Quantcast
Channel: Isriya Paireepairit blogs
Viewing all 557 articles
Browse latest View live

RIP - Ralph McQuarrie

$
0
0

Ralph McQuarrie นักวาดภาพต้นแบบของ Star Wars เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 82 ปี

หนังสือเล่มแรกในชีวิตที่เคยสั่งจาก Amazon คือหนังสือรวมภาพวาดของ McQuarrie ครับ (เล่มนี้) ภาพของเขางดงามและมีเสน่ห์มาก

Keyword:


Prometheus at TED

$
0
0

ต้องยอมรับคนทำจริงๆ ว่าเจ๋งมาก คือ โยงของ 4 อย่างเข้าด้วยกัน

  • TED Talks
  • คาแรกเตอร์ของ Peter Wayland และ Wayland Industries
  • ตำนานของ Prometheus ตามปรณัมกรีก
  • ตัวเนื้อเรื่องในหนัง Prometheus

แล้วเอาคลิปนี้ไปเปิดฉายใน TED จริงๆ เพื่อโฆษณาหนัง แถมยังหวังผลคลิปไวรัล ช่วยโปรโมท TED กลับให้อีกต่างหาก

Prometheus ภาพยนตร์ต้นกำเนิด Alien เผยโฉมที่งาน TED Talk

Transform Thailand

$
0
0

Transform Thailand Book

ขายของหน่อยครับ Transform Thailand หนังสือเล่มใหม่ของ SIU (ผมเป็นบรรณาธิการ) รวมบทสัมภาษณ์ "กูรู" ด้านเศรษฐกิจเชิงโครงสร้าง มาสนทนาเรื่องอนาคตของประเทศในมิติด้านนี้

  • เนื้อหาส่วนใหญ่ในเล่มเผยแพร่บนเว็บ Siam Intelligence อยู่แล้ว แต่ก็มีอีกหลายส่วนที่เพิ่มเข้าไปอีกด้วย
  • จริงๆ มันควรจะเสร็จนานแล้วแต่ติดน้ำท่วม (โรงพิมพ์อยู่ติดแม่น้ำ) เลยต้องเลื่อนมาออกปีนี้แทน
  • รอบนี้ปรับปรุงเรื่องระบบการจัดจำหน่ายใหม่ น่าจะหาซื้อได้ง่ายขึ้นมาก (อุตสาหกรรมหนังสือนี่ยากจริงๆ ครับ ซึ้ง)

ประสบการณ์การขอเบอร์-เน็ต TOT แบบนิติบุคคล

$
0
0

บันทึกไว้สักหน่อย เผื่อจะมีประโยชน์กับคนอื่นนะครับ

เรื่องมีอยู่ว่า ที่ออฟฟิศอยากได้เบอร์โทรศัพท์+อินเทอร์เน็ตใหม่อีกเบอร์หนึ่ง เดิมทีใช้บริการของ TOT อยู่แล้ว ซึ่งชุมสายที่ใช้อยู่ เน็ตก็วิ่งได้เต็มสปีดดีมาก (6M/512k) เลยไม่อยากเสี่ยงไปใช้ยี่ห้ออื่น เอา TOT นี่แหละ

(นอกเรื่องนิด: ผมใช้บริการ ADSL ทั้ง 3 ยี่ห้อคือ TOT/TRUE/3BB สรุปได้เลยว่าคุณภาพการให้บริการขึ้นอยู่กับโชคชะตาว่าไปอยู่แถวไหน เพราะเคยเจอกรณี TRUE ห่วย หลุดตลอด เลยคาดว่าเป็นกับสายเก่า ลองเปลี่ยนเป็น 3BB ลากสายใหม่หมดก็หายสนิท ในขณะที่ TRUE อีกแหล่งหนึ่งก็ใช้ดีไม่มีปัญหาใดๆ)

แต่เนื่องจากว่ามันเป็นเบอร์บริษัท มันจะมี requirement ว่าต้องเป็นชื่อบริษัทด้วย (แต่ใช้โปรโมชันแบบบุคคลปกติได้) คราวก่อนให้น้องที่ออฟฟิศไปขอเบอร์ให้ เลยไม่รู้เบื้องลึกอะไร คราวนี้ต้องทำเองเลยรู้ซึ้ง T_T

TOT Promotion

รายละเอียดของโปรโมชันคงไม่กล่าวถึง เพราะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลา เอาตัว "กระบวนการ" หรือ "วิธีการ" ขอใช้บริการดีกว่า

ข้อมูลที่ควรรู้ก่อนขอเบอร์ TOT

มีดังนี้ครับ

  • ไม่ว่าจะขอเบอร์ของ TOT หรือ TRUE ถ้าขอเบอร์เปล่าอย่างเดียวจะโคตรแพง ต้องเสียค่าเปิดเบอร์ประมาณ 3 พันกว่าบาท แต่สองเจ้านี้มักจะมีโปรโมชัน ติดเน็ตด้วยฟรีค่าเปิดเบอร์ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ก็ติดเน็ตด้วยดีกว่า (ยกเว้นจะมีเน็ตอยู่แล้ว)
  • โปรโมชันฟรีค่าเปิดเบอร์ไม่ได้มีตลอดเวลา ต้องดูจังหวะดีๆ ด้วย เพราะผมเคยต้องเปิดเบอร์ใหม่ช่วงที่ไม่มีโปรโมชันมาแล้ว (เลือดไหลซิบๆ) แต่ตอนนั้นของต้องใช้ ไม่มีทางเลือก (แถมอีกไม่กี่เดือนถัดมา TRUE ก็ออกโปรโมชันฟรีค่าเปิดเบอร์มาอีกครั้ง น้ำตาไหลพรากๆ)
  • เว็บ Internet ของ TOT อยู่ที่ www.tothispeed.com ไม่ได้อยู่บน www.tot.co.th
  • คอลล์เซ็นเตอร์ของ TOT คือ 1100
  • ค้นหาศูนย์บริการลูกค้าใกล้บ้านได้จาก หน้าเว็บของ TOT

วิธีการขอคู่สายโทรศัพท์ของ TOT

ทางเลือกที่เป็นไปได้

  • สมัครด้วยตนเองที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน
  • มีให้สมัครบนหน้าเว็บ www.tothispeed.com แต่แค่เป็นการกรอกฟอร์มคร่าวๆ แล้วทีมเว็บจะส่งเรื่องไปยังศูนย์ที่อยู่ใกล้พื้นที่ ให้ติดต่อเรากลับ ==> ผมสมัครจากหน้าเว็บไปเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ยังไม่ได้รับการติดต่อใดๆ จนกระทั่งบัดนี้
  • โทรไปสมัครได้ที่เบอร์ 1100 กดเข้าบริการอินเทอร์เน็ต เจ้าหน้าที่จะขอข้อมูลของเราไปเยอะพอสมควร และบอกว่าจะส่งเรื่องไปยังศูนย์บริการใกล้พื้นที่ ให้ติดต่อเรากลับ

สรุปคือ ในทางปฏิบัติแล้ว ไปศูนย์บริการเถิดครับ T_T

มีข้อควรระวังนิดหนึ่งคือ พื้นที่ของเราอาจจะไม่มีคู่สายให้บริการ ดังนั้นควรค้นหาเบอร์โทรศัพท์ของศูนย์บริการใกล้บ้าน (จากหน้าเว็บข้างต้น) แล้วโทรไปสอบถามก่อนว่ามีเบอร์ให้ใช้หรือไม่ (เจ้าหน้าที่รับเรื่องจะรู้จักพื้นที่ในขอบเขตของตัวเองเป็นอย่างดีว่ามีหรือไม่) จะได้ไม่ต้องไปเก้อ

อีกประเด็นคือศูนย์บริการ TOT ปิด 16.30 น. และน่าจะปิดในวันหยุดราชการด้วย (อันนี้ไม่ชัวร์) ผมเกือบพลาดเพราะคอลล์เซ็นเตอร์บอกว่าสาขาที่ใกล้ที่สุดคือ พหลโยธินซอย 8 (อาคารพหลโยธินเซ็นเตอร์ ชั้น 12) ปิด 17.00 ผมไปถึงตอน 16.30 พอดีกะว่าเหลือเวลาพอ ปรากฏว่าปิดไฟหมดแล้ว ต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่ยอมรับเรื่องของผมไว้ให้ ไม่ต้องไปอีกรอบ (คือ TOT ก็มีอะไรดีๆ เหมือนกันนะ ถึงระบบจะห่วยก็ตาม)

หลักฐานที่ต้องใช้

สำหรับนิติบุคคล

  • [สำเนา] หนังสือรับรองของบริษัท อายุไม่เกิน 180 วัน
  • [สำเนา] บัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  • ในกรณีที่มอบอำนาจให้คนอื่นไปสมัครแทน ก็ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ+ติดอากรสแตมป์ตามมาตรฐาน

เอกสารทั้งหมดต้องลงลายมือชื่อ + ประทับตราบริษัททุกหน้า และตอนไปยื่นเรื่องต้องเอาตรายางของบริษัทไปด้วย เพราะต้องประทับตราในแบบฟอร์มของ TOT อีกทีหนึ่ง

เมื่อสมัครขอใช้บริการและจ่ายค่าบริการของเดือนแรกเรียบร้อย ก็รอครับ

เจ้าหน้าที่แจ้งผมว่าจะส่งเรื่องขอใช้บริการไปยังชุมสายที่ใกล้พื้นที่ของเราที่สุด (ชุมสาย != ศูนย์บริการ) ในเวลาประมาณ 3 วันทำการ และทางชุมสายจะติดต่อกลับเพื่อนัดวันติดตั้งภายในเวลา 1 สัปดาห์หลังยื่นเรื่อง

Life After a Sun Set is Bright

$
0
0

ลองใช้ LibreOffice 3.5 แล้วประทับใจค่อนข้างมาก ทำงานได้เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และหน้าตาดูเรียบง่ายขึ้นมาอีกนิดหน่อย นี่เป็นสัญญาณที่ดีมาก เพราะถือเป็น LibreOffice รุ่นใหญ่ตัวแรกที่มีแนวทางการพัฒนาของตัวเอง ไม่ต้องอิงกับแนวทางของ OpenOffice เหมือนรุ่นก่อน

ในฐานะที่ในอดีตเคยทำงานกับทีม StarOffice ที่ต่างประเทศมาบ้าง ผมคิดว่าปัญหาอย่างหนึ่งของ OpenOffice ก็คือ "ความปิด" ของทีมงานเอง (อยู่ที่เยอรมนี) คือตัวโครงการเป็นโอเพนซอร์สก็จริง แต่รูปแบบการพัฒนายังปิดอยู่มาก ไม่ค่อยรับโค้ดจากคนนอกมากเท่าที่ควรจะเป็น (ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ Novell ไม่พอใจจนต้องหนีไปทำ Go-OO)

จะพูดให้แฟร์ก็ต้องบอกว่า ไม่ได้มีแต่ OpenOffice แห่งเดียวที่เจอปัญหานี้ โครงการที่มีรากเหง้ามาจากบริษัทเปิดโค้ด ก็เจอปัญหานี้กันมาแล้วทั้งนั้น เช่น Mozilla เดิมในยุค Netscape ครอบงำก็เคลื่อนตัวได้ช้า หรือ Red Hat กับโครงการ Fedora ก็ด้วย

ล่าสุดไปอ่านเจอบล็อกของ Simon Phipps เขียนชมพัฒนาการของโครงการ LibreOffice แล้วยิ่งเข้าใจแจ่มชัด

Phipps บอกเองว่าความสำเร็จของ LibreOffice เกิดจากความเป็นอิสระของโครงการ ทำให้นักพัฒนาภายนอกมีแรงจูงใจที่จะร่วมพัฒนามากขึ้นมาก และความเป็นอิสระก็ช่วยให้บั๊กหรือปัญหาหลายชนิดที่เคยไม่ถูกแก้ในยุคของ Sun/StarOffice ด้วยเหตุผลเรื่องการเมือง สามารถเป็นไปได้ในยุคนี้ (โค้ดบางจุดเก่าเกือบ 20 ปี ซึ่ง StarOffice ไม่ยอมทิ้ง)

ถ้า Phipps เป็นบล็อกเกอร์หรือนักข่าวทั่วไปคงไม่มีปัญหา แต่ในอดีตเขาคือผู้บริหารสูงสุดฝ่ายโอเพนซอร์สของ Sun ที่คุมโครงการโอเพนซอร์สหลายๆ ตัวของซันมาเองกับมือจนกระทั่งขายบริษัท ในเมื่อผู้บริหารสูงสุดยังพูดเองแบบนี้ คงแปลว่า "เกินเยียวยาแล้ว"

บล็อกของ Phipps คงเป็นสิ่งยืนยันที่ดีมากว่า สิ่งที่ Sun (และ Oracle ล้มเหลว) กลับเกิดขึ้นได้ด้วยฝีมือของชุมชนเพียงลำพัง ความจริงข้อนี้แสดงให้เห็นถึง ความอ่อนด้อยทางการบริหารของ Sun จนบริษัทต้องพบกับจุดจบนั่นเอง

ดาวแดงเหนือแผ่นดินจีน

$
0
0

ค่อยๆ อ่านเก็บเล็กผสมน้อย อ่านมานานพอสมควรจนสุดท้ายก็จบจนได้ มาบันทึกไว้สักหน่อย

Red Star Over China ดาวแดงเหนือแผ่นดินจีน

ดาวแดงเหนือแผ่นดินจีน หรือ Red Star Over China เป็นหนังสือสารคดีของ Edgar Snow นักข่าวอเมริกันที่เข้าไปในเขตโซเวียตทางตะวันตกเฉียงเหนือของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในปี 1936 ช่วงปลายของสงครามกลางเมืองจีนรอบแรก (ดูบล็อก History of China: Late Qing to People's Republic ประกอบ) เพื่อดูว่า "เขตโซเวียต" ของจีนฝ่ายแดงที่ถูกปิดล้อมจากฝ่ายขาว (รัฐบาลนานกิงของเจียงไคเช็ค) มีหน้าตาเป็นอย่างไร

รัฐบาลเจียงไคเช็คใช้สงคราม propaganda โฆษณาชวนเชื่อว่าเขตจีนแดงโหดร้าย ทารุณ ปล้นฆ่าข่มขืน เต็มไปด้วยโจรป่าแดง แต่สิ่งที่ Snow พบกลับตรงกันข้ามคือ นักรบเด็กหนุ่มที่มีวินัยสูง ใช้ชีวิตสมถะ (เพราะยากจน+ถูกปิดล้อม) อดทน แต่กำลังใจดีเยี่ยม และซื้อใจชาวบ้าน ชาวนาในพื้นที่ได้ เพราะช่วยปลดปล่อยชาวนายากจนจากเจ้าที่ดิน (ฟิวดัลจีน) ที่ร่ำรวยและขูดภาษี บวกกับปฏิบัติต่อชาวบ้านด้วยดี (อยากได้อะไรซื้อเอา ไม่ขโมย)

Snow ยังมีโอกาสได้คุยกับผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนหลายๆ คนที่ถูกทางการขาวตั้งค่าหัวแพงลิบลิ่ว พบว่าทุกคนจะคล้ายๆ กันคือมีความคิด ได้รับการศึกษาสูง แต่มีความแค้นต่อราชวงศ์ชิง/พรรคก๊กมินตั๋งที่ฟอนเฟะ เลยหนีมาอยู่ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ หลายๆ คนจะเรียลลิสติกมาก ความเป็นอยู่สมถะ รักลูกน้อง ออกรบในแนวหน้าเอง

ตัวอย่างแกนนำที่ Snow ได้สัมภาษณ์ก็มีทั้งเหมาเจ๋อตงเอง โจวเอินไหล สีไห่ตง จูเต๋อ หลินเปียว เป็นต้น

ฝ่ายแดงในเขตโซเวียตจีนนี้ เป็นกลุ่มที่โดนพรรคก๊กมินตั๋งขับไล่และล้อมปราบในปี 1927 และโดนขับไล่จากภาคใต้ของประเทศ เดินทัพทางไกลหรือ long march ในปี 1934-1935 ก่อนจะหนีมาตั้งฐานที่มั่นในภาคตะวันตกเฉียงเหนือช่วงปี 1935 เป็นต้นมา ช่วงที่ Snow มาดูคือฐานทัพเริ่มจะมั่นคงแล้ว ก่อนที่เจียงไคเช็คจะเข้ามาปราบใหญ่อีกรอบในปลายปี 1936

เขตโซเวียตในตอนนั้นมีดีแค่คน ทักษะ และกำลังใจ เพราะทรัพยากรขาดแคลนมาก (น้ำตาลและเกลือยังหายาก) อาวุธก็น้อย ใช้สงครามกองโจรเป็นหลัก ถ้าโดนเจียงไคเช็คบี้ดีๆ อาจจะล่มไปแล้ว แต่สุดท้ายเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงที่ซีอานในช่วงปลายปี 1936 เพราะกองทัพพันธมิตรของเจียงไคเช็คในภาคเหนือ (ทัพอีสานของจางเซี่ยเหลียง และทัพพายัพของหยางหู่เฉิง) ก่อกบฏจับตัวเจียงไคเช็คขณะเดินทางไปเยี่ยมซีอานเพื่อเตรียมปราบโซเวียตจีน (ฐานของเจียงไคเช็คอยู่ที่นานกิง) ทำให้สุดท้ายเจียงไคเช็คยอมพักรบกับกองทัพแดงชั่วคราว เพื่อต้านญี่ปุ่นที่รุกเข้ามาในปี 1937 จุดเริ่มต้นของสงครามมหาเอเชียบูรพา

อ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว ทำให้พอสรุปเหตุปัจจัยที่ทำให้ฝ่ายของเจียงไคเช็คพ่ายแพ้ฝ่ายของเหมาในระยะยาวได้ดังนี้

  • ฝ่ายของเหมาทำลายระบบเดิมๆ ของจีนคือลัทธิหยู (ขงจื้อ) และระบบเจ้าที่ดิน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติเดิมที่สืบทอดมายาวนาน มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่พอข้อเสียรวมๆ กันเยอะเข้าทำให้กดชนชั้นล่างมากๆ ชีวิตความเป็นอยู่แร้นแค้น ทำให้พอฝ่ายของเหมาเข้ามาปลดปล่อยแล้ว ชาวบ้านรักใคร่และเข้าร่วมกับกองทัพแดง ในขณะที่ฝ่ายของเจียงทำลายราชวงศ์ชิงก็จริง แต่ก็ประณีประนอมกับชนชั้นนายทุนและศักดินาท้องถิ่นเดิมอยู่ดี
  • อุดมการณ์ของฝ่ายเหมา (คอมมิวนิสต์แบบมาร์กซ์-เลนนิน) น่าศรัทธามากกว่า ก้าวหน้ากว่าฝ่ายของเจียง (ฟาสซิสต์+นายทุน)
  • การบริหารจัดการของฝ่ายแดงมีประสิทธิภาพมากกว่า คือรบแบบคนจนมากๆ เลยต้องบีบให้ปากกัดตีนถีบ อดทนต่อสู้ ต้นทุนในการจ้างทหารต่ำมาก เพราะทหารรบด้วยจิตใจและอุดมการณ์มากกว่ารบด้วยเงิน ใช้ยุทธวิธีกองโจรที่เหมาะสมกับตัวเองมากกว่า เน้นงานมวลชนแก่ชาวบ้านในพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านเป็นพวก และระบบ supply chain การส่งกำลังบำรุง สามารถอาศัยชาวบ้านได้

มีมิตรสหายบอกว่าหนังสือเล่มนี้ออกจะโปรพรรคคอมมิวนิสต์จีนมากไปหน่อย (แต่ตัว Snow เองเป็นอเมริกันเสรีนิยม) ดังนั้นควรจะหาหนังสือเล่มอื่นมาบาลานซ์ด้วย อันนี้ก็ต้องตามอ่านกันต่อไป

Monkey Island 2 Special Edition: LeChuck’s Revenge

$
0
0

จากที่เล่นภาคแรก The Secret of Monkey Island: Special Edition ไปเมื่อ 2 ปีก่อน (นานขนาดนี้เลยรึ!) ก็ได้ฤกษ์เล่นภาคสอง เล่นๆ หยุดๆ จนสุดท้ายมาเล่นจบก็วันนี้

  • ภาคสองรู้สึกจะเน้นที่ตัว Guybrush มากไปหน่อย ทำให้บทของ Governor Marley น้อยลงไปอย่างน่าใจหาย
  • ยังรู้สึกว่าเกมสั้นไป เนื้อเรื่องหลักๆ ไปอยู่ที่ Part 2 ซะเยอะ ส่วนของ Part 3/4 น้อยมาก
  • ปริศนาบางอย่างเข้าขั้นยากมากชนิดว่าชีวิตนี้ไม่เปิด GameFAQ ก็ไม่มีวันผ่าน
  • ปริศนาที่แสบสุดคือ ประตูหมาในเกาะของลีชัค
  • ฉากจบของภาค 2 นี้เซอร์เรียลสุดๆ ชนิดว่า "เฮ้ย นี่มันนิยายของมูราคามิหรือเปล่า"
  • ตอนแรกคิดว่าเล่นมุข "พี่ชาย" เพราะมีคำบ่นว่า "LucasArts เอ็งทำเป็นแต่มุขแบบนี้เหรอ" ให้เลือก แต่เอาจริงแล้วมัน...
  • โดยรวมๆ แล้วรู้สึกว่ามุขมันไม่เด็ดเท่าภาคแรก และเนื้อเรื่องมันกระจัดกระจายไปหน่อย แต่ก็ยังสนุกอยู่ดี

ของแถมในภาคนี้จะมี audio commentary จากผู้สร้างเกมต้นฉบับให้ด้วย (เทปเสียงสนทนาว่าตอนสร้างฉากพวกนี้ในปี 1991-1992 คิดอะไรยังไง) และมีภาพสเกตช์ของฉากต่างๆ ทั้งเวอร์ชันต้นฉบับ และเวอร์ชันรีเมคให้ดูด้วยในส่วนของโบนัส

สนใจซื้อได้จาก Steam

ปัญหาคือ เราจะไปหาภาคสามจากไหนละเนี่ย

How Search Engines React To Breaking News

$
0
0

งานวิจัยเล็กๆ ที่น่าสนใจสำหรับคนที่ติดตามวงการ search engine

งานนี้เป็นของบริษัท Optify ทำเพื่อโปรโมทกิจการด้าน SEO/Social PR ของตัวเองแต่ก็เป็นประโยชน์ในระดับหนึ่ง โดยบริษัทนี้ตามไปดูว่า search engine สองรายใหญ่คือ Google/Bing บริหารจัดการข้อมูลอย่างไร ในยามที่โลกเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เป็นข่าวใหญ่ เช่น แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น หรือ สตีฟ จ็อบส์ ลาออก

ผลก็คือเขาพบว่า

  • search engine จะเป็นหน้าผลการค้นหา (SERP - search engine result page) เป็นแบบพิเศษเพื่อรับมือกับกระแสหลั่งไหลของมวลชน
  • หน้า SERP สำหรับข่าวด่วนจะไม่มีโฆษณา และจะเรียงต่างจากหน้าผลการค้นหาปกติ โดยจะนำผลการค้นหาแบบพิเศษ (Optify เรียก placed results ไม่แน่ใจว่ามีคำเรียกที่ดีกว่านี้ไหม) เช่น วิดีโอ ภาพ ข่าว ฯลฯ ขึ้นมาแสดงก่อนรายการเว็บตามปกติ
  • Google จะชอบแสดงวิดีโอเป็นอันดับแรก ในขณะที่ Bing จะแสดงภาพ thumbnail ที่ใหญ่กว่า และชอบลิงก์ไปยัง MSN.com เป็นอันแรก
  • สำหรับส่วนของ news หรือข่าวจากสำนักข่าว Google นิยมแสดงข่าวจากเว็บดังที่น่าเชื่อถือ เช่น สำนักข่าวต่างๆ โดยไม่เน้นความสดใหม่ของข่าวมากนัก ในขณะที่ Bing จะชอบแสดงข่าวอัพเดตล่าสุด (เป็นหลักนาที) มากกว่า เปลี่ยนบ่อยกว่า ไม่จำเป็นต้องดังก็ขึ้นได้
  • ส่วนที่ไม่ใช่ข่าว คือ ลิงก์เว็บเพจธรรมดา (organic results) จะกลับกัน คือ Google จะอัพเดตไวกว่า (และเห็นว่าใช้อัลกอริทึมที่ต่างไปจากโหมดปกติ) ส่วน Bing จะเปลี่ยนผลการค้นหาช้ากว่า

ตัวรายงานฉบับเต็มโหลดได้จาก Optify (ต้องลงทะเบียน), ต้นข่าวจาก GeekWire

เสียดายว่างานของ Optify ใช้ sample น้อยไปนิดหนึ่งคือ 3 cases ถ้ามีเยอะกว่านี้หน่อยคงมันส์กว่านี้มาก


Paul Graham - Start Up

$
0
0

เรื่องราวของการสร้างเนื้อสร้างตัวนั้นน่าประทับใจเสมอ โดยเฉพาะองค์กรที่ประสบความสำเร็จและเรารู้จัก

วันนี้บทความที่ได้อ่านโดยไม่ตั้งใจคือ How Y Combinator Started เป็นงานเขียนของ Paul Graham นักลงทุนชื่อดังเจ้าของบริษัท Y Combinator ที่ปั้นบริษัทไอทีมาแล้วมากมายอย่าง Dropbox, Reddit, Scribd ซึ่งคราวนี้เขาเขียนเล่าเรื่องการตั้งบริษัทตัวเองในปี 2005 (7 ปีที่แล้ว) ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

หมายเหตุ: อีกอันที่เจ๋งคือ ภาพถ่ายของ Y Combinator ในปี 2005 ดูเทียบกับบทความแล้วจะซาบซึ้งขึ้นอีก 20%

แต่ที่เจ๋งที่สุดคืองานเขียนคลาสสิค How to Start a startup ซึ่ง Graham เขียนในปี 2005 ช่วงก่อนตั้ง Y Combinator เล็กน้อย ถือเป็นคัมภีร์สำคัญของวงการ it startup เพราะชี้จุดเลยว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ยาวหน่อยแต่อ่านแล้วคุ้มค่าแน่นอน

ผมเปิดกิจการของตัวเองมาได้พอสมควร บอกได้เลยว่าหลายอย่างตรงมากอย่างไม่ตั้งใจ และเช่นเดียวกับที่ Graham เขียนไว้คือตอนนั้นเราไม่ได้คิดอะไร แต่พอมามองย้อนกลับไปแล้ว มันเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องโดยภววิสัยและวิธีคิดของเราในช่วงๆ นั้น

ป.ล. เคยเขียนถึง Paul Graham ไว้นิดหน่อยที่ Start Up Your Life

Keyword:

IT Kingdoms - Presentation at KU

$
0
0

อาจารย์ที่เคารพ โทรมาชวนไปบรรยายวิชา Enterprise IT ให้กับนักศึกษาภาคอินเตอร์ SKE ที่เกษตร โดยเจาะจงหัวเรื่องว่า "สามก๊กไอทีของคุณน่ะ" ก็ไปตามนั้น

เนื่องจากมีสไลด์เก่าอยู่แล้วเลยง่ายหน่อย เอามาแปลงเป็นภาษาอังกฤษ (เพราะสอนภาคอินเตอร์) และปรับเนื้อหาเพิ่มเล็กน้อยให้ละเอียดขึ้นกว่าเดิม แปะไว้เป็นหลักฐานสักหน่อยครับ

Media Tablet

$
0
0

ถ้าเรายึดนิยามว่า media tablet เป็นโซลูชันที่ใช้แท็บเล็ตบริโภค (consume) สื่อหลากหลายชนิดแล้ว ชัยชนะของตลาดนี้อยู่ที่ vertical integration ว่าใครมีแพลตฟอร์มอะไรครบถ้วนกว่ากัน ให้บริการได้เพียบพร้อม ประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวดีกว่าคู่แข่ง

เท่าที่นึกออก ตอนนี้ก็มี "จตุรเทพ" ที่ดันมี 5 ราย

  • Apple อันนี้ชัด = iPad + iTunes Music/Movie/TV + iBookstore
  • Amazon = Kindle Fire + Amazon MP3/Video on Demand/Kindle Store/Amazon Appstore ครบถ้วนมาก
  • Google = [Nexus Tablet ที่ยังไม่ออก] + [แพ็ค Google Play ที่รวมตัวกันเพื่องานนี้]
  • Sony = Sony Tablet + [Sony Entertainment Network] + แพลตฟอร์ม eBook เข้าใจว่าเน้นญี่ปุ่นก่อน

อีกรายที่เหลือคือ

  • Microsoft = [Windows 8 Tablet] + Zune/Xbox Live (ส่วนของ eBook เหมือนจะยังไม่มี)

ผู้ท้าชิงรายอื่นๆ ไม่มีอะไรครบเท่านี้ ก็ต้องดิ้นกันไป ที่น่าจะพอขึ้นมาได้คือ Samsung กับ HTC ที่พยายามใช้วิธี partner เพื่อสร้างบริการ/คอนเทนต์ แต่ไม่รู้ว่าในระยะยาวจะไปได้ดีแค่ไหน

รายอื่นๆ คงต้องกาทิ้ง หรือไม่ก็ลดบทบาทเป็น hardware vendor เพียงอย่างเดียว

Founding a Company

$
0
0

เมื่อคืน (22 มี.ค.) MCOT Radio ขอสัมภาษณ์เรื่องการจดบริษัท Blognone มีคำถามถึง "คำแนะนำ" ต่อคนที่อยากจดบริษัท IT startup บ้าง

ตอบไปแล้วเห็นว่ามีประโยชน์ ก็ขอมาจดลงบล็อกหน่อย

ผมว่าการจดบริษัทเนี่ยมันเท่มากเลยนะครับ (คือจดบริษัทแรกก็รู้สึกยังงั้น พอเป็นบริษัทที่สองเริ่มจะเฉยๆ ละ) แต่เราจะเอาความเท่มาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจจดหรือไม่จด ก็อาจจะไม่ถูกนัก

เพราะการจดบริษัทมันมี cost ในเรื่องกระบวนการมากพอสมควร หลักๆ คือเรื่องเอกสารและเรื่องภาษี

งานเอกสารเป็นอะไรที่ซับซ้อนมาก จริงๆ ตั้งใจจด Blognone ในเดือนมกราคม เพื่อจะได้จำง่ายๆ ว่าจดมากี่ปีแล้ว แต่ก็ติดอุปสรรคเรื่องเอกสารมากมาย เช่น

  • นายทะเบียนไม่ยอมให้จดชื่อ "บล็อกนัน" โดยบอกว่าไม่ตรงกับภาษาอังกฤษ (สุดท้ายก็คุยจนสำเร็จ)
  • เซ็นเอกสารด้วยหมึกสีดำไม่ได้ ต้องเซ็นใหม่
  • ตรายางบริษัท ต้องมีคำว่า "บริษัท จำกัด" หรือ "Co., Ltd." ด้วย (ผมทำมาผิดไปอันนึง)
  • ป้ายบริษัทก็เหมือนกัน
  • การจด VAT ต้องมีเอกสารยินยอมให้ใช้สถานที่ของเจ้าของด้วย (ในกรณีเป็นตึกเช่า) แต่จดบริษัทเฉยๆ ไม่ต้อง

สรุปคือจดเสร็จไปเดือนกุมภาช่วงปลายๆ แฮะๆ ไม่สนุกเลย

ส่วนเรื่องภาษีและบัญชีก็ตามที่รู้ ๆ กันคือต้องมีผู้สอบบัญชี (และในทางปฏิบัติก็ต้องมีคนทำบัญชี ซึ่งควรจะจ้าง) ต้องเสียเงินอีก จดปั๊บมี fixed cost แน่ๆ

ดังนั้นถ้ายังไม่จำเป็นต้องจดจริงๆ ก็อย่าเพิ่งจด รอจนสถานการณ์พร้อม มีรายได้เข้ามาพอสมควร หรือจำเป็นต้องใช้สถานะของบริษัทไปทำนิติกรรมในฐานะนิติบุคคล (เช่น ต้องประมูลงาน) ค่อยจดก็ได้ ช่วงแรกอาจทำธุรกิจด้วยชื่อบุคคลธรรมดาไปก่อนได้

Buffet Lunch @ Renaissance Hotel

$
0
0

วันนี้ไปงานแถลงข่าวของ Ford ที่โรงแรมเรเนซองก์ ราชประสงค์/ชิดลม เขาเลี้ยงข้าวเที่ยงด้วย เลยได้ทดลองห้องอาหารใหม่

อาหารเที่ยงบุฟเฟต์ที่เรเนสซองก์ มีของไม่เยอะมากเมื่อเทียบกับโรงแรมย่านสุขุมวิทหลายแห่ง อาหารที่จำได้มีดังนี้

  • ปลาดิบและข้าวปั้น ไม่มีซูชิ ไม่มียำสาหร่าย
  • มีบาร์สั่งทำพาสต้า มีเส้นให้เลือกหลายแบบ แต่ไม่ได้ลอง
  • อาหารไทย 4-5 อย่าง เน้นเนื้อสัตว์ เนื้อ เป็ด ปลา
  • อาหารฝรั่งมีพอสมควร มีเนื้อย่าง ส่วนซุปวันนี้เป็นแอสพารากัส ไม่ค่อยเข้มข้นและหวานไปนิด
  • มีติ่มซำคือขนมจีบและซาละเปา
  • ที่น่าสนใจคือของหวานมีค่อนข้างเยอะ และมีไอติมที่ตั้งใจโชว์มาก (ไม่ได้ลอง)

แต่อันที่น่าสนใจมากจนต้องมาเขียนลงบล็อกคือไอ้นี่ครับ "ซุ้มก๋วยเตี๋ยว" ที่ต่างจากอาหารโรงแรมทั่วไปมาก คือโรงแรมทั่วไปจะเป็นซุ้มเล็กๆ มีคนทำก๋วยเตี๋ยวชามเล็กๆ ให้ตามสั่ง

แต่ของที่นี่จะต่างออกไป คือเป็นตะกร้าใส่ของสด เส้น ผัก เนื้อ ลูกชิ้น ไว้ให้เยอะมาก เรามีหน้าที่คีบลงชาม จากนั้นทางเชฟจะเอาไปลวกให้ แล้วนำกลับมาให้เราตักน้ำซุปใส่เอง แปลกมากเพิ่งเคยเจอ

อย่าถามว่าราคาเท่าไรเพราะว่างานนี้กินฟรี!

Keyword:

Food Review Sites in Thailand

$
0
0

OpenRice in Thailand

เจอโฆษณานี้แปะอยู่ข้างรถไฟฟ้า เลยรู้สึกว่า อืม เว็บรีวิวร้านอาหาร-สถานที่ในเมืองไทยนี่มันก็เยอะเหมือนกันนะ

ที่รู้จักและนึกออก - แนวพวก user-generated content

  • where.in.th อันนี้คนทำรู้จักกันคือคุณ @meekob และ @malimali
  • wongnai.com
  • openrice.com เป็นเว็บฮ่องกงที่มาเปิดสาขาในไทย

ลองหาเพิ่ม - กลุ่มที่เป็นรีวิวโดยทีมของเว็บเอง ไม่ได้เป็น UGC

มีแบบพิสดารอีกอันคือ gintalk.com เป็น search engine อย่างเดียวไม่ host เนื้อหาเอง

ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมบล็อก เว็บบอร์ด หรือพวกเซคชันย่อยด้านอาหารในเว็บพอร์ทัล (รวมถึงเว็บแนวเดียวกันที่ผมไม่รู้จักหรือค้นหาไม่เจอ) และยังไม่รวมเว็บที่ไม่ได้เจาะตลาดด้านอาหารโดยตรง แต่มีคนนำมาใช้รีวิวอาหารเยอะพอสมควร (เช่น pg.in.th หรือ instagram)

โดยสรุปคือเป็นตลาดที่สู้กันดุเดือดมาก ถึงผมอยากจะให้ทุกเว็บอยู่ได้ (มีเว็บเยอะๆ เนื้อหาออนไลน์เยอะๆ เป็นเรื่องดีทั้งนั้น) แต่สุดท้ายคงมีแค่บางเว็บที่ยืนระยะได้ ต้องรอดูกันว่าจะเหมือนวงการคูปองหรือเปล่า

Android Update Problem

$
0
0

ทั้งหมดนี้เป็นการนั่งเทียนเขียนเองล้วนๆ นะครับ

มานั่งนึกๆ ดูแล้ว ผมคิดว่าปัญหาการอัพเดต Android (เป็นปัญหาแน่ๆ ไม่ว่าจะแฟนบอย สาวกแค่ไหนก็ต้องยอมรับ) อาจจะ (ย้ำว่า อาจจะ) รุนแรงที่สุดในยุคนี้ นั่นคือการเปลี่ยนจาก 2.3 -> 4.0 ซึ่งหลังจากนี้ สถานการณ์น่าจะดีขึ้น เพราะ

  • 2.3 > 4.0 มันเปลี่ยนเยอะมาก คือไม่ใช่ระดับฐานรากเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนใหญ่ในระดับ UI ด้วย ซึ่งผมเชื่อว่ากูเกิลจะคง UI หลักของ 4.0 ไปอีกพักใหญ่ๆ ทำให้ vendor ในอนาคตสามารถอัพเดตจาก 4.0 > 5.0 ได้ง่ายกว่า 2.3 > 4.0 อยู่เยอะ
  • ยุทธศาสตร์ single Nexus device เริ่มไม่เวิร์ค คือคนที่ได้ทำ Nexus จะได้เปรียบคู่แข่งมาก แต่ดันมีได้แค่คนเดียว ผลคือผู้เล่นรายอื่นๆ ในตลาดที่เหลือทำตามกันไม่ทัน ซึ่งสุดท้ายมันไปกระทบตลาดของกูเกิลเอง ดังนั้นตามคอมมอนเซนส์แล้ว กูเกิล "ควรจะ" เปิดกระบวนการพัฒนาให้กว้างขึ้น เชิญ vendor รายสำคัญๆ สัก 4-5 เจ้าเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาในระดับของฮาร์ดแวร์ (เหตุผลแบบยาวๆ อ่านใน AlterDroid) ส่วนกูเกิลจะทำตามคอมมอนเซนส์นี้หรือเปล่า ก็ยากจะบอกได้
  • ประเด็นนี้ผมยังไม่ค่อยกระจ่างนัก แต่เชื่อว่า carrier ในสหรัฐที่ทรงอิทธิพลมาก (และมีปัญหากับการอัพเดตมือถือมาก ไมโครซอฟท์ก็เจอปัญหานี้) กำลังลดอิทธิพลลง ผู้บริโภคในสหรัฐที่เป็นตลาดหลักของกูเกิล เริ่มคุ้นเคยกับมือถือ-แท็บเล็ตแบบไม่ติดสัญญากันมากขึ้น (โดยเฉพาะแท็บเล็ต) มันน่าจะช่วยให้กระบวนการอัพเดตคล่องตัวมากขึ้นสักนิดก็ยังดี
  • ผมยังเชื่อว่ายุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของกูเกิลคือ Motorola Nexus หรืออุปกรณ์ทุกอย่างของ Motorola ในอนาคตจะเป็น pure Google ทั้งหมด (แล้วอยากได้อะไรไปโหลดแอพเพิ่มเอา) ฟีเจอร์องค์กรต่างๆ ที่ Motorola ทำมาจะถูกกลืนเข้ากับ Android สายหลัก ซึ่งถ้าทำได้จริงดังนี้ คู่แข่งจะถูกบีบให้เล่นเกม pure Google ตามไปด้วย ปัญหาเรื่อง UI fragmentation น่าจะลดลง (แต่กูเกิลจะเดินตามเส้นทางสายนี้หรือไม่ต้องดูกัน เพราะจะมีเรื่อง anti-competition เข้ามา)

Restart X Shortcut on Ubuntu

$
0
0

The good old handy shortcut Ctrl+Alt+Backspace for restarting X Window has been disabled since Ubuntu 9.04 Jaunty Jackalope (reference). The reason is preventing Windows users from accidentally reboot his/her desktop. Sound reasonable for me.

By the way, sometimes X Window fails to load and you need something to fix it quickly. After little investigation, I found a new key-combo for restarting X in recent Ubuntu releases:

Alt+PrintScreen+K

LibreOffice Roadmap

$
0
0

Recent LibreOffice releases are quite nice (they even made me think what Sun had stuck for many years). Now I want to know which direction the project is heading in the near future.

After a quick search in LibreOffice Wiki, I found these:

Mobile for the Mass

$
0
0

คิดเรื่องนี้มาสักพักแล้ว เผอิญมาเจอบทความ Why Google isn’t worried about Android revenue วิเคราะห์ได้ค่อนข้างตรงกับที่คิด เลยเอามาเขียนบล็อกหน่อย

เท่าที่ติดตามวงการมือถือมา โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าพัฒนาการของมือถือในแนวดิ่ง (vertical development) จำพวกว่าซีพียูเร็ว จอสวย การ์ดจอดี กล้องเทพ ฯลฯ ยังเป็นเรื่องที่ตัวผมเองสนใจอยู่ เพียงแต่มันไม่ได้น่าตื่นเต้นเหมือนช่วง 2-3 ปีก่อนที่มันพัฒนากันพรวดๆ อีกแล้ว

ผมยังอยากได้มือถือเจ๋งๆ ฟีเจอร์เด็ดๆ ใช้เป็นเครื่องส่วนตัวอยู่ เพียงแต่ถ้าเราถามว่า ฟีเจอร์มันดีกว่านี้ขึ้นไปอีกแล้วมันจะช่วยโลกแค่ไหน คำตอบก็คงเป็นว่าไม่เยอะเท่าไรหรอก ตลาดที่น่าสนใจและน่าตื่นเต้นกว่ามากในช่วงหลังๆ คือการพัฒนามือถือในแนวขวาง (horizontal development) หรือการนำมือถือที่มีอยู่ในทุกวันนี้ กระจายไปยังกลุ่มคนให้มากขึ้น (โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ยังไม่เคยมีสมาร์ทโฟน) ซึ่งมันจะเกิดประโยชน์อีกหลายอย่างต่อสังคมมากขึ้นมาก และหลายกรณีจะถึงขนาดพลิกแผ่นดินเลยทีเดียว

อธิบายง่ายๆ อีกรอบว่าเทคโนโลยีปัจจุบันมันเพียงพอแล้วสำหรับงานส่วนใหญ่ สิ่งที่ต้องพัฒนากันต่อไปเป็นมิติอื่นๆ เช่น ทำให้เทคโนโลยีที่มีอยู่มันใช้ง่ายขึ้น หรือ ทำให้ราคาถูกลง หาซื้อเป็นเจ้าของได้ง่ายแทน

มือถือเครื่องละ 25,000 เอามาเล่น Draw Something คงไม่เกิดประโยชน์อะไรมากนัก (แต่ก็ไม่เสียหายอะไรนะครับ ถ้าได้มาอย่างสุจริต) แต่ถ้ามือถือจอ 320x240 มันเกิดใช้รายงานสภาพอากาศ สอบถามราคาพืชผล ช่วยนำทางมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ฯลฯ ได้ขึ้นมาในราคา 1900 บาท เราจะเห็นอะไรสนุกๆ และมีประโยชน์อีกเยอะมาก (ดูบทความ มือถือเพื่อปวงชน: บทเรียนของสมาร์ทโฟนเครื่องละ 2,400 บาทในเคนยา ประกอบ)

ภาพฝันพวกนี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีปัจจัยเกื้อหนุนหลายอย่าง ในส่วนของ hardware cost มันคงต่ำลงเรื่อยๆ ตามสภาพการแข่งขันในตลาดอยู่แล้ว ส่วนของซอฟต์แวร์มาถึงตอนนี้คงชัดเจนว่าเป็น Android ด้วยเหตุผลเรื่อง ความแพร่หลาย:ราคา:ความสามารถในการปรับแต่งอย่างเสรี ที่ดีกว่าคู่แข่งอื่นๆ ในตลาด (iOS นี่รัฐบาลสหรัฐมาขอให้แก้ยังไม่ทำให้เลยนะครับ) ถึงแม้มันจะยังมีปัญหาอีกหลายอย่างที่ต้องแก้อีกมากก็ตามที (ระบบอื่นที่ดีกว่าในบางแง่เช่น MeeGo ก็มี แต่โดยภาพรวมแล้วก็ยังไม่เห็นอะไรที่มาเป็นตัวแทนได้ ถึงแม้มันควรจะมีก็ตาม)

ดังนั้นก็ไม่น่าแปลกอะไรที่แท็บเล็ต ป.1 ของไทยจะใช้ Android และในที่สุดมันคงลามไปถึงโครงการลักษณะเดียวกันของประเทศอื่นๆ ด้วย

ก้าวต่อไปที่ต้องหันมามองดูกันให้ชัดๆ คือ "แอพพลิเคชัน" หรือ "การนำไปใช้" ว่าเราจะสามารถดัดแปลงมันให้มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันได้อย่างไร (และต้องคำนึงถึงคนที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีพวกนี้เป็นหลักด้วย) ฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์พร้อมแล้ว ที่เหลือก็ขึ้นกับหัวคิดและฝีมือเป็นหลัก

ที่พอนึกได้แบบเร็วๆ (มันต้องมีอันที่ดีกว่านี้แน่ๆ) เช่น

  • แอพแปลภาษาแบบง่ายๆ ที่มีเฉพาะบทสนทนาพื้นฐานสัก 20-30 ชุด เอาไว้ให้พ่อค้าแม่ค้าไทยขายของให้นักท่องเที่ยว (มีทุกภาษา)
  • แอพนำทางสำหรับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง เมสเซนเจอร์ หรือแท็กซี่
  • แอพสอนภาษา สอนการดูแลสุขภาพ สอนกฎหมายแรงงานเบื้องต้น ฯลฯ ให้หนุ่ม-สาวโรงงานไปนั่งอ่านตอนนั่งรถบัสไปทำงาน

ถ้าเราทำแอพพลิเคชัน (ในที่นี้ไม่ได้จำกัดแค่ mobile app) พวกนี้ได้สำเร็จ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยน่าจะไปได้ไกลอีกมาก (ช่วยเบนเข็มเข้าสู่knowledge-based economy ในราคาที่ถูกมาก) ขณะเดียวกันโอกาสทางธุรกิจของคนทำแอพพลิเคชันก็จะเพิ่มขึ้น เพราะตลาดขยายขึ้นมาก โมเดลการหารายได้จะกลายเป็น micropayment แต่ด้วยจำนวนที่มากขึ้นมากแทน ซึ่งตรงนี้การขับเคลื่อนด้วยภาคเอกชน การสร้าง ecosystem ทางธุรกิจก็น่าจะไปได้ (ผมเชื่อในตลาดเสรีที่ภาคเอกชนเป็นคนขับเคลื่อนว่ามันจะยั่งยืนกว่ารัฐลงมาทำเอง)

นักพัฒนาไทยควรคิดถึงเรื่องนี้ และนักวางแผน-นโยบายของไทยก็ควรจะคิดเรื่องนี้มากๆ เช่นกัน

บทความเนื้อหาคล้ายๆ กันในไทยรัฐ แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา รัฐต้องชัดเจนเรื่องแอพ-คอนเทนต์

Hua Hin Marriott Resort & Spa

$
0
0

ร่วมทริป กสทช. ไปเวิร์คช็อปที่โรงแรม Marriott หัวหิน (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Hua Hin Marriott Resort & Spa แต่ในชีวิตจริงคงไม่มีใครเรียก) ก็มาเขียนบล็อกไว้สักหน่อยก่อนจะขี้เกียจครับ

ตัวโรงแรมค่อนข้างเก่าแต่ก็ยังดูดี (เพียงแต่สถาปัตยกรรมจะไม่เหมือนโรงแรมสมัยใหม่เท่านั้น) และขนาดโรงแรมก็ไม่ได้ใหญ่มากนัก บรรยากาศจะตกแต่งด้วยสีน้ำตาล earth-tone และป่าเขตร้อนเป็นหลัก

โรงแรมแบ่งเป็น 2 ปีก ผมได้นอนปีก tower wing ที่ติดสวน ก็จะไม่เห็นทะเล

Joseph Stalin

$
0
0
Stalin Book สตาลิน

อ่านหนังสือ "สตาลิน อำนาจบนซากศพ" แต่งโดย เพิ่มศักดิ์ โตสวัสดิ์ สำนักพิมพ์ Animate Group ที่ @charoenchai ให้ยืมมา ก็รู้เรื่องประวัติศาสตร์รัสเซียมากขึ้น (ประวัติศาสตร์รัสเซียช่วงที่พูดถึงกันเยอะๆ คือช่วงปฏิวัติรัสเซีย 1917 แล้วโดดข้ามมาที่ความล่มสลายของโซเวียตเลย)

Viewing all 557 articles
Browse latest View live




Latest Images