่ว่าผมชอบใช้ Google Calendar (จริงๆ ก็ปฏิทินบนคอมพิวเตอร์ทุกตัว) แบบ Month View เพราะมันให้ความรู้สึกเหมือนปฏิทินตั้งโต๊ะ (เข้าใจว่าฝรั่งจะชอบ Week View มากกว่าถ้าเป็นปฏิทินนัดหมาย) ซึ่งพอมีนัดหมายเยอะๆ มันจะถูกซ่อนในลิงก์ more ทำให้มองไม่เห็นนัดหมายทั้งหมด

การมาถึงของ Google Bar ไซส์จัมโบ้ทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้าย เพราะเนื้อที่แสดงผลในแนวตั้งมันหายไปอีกมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนจอ widescreen ปัจจุบันที่เนื้อที่แนวตั้งมันน้อยอยู่แล้ว) ถึงแม้ผมจะชอบ Google Bar ในบางกรณี แต่กรณีนี้คงไม่เป็นแบบนั้น

วันนี้ทนไม่ไหวเลยลุกขึ้นมา "ทำอะไรสักอย่าง" (อยากได้ต้องทำเอง) โซลูชันมีดังนี้

  • เปลี่ยนวิธีแสดงผลของ Calendar เป็นแบบ Compact จะได้เนื้อที่เพิ่มขึ้นอีกหน่อย (ข้อดีของ responsive design สินะ)
  • เขียน userstyle เอา Google Bar ออกไปจากสารบบ (เฉพาะในหน้า Google Calendar)

ผลที่ได้ก็สวยงามดี

google-calendar

ส่วนของ style จริงๆ แล้วแก้แค่บรรทัดเดียว (ใส่ display:none เข้าไป) ใครสนใจทำบ้างก็ลง Stylish แล้วไปโหลดได้ที่ Google Calendar - without Google Bar

Mobile SoC Day

$
0
0

Beirut - A Lebanese Restaurant

$
0
0

ไม่ได้เขียนเรื่องอาหารมานาน ซักหน่อยละกัน

วันนี้พาไปกิน "อาหารเลบานอน" ที่ร้าน "เบรุต" อยู่ชั้นใต้ดินตึกเพลินจิตเซ็นเตอร์ ข้างทางท่วนเพลินจิต ร้านนี้ผมเคยไปกินมาแล้วครั้งหนึ่งโดยคำแนะนำของคุณ @siwat เจ้าพ่อแห่งวงการโฆษณาออนไลน์ของไทย ล่าสุดไปมาอีกรอบมีกล้องติดไปด้วย เลยมีโอกาสได้ถ่ายรูปมาลงบล็อก

Beirut Restaurant

อาหารเลบานอนเป็นอาหารแขกผสมเมดิเตอเรเนียน คือเน้นแผ่นแป้ง (นันหรือเคบับ) ผสมกับเนื้อสัตว์ (ไก่ วัว แกะ) แต่ไม่ค่อยมีแกงหรือเครื่องเทศมากนักแบบแขกฝั่งอินเดีย

Vegetable

ผักกินแนมแก้เลี่ยน (เพราะมีแต่แป้งๆ เนื้อๆ) เข้าใจว่าเลบานีสของแท้คงไม่มีอะไรแบบนี้ อันนี้เป็น "เลบานีสประยุกต์" มีพริกสด โหระพา ต้นหอม อย่างอื่นได้แก่แตงกวาสด แตงกวาดอง มะเขือเทศ

Sauce

ซอสมาตรฐาน ได้แก่ ครีม (เค็ม) ซอสครีม (เปรี้ยว) และน้ำจิ้มซีฟู้ด อันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเลบานีสแท้เขาใช้น้ำจิ้มซีฟู้ดแบบนี้หรือเปล่า

Soup

เนื่องจากว่าเราสั่งไม่เป็นก็มั่วๆ ไปตามใจคนกินเป็นหลัก จานแรกเป็นซุปครีมเห็ดธรรมดา แต่โคตรอร่อย ครีมเข้มข้น มัน มีแผ่นแป้งทอดมาให้กินประกอบ (ถ้าเป็นซุปฝรั่งจะให้ขนมปังกรอบ)

Scramble Egg + Meat

จานที่สองเป็น สแครมเบิลเอ้กกับเนื้อสับ เท่าที่กินเค้าจะใส่เม็ดอะไรสักอย่างช่วยให้มันกรุบๆ มากขึ้น จานนี้ไม่ค่อยอร่อยครับ เป็นความผิดพลาดในการสั่งพอตัว

Fried Cauliflower

จานที่สามเห็นธรรมดาแต่เป็นเมนูเด็ดครับ มันคือ "ดอกกะหล่ำทอด" ดูเบสิคแต่อร่อยมาก เพราะเค้าเอาไปทอดกับเนย ทอดค่อนข้างกรอบและเกรียม เค็มเล็กน้อย มันนิดหน่อย อร่อยสุดๆ คราวก่อนคุณ @siwat สั่งให้กินแล้วประทับใจ คราวนี้เลยจัดมาหน่อยหนึ่งจาน

Tajen Chicken

Tajen Chicken

จานสุดท้ายเป็นซุปครีม ใส่ไก่ เห็ด หัวหอม โรยพริกป่นเล็กน้อย (ไม่รู้สึก) รสชาติคล้ายกับซุปเห็ดที่กินไปแต่เข้มข้นกว่า (รู้งี้สั่งจานเดียวดีกว่า) อร่อยมากครับ ดูในเมนูมันเรียกว่า Tajen Chicken

เสียดายว่าไปรอบนี้ไม่ได้กินอาหารพวกเนื้อหรือเคบับมากนัก ไว้คราวหน้าแก้ตัวใหม่

อาหารร้านนี้ค่อนข้างแพง จานละ 100+ ถ้ามีเนื้อก็ 200+ แต่นานๆ กินทีก็โอเคแหละ (ภาพถ่ายเมนูมีให้ดูบ้างใน Flickr Set)

Puss in Boots

$
0
0

ช่วงหลังๆ ไม่ได้ดูหนังในโรงเท่าไรนัก ด้วยเหตุผลหลายอย่าง เช่น ตั๋วแพง คนเยอะ รอบไม่มี ฯลฯ ทำให้พลาดเรื่องนี้แบบในโรง วันก่อนไปเจอ DVD ออกพอดีเลยซื้อมาดูสักหน่อย

เจ้าแมว Puss in Boots ที่ประสบความสำเร็จจากซีรีส์ Shrek (เพราะฉากทำตาแบ๊วอันลือลั่น) ได้มีหนังของตัวเองกับเขาบ้าง เนื้อหาในหนังเป็นเรื่องของ Puss ก่อนจะปรากฏตัวใน Shrek เลยไม่มีตัวละครใดๆ จากฝั่ง Shrek มาเกี่ยวข้องเลย

เรื่องยังยึดตามแนวทางการนำเทพนิยายดังๆ มาดัดแปลงเหมือนเดิม โดยคราวนี้เอาเรื่อง "แจ็คผู้ฆ่ายักษ์" (ถั่ววิเศษสูงเสียดฟ้า) มาเป็นแกนหลัก ผนวกด้วยตัวละครจากเรื่องอลิซในดินแดนมหัศจรรย์ และแจ็ค&จิล โดย Puss จะผจญภัยตามหาถั่ววิเศษ มีคู่หูคือแมวขโมยสาวชื่อ Kitty

โดยรวมก็ดูได้เพลินๆ ครับ แต่อารมณ์ยังไม่สุดมากเท่าที่ควร ในบรรดาการ์ตูน DreamWorks ผมชอบ Shrek 2 มากที่สุด ลื่นไหลขั้นเทพ ส่วนแย่สุดก็คือ Shrek 3 ผิดหวังมากจนเลิกดู Shrek 4 ไปเลย เรื่องนี้ถือว่าดีกว่า Shrek 3 มากแต่ก็ยังไม่เข้าขั้น Shrek 2

ป.ล. ในดีวีดีจะแถมการ์ตูนสั้น Puss in Boots: The Three Diablos อันนี้ภาพไม่สวยเท่าหนังหลักแต่จังหวะลงตัวกว่ามาก หาดูได้ในอินเทอร์เน็ตทั่วไป

Ubuntu 12.04 Beta 1

$
0
0

อยากลอง HUD เลยดาวน์โหลดมาทดสอบตั้งกะวันที่มันออก Beta 1 เจอปัญหา+วิธีแก้ดังนี้

HUD

ค่าตั้งต้นของ 12.04

  • ปุ่มเรียก Launcher = Super
  • ปุ่มเรียก HUD = Alt

ปัญหาคือ Alt จะไปชนกับปุ่มสลับคีย์บอร์ด Alt+Shift ทางแก้คือเปลี่ยนมันหนีซะ

วิธีการคือลง CompizConfig Settings Manager แล้วเข้าไปแก้ค่า อยู่ใน Ubuntu Unity Plugin > Key to show the HUD และ Key to show ther launcher

ผมเปลี่ยนค่า HUD เป็น Super แทน และเปลี่ยนค่า Launcher เป็นปุ่มอื่นตามชอบ - ที่มาจาก Ubuntu Guide

เท่าที่ลองใช้ HUD มายังงงๆ กับชีวิตอยู่ แต่รู้สึกว่าตัวโปรแกรมมันทำงานช้าเองด้วยส่วนหนึ่ง (คือพิมพ์แล้วหาช้ากว่าจะเจอ) อันนี้น่าจะคล้ายๆ กับ Spotlight ช่วงแรกก็ช้าแบบนี้เหมือนกัน

Unity Multi-Monitor

Unity ใน 12.04 รองรับหลายหน้าจอแล้ว โดยมันจะขึ้น Unity Launcher ให้ที่ขอบด้านซ้ายของทุกหน้าจอ (จะต่างไปจาก Windows/Mac ที่ขึ้น Taskbar/Dock ในหน้าจอหลักหน้าจอเดียว)

ไอ้ที่ว่าแสดง Launcher ทุกหน้าจอน่ะไม่มีปัญหาอะไร แต่ทีมงาน Ubuntu ตั้งค่าให้ Launcher มี Mouse Edge หรือคอยดักเมาส์ตรงขอบรอยต่อระหว่างจอด้วย (เพื่อช่วยให้เราคลิกไอคอนบน Launcher ได้ง่ายขึ้น) อันนี้เป็นความตั้งใจ by design - Canonical Design

ปัญหาคือเวลาเราลากเมาส์ข้ามจอ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำบ่อยมากเวลามีสองจอ ไม่งั้นจะต่อจอแยกไปทำไม?) เคอร์เซอร์จะ "ติดกับดัก" ตรง Launcher ในหน้าจอที่สอง เราต้องลากเมาส์เร็วๆ แรงๆ ถึงจะผ่านไปได้

ทางแก้คือเปลี่ยนค่า threshold อันนี้ซะ สามารถทำได้จาก CompizConfig เหมือนเดิม

มันจะอยู่ใน Unity Plugin > Experimental > Edge Stop Velocity ค่าเดิมคือ 65 ผมไม่ต้องการใช้มันเลย เปลี่ยนให้เป็น 1 (ตั้งค่า 0 ไม่ได้) เป็นอันเสร็จ

Firefox สีเพี้ยน

เป็นปัญหาของ Color Management ของ Firefox ในลินุกซ์ ทางแก้คือปิดฟีเจอร์นี้ซะ

วิธีการคือเข้าไปในหน้า about:config ค้นหาคำว่า gfx.color_management.mode แล้วเปลี่ยนค่าจาก 2 > 0 ถือว่าปิดการทำงานส่วนนี้ทิ้งไป เป็นอันเรียบร้อย - จาก Ubuntu Forums

ปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้

อันที่อยากได้ตอนนี้คืออยากได้ปุ่ม Close/Minimize/Maximize แสดงอยู่ใน Global Menu ตลอดเวลา เท่าที่ลองหาข้อมูลดู เข้าใจว่าเป็นฟีเจอร์ที่ Unity ยังทำไม่ได้ครับ

Digital First - John Paton

$
0
0

สำหรับคนที่สนใจเรื่อง digital media ผมแนะนำให้ตาม บล็อกของ Mathew Ingram บน GigaOm ซึ่งเขาจะเขียนเรื่องหนังสือพิมพ์ในยุคดิจิทัลไว้ค่อนข้างมาก

บล็อกตอนนี้ก็มีที่มาจาก บทความของ Mathew เช่นกัน โดยเขาเขียนถึง John Paton ซึ่งเคยเป็นซีอีโอของบริษัทหนังสือพิมพ์ Journal Register Company (JRC)

JRC เป็นบริษัทสื่อที่มีหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของสหรัฐจำนวนมากอยู่ในมือ หนังสือพิมพ์ในเครืออาจจะไม่ดังถึงขนาดหนังสือพิมพ์ระดับชาติของอเมริกาอย่าง NYT, WSJ แต่หลายเล่มก็มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยตั้งประเทศอเมริกา อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์อยู่ในช่วงขาลงในรอบ 10 ปีให้หลัง และ JRC ล้มละลายในปี 2009

John Paton มาเป็นซีอีโอของบริษัทในปี 2010 และปรับยุทธศาสตร์ของบริษัทใหม่หมด หันมาเน้นสื่อดิจิทัลเป็นความสำคัญอันดับแรก และหนังสือพิมพ์กระดาษเป็นระดับรองลงไป (ยุทธศาสตร์ Digital First)

แนวคิดนี้ใครๆ ก็คิดได้ แต่ทำได้จริงหรือไม่นั่นอีกเรื่อง แต่ปรากฏว่า Paton ดันทำได้ และยืนยันด้วยตัวเลขโฆษณาเติบโต 2-6 เท่าของค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม (ขึ้นกับชนิดของโฆษณา) และผลประกอบการจากล้มละลายในปี 2009 มาเป็นกำไร 15% ในปี 2010

เคล็ดลับทั้งมวลอยู่ในบล็อกของ John Paton ชื่อ John Paton’s Dec. 2 Presentation at INMA Transformation of News Summit in Cambridge, Mass. ซึ่งเป็นการสรุปความจาก speech ของเขาอีกทีหนึ่ง

ในฐานะคนทำสื่อออนไลน์ ผมอ่านแล้ว inspiring มาก แต่ก็ต้องระบุไว้นิดนึงว่า บริบทของ Paton คือบริหารบริษัทหนังสือพิมพ์ที่มีรากเหง้ามาจากสื่อกระดาษ แล้วเปลี่ยนมันเป็นบริษัทสื่อดิจิทัล ซึ่งจะยากกว่าการทำบริษัทดิจิทัลตั้งแต่แรก เพราะมีกระบวนการคิด วัฒนธรรมองค์กร รูปแบบการทำงานแบบเดิมๆ ฝังอยู่เยอะ

สไลด์ที่เจ๋งที่สุดคงเป็นอันนี้ แผ่นเดียวได้ใจความครบ

Digital Dimes

ส่วนคำพูดที่ผมชอบมี 2 จุด อย่างแรกคือยุทธศาสตร์ของบริษัท

To be in the News business now means you must run your business as Digital First. And that means Print Last.

Print Last because that is how this new world works.

Print is a SLOW medium and digital is FAST.

Atoms will never beat bits.

อย่างที่สองคือแนวทางการบริหารคน

Stop listening to Newspaper people.

We have had nearly 15 years to figure out the Web and as an industry we newspaper people are no good at it. No good at it at all.

Want to get good at it?

Then stop listening to the Newspaper people and start listening to the rest of the world.

(แน่นอนว่าผมเป็นคนดิจิทัลก็ย่อมจะเชิดชูแนวคิดแบบนี้ ถ้าไปถามคนทำ นสพ. ก็อาจจะมีมุมมองที่ต่างออกไป) แต่โดยรวมแล้วจะชี้ให้เห็นว่าเขากล้าที่จะเปลี่ยนอะไรหลายๆ อย่าง และมีเทคนิคในการกระตุ้นลูกน้องหลักพันให้ทำตามแนวคิดของตัวเอง

นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมาก ต้องใช้เวลาย่อยพอสมควร เดี๋ยวจะมาเขียนถึงต่อไป

Windows 8 Consumer Preview

$
0
0

ใช้มา 3-4 ชั่วโมงบน พีซีจอสัมผัส ได้ข้อสรุปแบบสั้นๆ ดังนี้

  • Windows 8 Metro (อย่างเดียว) มันเจ๋งมาก ขนาดผมมีปัญหากับ gesture พอสมควร ยังรู้สึกว่ามันน่าจะไปได้ดี
  • แต่ Windows 8 Metro + Classic มันคือหายนะ มันคือสองโลกที่ต่างกันสุดขั้วและไม่ควรมาอยู่ด้วยกัน
    • คือถ้าเป็นการรัน Metro แล้ว [หยุด] สลับไปรัน Classic โดยมีทุกอย่างแยกกัน ไม่ว่าจะเป็น launcher/switcher (แต่ data storage ชุดเดียวกัน) ก็ยังพอไหว
    • แต่นี่ MS ดันรวม launcher เข้าด้วยกัน แต่แยก switcher แถม data storage ยังเชื่อมกันไม่หมด เลยยิ่งแย่
  • ถ้าทิศทางของ MS ยังไปในทิศทางนี้โดยไม่เปลี่ยน สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นก็คือ
    • PC notebook/desktop จะหยุดอยู่ที่ Windows 7 (และในระยะยาว 7 จะกลายเป็น Next XP)
    • Windows 8 จะถูกใช้กับ tablet เท่านั้น ถ้าเป็น ARM ก็คือทำงานได้ปกติ แต่ถ้าเป็น x86 ก็จะสามารถรันแอพเก่าๆ ได้เป็นของแถมเล็กน้อย (แต่โหมดการทำงานหลักจะเป็น Metro)

อนาคตที่เป็นไปได้ เราคงเห็นการรวม Windows 8 Metro เข้ากับ Windows Phone 8 แต่ไม่รู้จะออกมาในมุมไหนเหมือนกัน

สรุปว่ามึนๆ งงๆ และโอกาสเจ๊งสูง จากเดิมผมเป็น believer ตอนนี้เริ่มจะลังเลแล้ว

Viewing all 557 articles
Browse latest View live




Latest Images