Quantcast
Channel: Isriya Paireepairit blogs

ตั้งค่า Google Authenticator เมื่อย้ายไปใช้มือถือเครื่องใหม่

$
0
0

มีเหตุให้ต้องเปลี่ยนโทรศัพท์เครื่องใหม่ เลยต้องย้ายตัว code generator สำหรับทำ 2-factor authentication ด้วย เพิ่งเคยทำเป็นครั้งแรกก็จดไว้หน่อย

ขั้นตอนจริงๆ ไม่มีอะไรยาก เพราะลงแอพ code generator (ผมใช้ Google Authenticator แทบทุกคนก็น่าจะใช้ตัวนี้กันแหละ) ในเครื่องใหม่ แล้วสแกนบาร์โค้ดจากเว็บไซต์ต้นทางก็เรียบร้อย

อันที่ยากคือ เมนูหรือปุ่มสำหรับสแกนโค้ดในเว็บไซต์แต่ละแห่ง มันอยู่ตรงไหนกันแน่

Google

กูเกิลนี่ค่อนข้างง่าย เข้าไปใน My Account ส่วนของ Security แล้วหาหมวด Authenticator App จะมีเมนู "Change Phone"ค่อนข้างตรงไปตรงมา

เสร็จแล้วเลือกแพลตฟอร์มที่ใช้ สแกนบาร์โค้ด ตูม จบข่าว

Microsoft

ของไมโครซอฟท์นี่ซับซ้อนหน่อย เข้าไปที่ Account เลือกหมวด Security จะต้องเลือกเมนู More Security อีกทีนึง (ทำไมไม่ทำให้มันตรงไปตรงมา) จากนั้นเลือก Set up identity verification app

ความยากอยู่ตรงนี้ ตอนเลือกแพลตฟอร์ม ห้ามเลือก 3 ตัวเลือกแรกนะครับ เพราะมันจะบังคับให้เราใช้แอพ Microsoft Authenticator แทน ถ้าอยากใช้แอพตัวอื่นต้องเลือก Other เท่านั้น ผมหาวิธีอยู่สามรอบกว่าจะผ่านไปได้

Facebook

สุดท้ายคือ Facebook จริงๆ แอพ Facebook บนมือถือสามารถ gen code ได้ในตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าอยากใช้ code generator ตัวอื่น ก็เข้าไปใน Settings > Security เลือก Code Generator แล้วเมนู third party ตามภาพ


ประวัติศาสตร์สเปน ฉบับรวบรัด

$
0
0

อ่านประวัติศาสตร์สเปนใน Wikipediaเลยมาจดเก็บไว้สักหน่อย เพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง (ภาพประกอบข้างบนคือเมือง Toledo เมืองหลวงของสเปนยุคแรกเริ่ม ถ่ายตอนไปเที่ยวในปี 2013)

Hispania

ประวัติศาสตร์ของคาบสมุทรไอบีเรีย ก็คล้ายกับประเทศอื่นในยุโรป นั่นคือเริ่มจากการเป็นจังหวัดหนึ่งของโรมัน (Roman Hispania) พอโรมันล่มสลายลง ชนเผ่าเยอรมันหลายกลุ่มก็เข้ามาตั้งรกรากและตั้งอาณาจักรย่อยๆ ขึ้น โดยอาณาจักรที่สำคัญคือ Visigoth ที่ตั้งเมืองหลวงอยู่ Toledo มาจนถึง ค.ศ. 700

Muslim conquest

สถานการณ์โลกยุคนั้นคือจักรวรรดิมุสลิมรุ่งเรือง (หลังการตายของศาสดาโมฮัมหมัด ชาวอาหรับก็รวมเป็นปึกแผ่นใต้อาณาจักรกาหลิบ = Caliphate)

จักรวรรดิอุมัยยะฮ์ (Umayyad Caliphate) ก็ขยายอาณาเขตอย่างยิ่งใหญ่ในแอฟริกาเหนือ (มาไกลจนถึงแถบโมร็อคโคในปัจจุบัน) และข้ามทะเลมายึดคาบสมุทรไอบีเรียได้เกือบหมด เหลือเฉพาะตอนบนๆ ที่ยังเป็นของฝรั่งเท่านั้น

Reconquista

มุสลมอุมัยยะฮ์ ปกครองคาบสมุทรไอบีเรียตอนใต้มาได้หลายร้อยปี ทางตอนเหนือของคาบสมุทรก็เป็นอาณาจักรชาวคริสต์ขนาดย่อมๆ หลายอาณาจักร ที่สำคัญคือ โปรตุเกส (Portual), กาลิเซีย (Galicia), ลีออน (Leon), คาสติลล์ (Castille), อารากอน (Aragon) โดยมีความใฝ่ฝันจะขับไล่มุสลิมออกไปให้หมด (Reconquista = Reconquest) ในอีกทาง อาณาจักรมุสลิมก็เริ่มเสื่อมอำนาจลง ถูกกดดันลงใต้ไปทีละน้อย

อาณาจักรชาวคริสต์ก็ค่อยๆ หลอมรวมกัน โดยเริ่มจาก Castille & Leon ก่อน (ซึ่งถือเป็นสเปนตอนกลางประเทศในปัจจุบัน) จากนั้นในปี 1469 ราชินี Isabella I แห่ง Castille ก็แต่งงานกับ Ferdinand II แห่ง Aragon (Aragon คือสเปนตะวันออก หรือแถบบาร์เซโลนาในปัจจุบัน) ทำให้สองแคว้นรวมกันได้สำเร็จ (ในทางปฏิบัติยังแยกกันปกครองแคว้นใครแคว้นมัน แต่ในทางกฎหมายก็คือเป็นกษัตริย์คู่)

จุดเปลี่ยนสำคัญอยู่ในปี 1492 ที่มีเหตุการณ์สำคัญ 2 อย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน นั่นคือ ฐานที่มั่นสุดท้ายของมุสลิมที่กรานาดา (Granada) ถูกสเปนตีแตก และในปีเดียวกัน Isabella & Ferdinand ก็อนุญาตให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางออกทะเล ซึ่งก็ไปพบกับ "โลกใหม่"นั่นเอง

สเปนรวมเป็นหนึ่ง ขับไล่แขกมุสลิมออกนอกทวีป ค้นพบโลกใหม่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของยุคทองแห่งสเปน

ภาพวาดโคลัมบัส ต่อหน้ากษัตริย์ Isabella & Ferdinand

Spain Empire 1516-1700

ผู้สืบทอดของ Isabella & Ferdinand คือ Joanna ลูกสาวของ Isabella ที่แต่งงานกับ Philip I จากราชวงศ์ฮับสบูร์ก (Habsburg) ที่ปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เยอรมัน-ออสเตรียในปัจจุบัน)

กษัตริย์องค์ต่อมาคือ Charles I (ครองราชย์ 1516 อีกชื่อหนึ่งคือ Charles V แห่ง Holy Roman Empire) ลูกของ Joanna จึงเป็นจุดเริ่มต้นของยุค Habsburg Spain (สเปนราชวงศ์ฮับสบูร์ก) ที่เป็นยุคทองของสเปน (Spanish Golden Age)

Habsburg Spain ถือเป็นจักรวรรดิสมัยใหม่ชาติแรกๆ เพราะการค้นพบโลกใหม่ ทำให้สเปน (และโปรตุเกส) ใช้อำนาจทางทะเล สร้างอาณานิคมในทวีปอเมริกา ดึงทรัพยากรกลับมายุโรป ส่วนการเมืองในยุโรปเอง สเปนก็เป็นพันธมิตรทางเครือญาติกับราชวงศ์ฮับส์บูร์ก (ออสเตรีย) ซึ่งเป็นมหาอำนาจในยุคนั้น

แผนที่ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ปี 1547

สเปนยังได้รวมเป็นประเทศเดียวกับโปรตุเกสอยู่ช่วงสั้นๆ (1580-1640 นาน 60 ปี)

ยุคของ Habsburg Spain และยุคทองของสเปนสิ้นสุดลง เมื่อกษัตริย์องค์สุดท้าย Charles II ซึ่งพิการและร่างกายอ่อนแอ (ฉายา the Bewitched) เสียชีวิตลงในปี 1700 โดยไม่มีทายาทสายตรง ประเด็นเรื่องการสืบทอดอำนาจของกษัตริย์สเปนจึงกลายเป็นการเมืองระดับยุโรป (War of the Spanish Succession 1702-1714)

Bourbon Spain 1700-1808

ผู้ที่เป็นตัวเก็งสืบทอดอำนาจของ Charles II มีสองคนคือ Philip Duke of Anjou เจ้าชายฝรั่งเศสที่มีศักดิ์เป็นหลานอา และได้รับการแต่งตั้งจาก Charles II ให้สืบทอดบัลลังก์ต่อ กับ Archduke Charles เจ้าชายจากอาณาจักรโรมันศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นหลานในเครือญาติจากการแต่งงาน

ประเด็นเรื่องการสืบบัลลังก์สเปน เป็นการเมืองระดับยุโรป เพราะแต่ละฝั่งมีแบ็คเป็นมหาอำนาจในยุคนั้น โดย Philip เป็นหลานแท้ๆ ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งฝรั่งเศส (เป็นหลานคนที่ 2 คือมีโอกาสเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสด้วย) ส่วน Archduke Charles ก็เป็นหลานของจักรพรรดิ Leopold

ใครได้สเปนไปครอง จะทำให้ฝ่ายนั้นกลายเป็นมหาอำนาจ No.1 แห่งยุโรปทันที สงครามระหว่างสองขั้วอำนาจ (ฝรั่งเศส vs กลุ่มต่อต้าน) จึงบังเกิดขึ้น

สงครามจบลงด้วยสัญญาสงบศึก Philip ได้เป็นกษัตริย์สเปนในชื่อ Philip V (ครองราชย์นับตั้งแต่ปี 1700 เป็นต้นมา) แลกกับว่าเขาไม่มีสิทธิในบัลลังก์ฝรั่งเศสอีกต่อไป (เพื่อป้องกันการรวมสเปน-ฝรั่งเศส ภายใต้กษัตริย์องค์เดียว) ทำให้สเปนยุคนี้กลายเป็นยุคของราชวศ์บูร์บอง (Bourbon) ของฝรั่งเศสนั่นเอง

Bourbon Spain ปกครองประเทศมาอีกร้อยปี จนถึงกษัตริย์ Charles IV ที่มีปัญหาทางจิต ส่งผลให้สเปนตกต่ำลง บวกกับกระแสการเมืองโลกในตอนนั้น คือการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 และนโปเลียนบุกเข้ามายึดสเปนในปี 1808 จึงเป็นจุดสิ้นสุดของสเปนยุคนี้

จักรวรรดิสเปนในยุคที่มีอาณานิคมมากที่สุด (1790) ก่อนจะเสียดินแดนอย่างรวดเร็วในภายหลัง

Constitutional Monarchy

การปกครองของนโปเลียนอยู่ในช่วงสั้นๆ ตามช่วงเวลาครองราชย์ของนโปเลียน แต่เหล่าแม่ทัพในสเปนก็รวมตัวกันต่อต้านเพื่อชิงเอกราชกลับมา ส่งผลให้กลุ่มแม่ทัพมีบทบาทมากในการเมืองสเปนต่อจากนี้ไป หลังจากนโปเลียนโดนยุโรปรุมกินโต๊ะและแพ้ไป ระบบกษัตริย์เดิมก็กลับคืนสู่สเปนในปี 1814 โดย Ferdinand VII ยังคงสืบทอดราชวงศ์บูร์บองต่อไป

แต่สุญญากาศอำนาจของสเปนช่วงที่โดนฝรั่งเศสยึดครอง ทำให้อาณานิคมของสเปนใน "โลกใหม่"เริ่มแยกตัวเป็นอิสระ การเมืองในประเทศสเปนเองก็ได้รับผลกระทบจากกระแส "สาธารณรัฐ"ในยุโรป ทำให้ประเทศวุ่นวาย เพราะมีทั้งฝ่ายกษัตริย์ นายพล และผู้นิยมสาธารณรัฐ ข้อตกลงที่พบกันครึ่งทางคือระบอบ Constitution Monarchy

ราชินี Isabella II ลูกสาวของ Ferdinand VII ถูกปฏิวัติในปี 1868 และสเปนใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐเป็นเวลาสั้นๆ ระหว่างปี 1873-1874 แต่ก็ล้มเหลว ทำให้กองทัพสเปนปฏิวัติ แล้วเชิญกษัตริย์ Alfonso XII (ลูกของ Isabella II) กลับเป็นกษัตริย์สเปนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม Alfonso XII ก็ครองราชย์ไม่นาน เสียชีวิตจากโรคบิดด้วยวัยเพียง 28 ปี (1885)

Alfonso XIII ลูกชายของ Alfonso XII ยังไม่เกิดด้วยซ้ำตอนพ่อตาย ครองราชย์สืบต่อมา ยุคสมัยนี้ถือเป็นช่วงขาลงของสเปน เพราะเสียดินแดนอาณานิคมไปเกือบหมดจากสงครามกับสหรัฐอเมริกา (ฟิลิปปินส์เปลี่ยนมือจากสเปนไปเป็นของอเมริกาก็ยุคนี้) ช่วงปลายของสมัย Alfonso XIII เขาสนับสนุนนายพล Rivera ปฏิวัติระบบสภา แต่ภายหลังก็เสื่อมความนิยมลง จนฝ่ายสาธารณรัฐกลับมารุ่งเรือง และ Alfonso XIII ต้องหนีออกจากประเทศไปในปี 1931 สเปนจึงเข้าสู่ยุคสาธารณรัฐอีกรอบ

Civil War และ Franco

ยุคนี้สเปนยิ่งวุ่นวายเข้าไปใหญ่เพราะไม่มีใครมีอำนาจเด็ดขาด สาธารณรัฐอยู่ได้ในช่วงสั้นๆ สเปนก็เข้าสู่ยุคสงครามกลางเมือง (Spanish Civil War 1936-1939) โดยกลุ่มสาธารณรัฐที่ปกครองประเทศ (ที่ค่อนข้างเอียงไปทางสังคมนิยม โดยได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย) ต้องเผชิญกับกลุ่มชาตินิยมทหาร ที่นำโดยนายพลฟรังโก (Francisco Franco) ที่สนับสนุนโดยนาซีเยอรมันและฟาสซิสต์อิตาลีในยุคนั้น

ฝ่ายสาธารณรัฐไม่เป็นปึกแผ่นและทะเลาะกันเอง สุดท้ายชัยชนะเป็นของนายพลฟรังโกในปี 1939 สเปนในยุคถัดมาจึงอยู่ใต้ระบอบเผด็จการของฟรังโก จนเขาเสียชีวิตในปี 1975

สงครามกลางเมืองสเปน ฝ่าย Nationalist สีเหลือง ตีล้อมฝ่าย Republican สีชมพู

ฟรังโกวางแผนสืบทอดอำนาจ โดยคืนบัลลังก์ให้กษัตริย์ Juan Carlos (หลานของ Alfonso XIII) ที่ลี้ภัยอยู่ในอิตาลี สเปนยุคปัจจุบันจึงกลับมาใช้ระบอบ Constitutional Monarchy อีกครั้ง

Juan Carlos สละบัลลังก์ในปี 2014 ให้กับลูกชาย Felipe VI กษัตริย์องค์ปัจจุบัน (ยังนับเป็นราชวงศ์บูร์บองอยู่)

Keyword: 

The Next Stage of Mass Shooting

$
0
0

เหตุการณ์กราดยิงที่ลาสเวกัส ถือว่าใกล้ตัวพอสมควรเพราะผู้ก่อเหตุกราดยิงมาจากชั้น 32 ของโรงแรม Mandalay Bay ที่เคยไปนอนมาสองรอบ (ชนิดว่าเดินจนจำทางในโรงแรมได้แล้ว) พอนึกภาพออกว่าอะไรอยู่ตรงไหนยังไง เลยค่อนข้างมีอารมณ์ร่วมไปด้วย

การกราดยิงครั้งนี้แตกต่างไปจากการกราดยิงครั้งอื่นๆ ในอเมริกามาก เพราะที่แล้วๆ มา ผู้ก่อเหตุจะก่อเหตุในระดับพื้นดิน เช่น ยืนยิงอยู่ในห้าง ห้องสัมมนา หรือจัตุรัสที่มีคนอยู่เยอะๆ

แต่เคสนี้ ผู้ก่อเหตุอยู่บนตึก แล้วยิงลงมายังลานคอนเสิร์ตที่อยู่คนละฝั่งถนน ซึ่งห่างออกไปไกลพอสมควร ตามแผนที่ตัวอย่างที่ LA Times ทำไว้ให้ดู

ตามข่าวบอกว่า ผู้ก่อเหตุมีปืนถึง 16 กระบอกอยู่ในห้อง (หนึ่งในนั้นคือปืนกลอัตโนมัติที่ยิงได้รัวๆ) และมีอุปกรณ์ตัวช่วยอื่นๆ เช่น ขาตั้ง และกล้องส่อง สำหรับช่วยยิงระยะไกลให้แม่นขึ้นด้วย เรียกว่าเตรียมตัวมาอย่างดี ส่วนแรงจูงใจนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร

สิ่งที่น่ากลัว (และน่าสนใจไปพร้อมกัน) คือคนเดินถนนทั่วไปอย่างเราๆ แทบจะไม่มีโอกาสเอาตัวรอดจากการกราดยิงจากที่สูงแบบนี้ได้เลย บทความใน Slateได้สรุปไว้ดังนี้

1) ในแง่ของอาวุธ ปืนกลอัตโนมัติสามารถยิงได้ 600 นัดต่อนาที การยิงมั่วๆ ลงมาในพื้นที่คนอยู่เยอะๆ เช่น คอนเสิร์ต ยังไงก็ต้องโดนเข้าจนได้ และพลเรือนที่เดินอยู่บนถนนทั่วไป ย่อมไม่มีอุปกรณ์ป้องกันแบบเดียวกับทหารที่ออกรบ และต้องเจอกับปืนกลลักษณะนี้ จะโดนใครขึ้นกับโชคล้วนๆ

2) การยิงแบบนี้ไม่สามารถป้องกันได้ล่วงหน้า ปกติแล้วถนนย่านนักท่องเที่ยวในลาสเวกัส มีกล้องวงจรปิดและเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าระวังอยู่ค่อนข้างหนาแน่น แต่การยิงมาจากบนตึกแบบนี้ ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะมาจากทางไหน (ยกเว้นต้องสกรีนแขกทุกคนก่อนขึ้นตึก)

3) ปกติแล้วเวลามีเหตุกราดยิง เจ้าหน้าที่ตำรวจจะ "หยุด"การเคลื่อนไหวของมือปืน เพื่อลดความสูญเสียเฉพาะหน้า โดยการยิงมือปืนนั้นให้ไม่สามารถก่อเหตุต่อได้ (จะตายหรือไม่ก็อีกทอดหนึ่ง) แต่เคสการยิงจากบนตึก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยบนพื้น แทบจะไร้ความหมาย อาวุธปืนที่มีไม่สามารถยิงสวนกลับไปได้ตามระยะของมัน หรือถ้าเกิดว่ามีปืนสไนเปอร์จริงๆ ก็มีประเด็นว่ายิงแล้วจะไปโดนแขกคนอื่นในห้องใกล้เคียงหรือไม่

เคสของที่ลาสเวกัสครั้งนี้ มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่สามารถรู้ได้ว่ายิงมาจากห้องไหน เพราะยิงปืนกลแล้วมีควัน จนเครื่องดักจับควัน (smoke detector) ทำงาน ทำให้เจ้าหน้าที่เข้าไปพังประตูห้องและจัดการกับมือปืนได้ (เคสนี้มีข่าวว่ามือปืนยิงตัวตายก่อน) ตรงนี้ถือว่าโชคดีมากที่เครื่องดักควันช่วยเอาไว้ ถ้าไม่มีก็คงต้องใช้เวลาอีกนานมากกว่าจะระบุตำแหน่งห้องที่แน่ชัดได้

หนทางป้องกันคงต้องเริ่มที่ต้นเหตุคือ จำกัดการเข้าถึงอาวุธปืนในอเมริกา แล้วตามด้วยการตรวจอาวุธก่อนขึ้นตึกสูงทุกแห่ง (ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากในสังคมถือปืนถูกกฎหมายแบบในอเมริกา)

ที่น่าห่วงตอนนี้คงเป็นลัทธิเลียนแบบ เคสลาสเวกัสประสบความสำเร็จในการยิงจากตึกสูง ก็ส่งผลให้ตึกสูงทั่วโลกอยู่ในความเสี่ยงทันที คนเดินถนนอย่างเราๆ จะเอาตัวรอดอย่างไร

The Three Horizons of Growth

$
0
0

ช่วงหลังอ่านเจอคอนเซปต์เรื่องนี้บ่อย จริงๆ มันไม่ใช่อะไรใหม่หรือพิสดารแหวกแนวมากนัก แต่ก็เป็น framework วิธีคิดที่ค่อนข้างดี เลยมาจดเก็บไว้หน่อย

การวางแผนยุทธศาสตร์ (strategic planning) มีเรื่องระยะเวลา (time frame) เข้ามาเกี่ยวข้อง ในปัจจุบันเรารู้กันดีว่าการเจาะจงระยะเวลาที่แน่ชัดเป็นเรื่องยากมาก แต่การกำหนดกรอบแบบหยาบๆ เป็น 3 ช่วงคือ ตอนนี้ (Now), อนาคตระยะใกล้ (Near), อนาคตระยะไกล (Far) ก็ช่วยให้เราจัดลำดับความสำคัญของงานที่ต้องทำได้ง่ายขึ้น

เคสแรกมาจาก สไลด์ของ Ford Motorที่พูดถึงการปรับยุทธศาสตร์ในปี 2017ว่าซีอีโอจะต้องมอง 3 ระยะเสมอคือ Now, Near, Far

เคสที่สองมาจาก หนังสือ Hit Refresh ของ Satya Nadellaซีอีโอไมโครซอฟท์ แต่เปลี่ยนวิธีเรียกเป็น Horizon (ขอบฟ้า) แยกเป็น Horizon One, Two, Three สามระยะเหมือนกัน หลักการก็เหมือนกันหมด

อ่านแล้วเกิดความสงสัยว่าแนวคิดนี้ใครเป็นคนเริ่มคนแรก ก็พบว่ามาจากสำนัก McKinseyโดยมาจากหนังสือ The Alchemy of Growthที่ตีพิมพ์ในปี 1999 เนื้อหามาจากการวิจัยบริษัทต่างๆ แล้วสรุปเป็นประเด็น 3 เส้นขอบฟ้านั่นเอง

  • Horizon One - ปกป้องธุรกิจเดิม (core business) และขยายมันออกไป
  • Horizon Two - พัฒนาธุรกิจใหม่
  • Horizon Three - หว่านเมล็ดพันธุ์เพื่อโอกาสในอนาคต

ประเด็นสำคัญคือ บริษัทต้องคิด 3 อย่างนี้พร้อมกันตลอดเวลา ส่วนระยะเวลาจะแบ่งกันอย่างไร และจะแบ่งทรัพยากรสำหรับแต่ละ horizon อย่างไรก็คงแล้วแต่บริษัทแล้ว (กรอบคิดลักษณะนี้ พยายามไม่ให้เราจดจ่อกับธุรกิจปัจจุบันหรือ horizon one มากเกินไปจนไม่ได้วางแผนเพื่ออนาคต)

Plus Ultra ไปไกลกว่าข้อจำกัด

$
0
0

Plus Ultra เห็นคำนี้ครั้งแรกจากการ์ตูน My Hero Academia ตอนแรกก็คิดว่าเป็นการนำคำภาษาอังกฤษมาผสมกันให้เท่ๆ เป็นสโลแกน-ม็อตโต้อะไรก็ว่าไป

ปรากฏว่ามันลึกซึ้งกว่าที่คิดมาก เพราะมันเป็นคำขวัญประจำประเทศสเปนเลยทีเดียว แถมยังอยู่ในตราประจำชาติ (Coat of Arms) ของสเปนอีกด้วย

คำว่า Plus Ultra จริงๆ แล้วต้องบอกว่ามันเป็นภาษาละตินครับ ความหมายของมันคือ "Further Beyond"หรือการทะลุไปไกลกว่าข้อจำกัด

ที่มาของคำว่า Plus Ultra มาจากประวัติศาสตร์สเปนในช่วงยุคทองโดยยุคทองของสเปนเริ่มจากการแต่งงานของราชินี Isabella I แห่งแคว้น Castille กับราชา Ferdinand II แห่งแคว้น Aragon รวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ หลังจากนั้นก็จับลูกของตัวเองแต่งงานเชื่อมสัมพันธ์กับราชวงศ์อื่นๆ ในยุโรป ซึ่งหนึ่งในนั้นคือราชวงศ์ฮับสบูร์ก (Habsburg) ของออสเตรีย

ทายาทที่เป็นผลผลิตของการผสมวงศ์ครั้งนี้คือกษัตริย์ Charles V (ถ้าเรียกแบบสเปนคือ Charles I) ซึ่งเป็นหลานตาของ Ferdinand และขึ้นมาครองราชย์ในจังหวะที่สเปนกำลังขาขึ้น และขยายอิทธิพลทางทะเลพอดี (โคลัมบัส ค้นพบทวีปอเมริกาในยุคของ Isabella & Ferdinand)

Charles V คนนี้ล่ะครับที่เป็นคนตั้งสโลแกนคำว่า Plus Ultra เพื่อสะท้อนความใฝ่ฝันของสเปน (ในตอนนั้น) ที่จะบุกไปยังโลกใหม่นั่นเอง

รูปปั้น Charles V ที่เมือง Toledo

P1012638

ในอดีตสมัยโรมันรุ่งเรือง โลกทัศน์ของชาวโรมันยังจำกัดเฉพาะทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเท่านั้น ดังนั้นที่ช่องแคบยิบรอลตาร์ ( Strait of Gibraltar) ทางออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งอยู่ทางใต้สุดของสเปน จึงว่ากันว่ามี "เสาแห่งเฮอร์คิวลิส" (Pillars of Hercules) ปักอยู่เป็นประตู และมีคำเตือนนักเดินเรือ (ในยุคนั้น) เขียนเป็นภาษาละตินว่า "Non plus ultra"หรือ "Nothing Further Beyond" (ถัดจากนี้ไปไม่มีอะไรอีกแล้ว)

Plus Ultra ของ Charles V จึงเป็นการท้าทายแนวคิดอันนี้ใน mindset ของชาวยุโรป และเปิดมุมมองใหม่ๆ เพื่อก้าวไปสู่ขอบเขตที่เหนือกว่านั่นเอง (เสาสองต้นในตราประจำชาติสเปน ก็คือ Pillars of Hercules นั่นล่ะ) และหลังจากนั้น สเปนก็เข้าสู่ยุคทอง (Siglo de Oro) เป็นเวลาประมาณเกือบ 200 ปี ก่อนจะเสื่อมลงไปเพราะพ่ายแพ้แก่ฝรั่งเศสที่ขึ้นมาเป็นมหาอำนาจแทน

หลังจาก Charles V เสียชีวิตแล้ว คำขวัญนี้ยังคงอยู่ และกลายมาเป็นคำขวัญประจำชาติสเปนจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง Wikipedia

Keyword: 

สู่ฟ้าเสวยสวรรค์

$
0
0

ซื้อหนังสือ "สู่ฟ้าเสวยสวรรค์"ของมติชน ซึ่งเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องหลังการสร้างพระเมรุมาศ ของ ร.9 มา และนำข้อมูลบางอย่างในหนังสือไปโพสต์ใน Facebook / Twitter และได้รับความสนใจล้นหลาม (โดยเฉพาะใน Twitter วันที่ 26 ตค. 60 ที่มีพระราชพิธี) เลยมาจดเก็บไว้ในบล็อกหน่อย

Facebook เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม

Twitter โพสต์ช่วงสาย-กลางวันของวันที่ 26 ตุลาคม

ยอด reach/impression ใน Twitter รอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ก็เลยอยู่ที่ 1.5-1.6 ล้าน น่าจะเป็นสถิติสูงสุดที่เคยทำได้ ปกติเล่น Twitter เป็นบัญชีส่วนตัวอยู่แล้ว เลยไม่ได้สนใจเรื่องว่าคนจะเห็นมากน้อยแค่ไหน แต่ก็ถือเป็นที่ระลึกว่าเคยทำได้เยอะขนาดนี้ และดีใจที่คนไทยสนใจข้อมูลในเชิงความรู้แบบนี้

into the new dawn ...

Using Amazon Echo as Intercom

$
0
0

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ [สู่ฝันบ้านสมาร์ทโฮม]

ซื้อ Amazon Echo Dot มาจากอเมริกาสองตัว แต่ก็แทบไม่ได้ใช้งานเพราะ 1) เป็นช่วงที่บ้านต้องการความเงียบ 2) ไม่รู้จะเอามาใช้ทำอะไรนอกจากเปิดเพลง ซึ่งพอหมด Amazon Prime ช่วงลองใช้ฟรีแล้ว ก็ไม่ได้สมัคร Spotify Premium ที่เข้ามาในบ้านเราพอดี (แถมหลังๆ ใช้วิธีเปิดจาก YouTube ขึ้น Chromecast แล้วปิดจอทีวีเอาแทน)

อย่างไรก็ตาม Echo เพิ่งได้ฟีเจอร์ใหม่ ที่ให้มันเป็น intercom พูดคุยกับคนในอีกห้องได้เมื่อสบโอกาสก็เลยลองหาดูว่ามันทำอย่างไร

ต้องอธิบายก่อนว่า ฟีเจอร์ intercom เป็นส่วนย่อยหนึ่งของฟีเจอร์ Calling & Messagingที่เปิดตัวพร้อม Echo Show (ที่มีจอภาพ) และรองรับการโทรศัพท์ออกจาก Echo ไปยังเบอร์บ้าน-มือถือในสหรัฐด้วย แต่ของเราใช้แค่การส่งเสียงระหว่างลำโพง Echo สองตัว เท่านั้นพอแล้ว

คำว่า intercom เป็นชื่อเรียกสั้นๆ ให้เห็นภาพ แต่จริงๆ แล้วชื่ออย่างเป็นทางการคือคำว่า Drop Inซึ่งใช้ได้กับลำโพง Echo ทุกรุ่นในปัจจุบัน รวมถึงการพูดจากแอพ Alexa บนมือถือไปยังลำโพง Echo ด้วย (แต่พูดจาก Echo กลับไปยังแอพไม่ได้นะ)

ขั้นตอนการติดตั้งและเปิดใช้งาน

  1. ตั้งชื่อลำโพง Echo แต่ละตัวเป็นภาษาอังกฤษที่ออกเสียงได้ เช่น Bedroom, Upstair ตรงนี้สามารถทำผ่านเว็บ alexa.amazon.comได้
  2. เปิดใช้ฟีเจอร์ Drop In จากในแอพ Alexa ต้องทำผ่านแอพเท่านั้น

ความยากอยู่ที่แอพ Alexa เปิดให้ดาวน์โหลดเฉพาะในบางประเทศเท่านั้น (ขนาดแคนาดายังไม่มีให้ใช้เลย) เราจึงต้องหาแอพแบบ APK มาลงเองด้วยวิธี sideload ซึ่งก็ขึ้นกับกรรมวิธีของแต่ละคนในการสรรหาไฟล์มา เพราะการดาวน์โหลด APK จากเน็ตมีความเสี่ยงสูงมากที่จะถูกยัดไส้

อย่างตัวผมเองเชื่อมั่นใน APKmirror ที่ทำโดย Android Police แต่กลับไม่มี Alexa ให้ดาวน์โหลดซะงั้น (คาดว่า Amazon สั่งเอาลง) จะเอาจากเว็บอื่นก็ไม่มั่นใจพอ สุดท้ายแก้ปัญหาโดยขอให้เพื่อนที่อยู่ในสหรัฐ ดาวน์โหลดแล้วสกัด APK ออกมาให้แทน ก็ขอบคุณมา ณ ที่นี้

พอได้แอพแล้วก็ไม่มีอะไรยาก ฟีเจอร์นี้จะอยู่ในแท็บที่สอง (Conversation) กดเปิดให้สิทธิใช้งาน แล้วจะมีแถบ Drop In สีฟ้าโผล่ขึ้นมาในแอพเลย เราก็สามารถกดปุ่มนี้เพื่อพูดจากมือถือให้เสียงไปออกยังลำโพงตัวที่ต้องการได้

พอเซ็ตอัพฟีเจอร์ Drop In ครั้งแรกเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเราก็พูดกับ Alexa ได้เลย (ตัวลำโพงมันจะขึ้นไฟสีเหลือง แปลว่าซัพพอร์ต Drop In)

"Alexa Drop In Upstair"

หมายเหตุ: ไม่สามารถใช้คำสั่ง "Alexa Call Upstair"ได้นะครับ เพราะจะหมายถึงการ "โทรศัพท์"ที่อีกฝ่ายต้องกดรับด้วย ซึ่งไม่ใช่แนวทางของ Intercom

วิธีย้ายข้อมูลข้ามเครื่องมือถือด้วย Samsung Smart Switch

$
0
0

ใช้มือถือซัมซุงมา 4-5 ปี รวมถึงเครื่องรีวิวอีกน่าจะเกินสิบเครื่อง ปกติเวลาได้เครื่องใหม่มา จะใช้วิธี clean install ทุกอย่างใหม่หมดเสมอ ด้วยอารมณ์อยากให้เครื่องใหม่คลีนๆ ไม่มีอะไรตกค้าง เลยไม่เคยลองใช้ฟีเจอร์ restore ข้อมูลข้ามเครื่องมาสักครั้ง

ล่าสุดวันก่อนได้เครื่องรีวิวมาอีกเครื่อง แล้วมันยุ่งๆ ขี้เกียจมานั่งละเมียดละไม ลงแอพทีละตัว (เพราะเป็นเครื่องรีวิวเดี๋ยวก็ต้องคืน) เลยมีโอกาสได้ใช้ฟีเจอร์ Smart Switch เป็นครั้งแรก (ชาวบ้านเขาใช้กันไปหมดโลกแล้ว!!!) พบว่ามันเจ๋งมาก จนต้องมาเขียนลงบล็อกไว้สักหน่อย

แอพ Smart Switch ก็ทำงานตามชื่อ คือย้ายข้อมูลจากมือถือเครื่องอื่น มายังมือถือซัมซุงนั่นเอง เรียกง่ายๆ ว่าฝั่งปลายทางต้องเป็นซัมซุง ส่วนต้นทางจะเป็นอะไรก็ได้ รองรับทั้ง Android ค่ายอื่น, iOS รวมถึง Windows Phone และ BlackBerry (ถ้ายังมีคนใช้อยู่นะ) แถมมีเวอร์ชันบน Mac/Windows ด้วย

  • ถ้าเป็นซัมซุงไปซัมซุง อันนี้ง่ายโคตรเพราะ Smart Switch ฝั่งมาในรอมอยู่แล้ว กดใช้ได้เลยจาก Settings > Cloud and Accounts
  • ถ้าเป็น Android ค่ายอื่นไปซัมซุง ฝั่งต้นทางต้องดาวน์โหลด Smart Switch จาก Play Store
  • ถ้าเป็น iOS ไปซัมซุง ฝั่งต้นทางไม่ต้องโหลดแอพ เพราะ Smart Switch จะดูดแบ็คอัพจาก iCloud โดยตรงได้เลย

พอเครื่องทั้งสองฝั่งมีแอพพร้อมแล้ว ก็เปิด Smart Switch ขึ้นมา เลือกเป็น Wireless Transfer (ถ้าเป็นมือถือกับมือถือ ใช้ไร้สายดีทีสุด ยกเว้นใช้แบ็คอัพผ่านคอมค่อยเลือกแบบมีสาย) จากนั้นเลือกว่าจะเป็นฝั่งส่ง (Send) หรือฝั่งรับ (Receive) แล้วใส่ PIN เพื่อยืนยันตัวตนระหว่างเครื่องก็เรียบร้อย

ฝั่งส่งจะต้องเลือกว่าจะส่งข้อมูลอะไรข้ามไปบ้าง ตามภาพ โดยแอพจะบอกปริมาณข้อมูลที่ต้องส่ง พร้อมเวลาที่ต้องใช้ด้วย

ข้อมูลทั่วไปพวก SMS, ประวัติการโทร, Settings อันนี้ไม่เยอะอยู่แล้ว ที่เยอะคือ Apps ในเครื่องเก่า และพวกรูปภาพ-วิดีโอต่างหาก ถ้าหากไม่ต้องการย้ายรูปภาพ (ผมแบ็คอัพรูปลง Google Photos หมดอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องย้ายไฟล์) ก็ติ๊กออกประหยัดเวลาได้อีกมาก ส่วนพวกแอพก็เอาเฉพาะเท่าที่จำเป็นก็พอ

จากที่ทดลองมา ย้ายข้อมูลประมาณ 1GB ใช้เวลาประมาณ 10 นาที (เอาเข้าจริงก็ไม่ถึงด้วย) อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจว่า Smart Switch เป็นแค่ตัวช่วยในการย้าย "ข้อมูล"เท่านั้น เมื่อย้ายเสร็จแล้ว เราจะต้องทำ authentication ใหม่ของบริการแต่ละตัว (เช่น Google Account, Samsung Account, Microsoft Account, Facebook, Twitter) อีกรอบอยู่ดีนะครับ แต่เท่านี้ก็ช่วยประหยัดเวลาไปได้มากละ!

หมายเหตุเพื่อความแฟร์ ถ้าจะย้ายจาก Android ไป iOS แอปเปิลก็มีแอพลักษณะเดียวกันชื่อ Move to iOSโหลดได้จาก Play Store ครับ


Exploration of Africa

$
0
0

ปรับปรุงจาก โพสต์ครั้งแรกใน Facebook, ภาพประกอบ NASA Black Marble

อันนี้เป็นโปรเจคต์ส่วนตัวที่ทำมาสักพัก ใช้เวลาช่วงก่อนนอน เก็บเล็กผสมน้อยอ่าน Wikipedia เกี่ยวกับการค้นพบโลกใหม่ (New World) ของยุโรปตะวันตก

พูดง่ายๆ คือเรารู้ว่าโคลัมบัสเจอทวีปอเมริกาเหนือในปี 1492 แต่ก่อนหน้านั้น ยุโรปมีความรู้แค่ไหนเกี่ยวกับ "โลก"ซึ่งเราแทบไม่ทราบเลย

คำถามข้อหนึ่งที่ผมคาใจมานานคือ ชาวยุโรปรู้จักเอเชียมานานแล้ว และสามารถเดินทาง (ทางบก) ไปไกลถึงจีนได้มาก่อนนั้นนานมาก (Marco Polo ไปถึงปักกิ่งในปี 1274) แต่ทำไมทวีปแอฟริกาที่อยู่ใกล้กว่า กลับไม่ได้รับความสนใจในลักษณะเดียวกัน จากการค้นคว้ามาระยะหนึ่ง พบว่าปัจจัยมี 4 ข้อใหญ่ๆ

1) ทะเลทรายซาฮารา ตัดแบ่งแอฟริกาเป็นเหนือกับใต้ (Sub-Saharan คือใต้ซาฮาราลงไป) คนยุโรปรู้จักแอฟริกาเหนือมานานแล้ว แต่ถัดจากทะเลทรายลงไป มีอะไรก็ไม่รู้ ข้ามไปไม่ได้ จินตนาการไม่ออก

แผนที่ความหนาแน่นของประชากรในแอฟริกา (2012) โดย CIA

2012 Africa Population Density

แนวคิดนี้สะท้อนอยู่ในแผนที่ยุคเก่าหลายชิ้น ตัวอย่างคือ แผนที่ของปโตเลมี (ประมาณ ค.ศ. 150) ที่มองแอฟริกาเป็นแผ่นดินใหญ่ไปถึงขั้วโลกใต้ (แผนที่ในรูปนี้เป็นเวอร์ชันทำใหม่ในปี ค.ศ. 1300)

ใหม่ขึ้นมาอีกหน่อย แผนที่ Tabula Rogeriana (ปี 1154) แสดงให้เห็นข้อมูลของยุโรปและเอเชียได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่มองแอฟริกาว่าเป็นแผ่นดินขนาดใหญ่ที่ยังไปไม่ถึง (ยุโรปมองว่า มหาสมุทรอินเดียเป็นทะเลปิด โดนแผ่นดินล้อมไว้)

แผนที่เพิ่มเติม ดูได้จาก Early world mapsและ Ecumeneซึ่งเป็นภาษากรีกแปลว่า Known World

2) ศาสนาอิสลาม ยึดแอฟริกาเหนือได้ตั้งแต่ราว ค.ศ.700 และความเป็นศัตรูกันระหว่างคริสต์กับอิสลาม ทำให้ไม่มีการติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างกันมากนัก ชาวมุสลิมในแอฟริกาเหนือคงมีกลุ่มที่เดินทางฝ่าทะเลทรายลงไปได้ (และค้าขายกับชาวเผ่าท้องถิ่น) แต่ข้อมูลเหล่านี้ไปไม่ถึงคนยุโรป

แผนที่การขยายตัวของศาสนาอิสลาม ในช่วง ค.ศ. 622-750 (Early Muslim conquests)

3) การเดินทางด้วยเรือจากโปรตุเกส/สเปน เลาะชายฝั่งแอฟริกาตะวันตกลงไป มีข้อจำกัดทางเทคโนโลยี เพราะเรือในยุคนั้น (ยุคมืดของยุโรป) เป็นเรือที่ใช้สำหรับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่เป็นทะเลน่ารักไม่มีพิษไม่มีภัย แต่พอออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติก ก็ไม่สามารถฟันฝ่าคลื่นลมลงไปได้ (จนกระทั่งมีการประดิษฐ์เรือ Caravelได้ในปี 1451 จึงเดินทางไปได้ไกลมากขึ้น - ใครเคยเล่น Civilization อันนี้มีความเชื่อมโยง)

จากนั้น Caravel ก็พัฒนาต่อมาเป็นเรือ Nau/Carrack และ Galleon

เรือ Victoria ของ Magellan (นับเป็นเรือ Nau)

ข้อมูลเพิ่มเติม: Iberian ship development, 1400–1600

4) อันนี้เพิ่งค้นพบใหม่เมื่อวาน เป็นความรู้ใหม่ คือการเดินเรือเลาะชายฝั่งแอฟริกาลงไปเรื่อยๆ นั้น ทำได้ไม่ยาก แต่ขากลับขึ้นมาสู่ยุโรป กลับเป็นเรื่องยากมากเพราะเรื่อง "ลม"

มหาสมุทรแอตแลนติก (จริงๆ ก็ทุกมหาสมุทร) มีการไหลเวียนของกระแสน้ำเป็นวงกลม ซึ่งของแอตแลนติกเหนือเป็นกระแสตามเข็มนาฬิกา แปลว่าล่องเรือจากโปรตุเกสลงใต้ จะเป็นการล่องเรือตามน้ำ แต่ถ้าจะกลับคืนสู่โปรตุเกส จะเป็นการล่องเรือทวนน้ำ ทางแก้คือต้องใช้ลมเข้าช่วย เส้นทางการเดินเรือจะต้องเป็นวงกลม ดังภาพ (ยิ่งลงใต้ไกลเท่าไร ยิ่งต้องอ้อมกลับเป็นวงใหญ่ขึ้น) เทคนิคนี้ถูกค้นพบโดยชาวโปรตุเกสในช่วงปี 1430-1460 (Volta do mar)

เหตุผลเดียวกันนี้ ทำให้การเดินทางในยุคถัดมา เช่น Bartolomeu Dias ที่ไปถึงแหลมกู้ดโฮปได้เป็นคนแรก (1488) หรือ Vasco da Gama ที่ไปถึงอินเดียได้สำเร็จ (1498) ล้วนแต่จะต้องอ้อมไปจนเกือบถึงบราซิลตามกระแสน้ำในมหาสมุทร (บราซิลถูกค้นพบโดยโปรตุเกสในปี 1500 จากกองเรือ Cabral ที่ตั้งใจจะไปอินเดีย!!!) แล้วค่อยวกกลับไปแอฟริกาใต้อีกที ด้วยกระแสน้ำของแอตแลนติกใต้

เส้นทางการเดินเรือของโปรตุเกส (สีน้ำเงิน) และสเปน (สีเทา)

หลังจากชาวยุโรปรู้จักชายฝั่งของแอฟริกาครบแล้ว (ในราวปี 1500) การสำรวจพื้นทวีปข้างในก็เป็นเรื่องตามมาทีหลัง (หลังจากนั้นอีกนาน)

ข้อมูลเพิ่มเติม: Old maps of Africa

Huawei Device: How to Enter Fastboot, Recovery, Upgrade from SD

$
0
0

เพิ่งเข้าสู่อาณาจักร Huawei ยังใช้ท่าแปลกๆ ไม่ค่อยเป็น มาจดท่าเก็บไว้หน่อย

  • Recovery = Volume Up + Power แต่ทำอะไรไม่ได้นอกจาก Wipe Data/Cache
  • Upgrade Mode = Volume Up + Down + Power
  • Fastboot = Volume Down + Power (ต้องต่อสาย)

อ้างอิง XDA

ส่วนการแฟลชรอม ให้สร้างโฟลเดอร์ dload ใน SD Card (ต่อสาย USB แล้วเมาท์เป็น data) จากนั้นเอาไฟล์ update.app ก็อปลงไปในโฟลเดอร์ dload

จะมีท่าพิเศษใน Dialer คือกด ##2846579## (ตัวเลขพิสดารนิด แต่เป็นแพทเทิร์น) เพื่อเข้าโหมดพิเศษในการอัพเกรดจาก SD

อ้างอิง Skyneel

Huawei ยังมีชุด Hi Suites ที่ทำหน้าที่แบ็คอัพไฟล์คล้ายๆ iTunes หรือ Odin แต่ลองแล้วไม่ค่อยเวิร์คนัก ไม่ต้องเอามาลงคอมก็ได้





Latest Images