Quantcast
Channel: Isriya Paireepairit blogs
Viewing all 557 articles
Browse latest View live

In Ideal World

$
0
0

ผมอยากให้ Android มีส่วนแบ่งตลาดมือถือสัก 40-50% ไม่เกินนี้

ส่วนตลาดแท็บเล็ตก็อยากให้ iPad มีส่วนแบ่งไม่เกิน 40-50% เหมือนกัน

ลองเอาตัวเลขมาคำนวณค่า HHI ดูเล่นๆ

ตลาดมือถือ HHI อยู่ที่ประมาณ 0.45 (คิดจาก OS)

ตลาดแท็บเล็ต HHI อยู่ที่ประมาณ 0.50 (คิดจากแบรนด์)

เป็นตัวเลขที่ไม่ค่อยดีเท่าไร

แต่ถ้าลองเอาตัวเลขส่วนแบ่งตลาดมือถือตามแบรนด์ (จาก Gartner) มาคิด HHI ดูบ้าง ตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 0.20 ซึ่งถือว่าเป็น healthy competition เลยทีเดียว

ว่าแล้วก็ต้องเชียร์ BB10, WP8 และ Windows 8 กันต่อไป


Administered Incentive Pricing

$
0
0

สัปดาห์นี้ไปนั่งเรียนวิชาการกำกับดูแลคลื่นความถี่กับ ITU มา มีประเด็นที่น่าสนใจบางประการควรมาจดเก็บไว้สักหน่อย บล็อกแรกขอประเดิมด้วยเรื่อง Administered Incentive Pricing หรือ AIP

ก่อนอื่นต้องเท้าความสักนิดว่า การกำกับดูแลคลื่นความถี่เป็นแนวคิดที่มีมานานแล้ว และพัฒนามาโดยตลอด โดยแนวทางที่ได้รับการยอมรับในยุคหลังๆ คือการตั้ง regulator ที่เป็นหน่วยงานอิสระออกจากหน่วยงานของรัฐที่เดิมเคยดูแลความถี่ เพื่อการแข่งขันที่เท่าเทียมกันมากขึ้นของหน่วยงานรัฐและเอกชน

กสทช. บ้านเราก็ดำเนินตามรอยนี้ เพียงแต่มาช้าไป 10 กว่าปีจากแผนเดิมในรัฐธรรมนูญปี 40

รูปแบบการบริหารคลื่นที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปคือการให้ใบอนุญาตใช้คลื่น (licensing) ซึ่งแต่ก่อนก็มีวิธีการคัดเลือกว่าจะให้ใบอนุญาตกับองค์กรใดหลายวิธี เช่น ให้มันดื้อๆ, กำหนดรูปแบบการใช้งานคลื่นก่อนว่าจะใช้งานคลื่นช่วงนี้กับเรื่องอะไร, ยื่นคุณสมบัติให้คัดสรร (beauty contest) เป็นต้น ส่วนการจ่ายผลตอบแทนให้กับ regulator เป็นค่าใช้คลื่นก็มีหลายแบบเช่นกัน บางกรณีจะใช้ค่าธรรมเนียมแบบตายตัว เช่น ปีละ xx บาทโดยขึ้นค่าธรรมเนียมปีละ yy% เป็นต้น

แต่พอความต้องการคลื่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และการแข่งขันในตลาดมีสูงขึ้น กระบวนการออกใบอนุญาต+เก็บค่าธรรมเนียมก็ต้องพัฒนาตัวเองตาม เทร็นด์ของการกำกับดูแลคลื่นในระยะหลังๆ จึงหันมาใช้กลไกตลาด (market mechanism) เข้ามาช่วยเพื่อให้ประสิทธิภาพของการใช้คลื่นดีขึ้น (คือคลื่นถูกใช้ครบถ้วนไม่มีใครเอาไปดองเล่นๆ) และได้ผลตอบแทนเข้ารัฐเต็มเม็ดเต็มหน่วยอย่างที่ควรจะเป็น (โดยใช้การแข่งขันตามตลาดช่วยดันเรื่องราคา)

เท่าที่อ่านจากรายงานของ Ofcom กลไกตลาดที่ถูกนำมาใช้กับการกำกับดูแลคลื่นในช่วงหลังๆ มีด้วยกัน 3 อย่าง

  • การประมูลคลื่น (spectrum auction) เพื่อให้ผู้ซื้อแข่งขันกันเอง รัฐจะได้ผลตอบแทนสูงสุดตามกลไกตลาด
  • การขายคลื่น (spectrum trading หรือ secondary market) อธิบายง่ายๆ คือเอาคลื่นมือสองมาขายในกรณีที่ไม่ใช้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาซื้อคลื่นไปแล้วใช้ไม่คุ้ม แต่จะเอาไปทำอะไรต่อก็ไม่ได้
  • การคิดค่าเสียโอกาสในการใช้คลื่น (administered incentive pricing) เป็นการคิดเงินเพื่อกดดันให้คนที่ถือคลื่นอยู่ต้องคายคลื่นที่ใช้ไม่คุ้ม (ในเชิงเศรษฐศาสตร์) กลับมาสู่ตลาด

กรณีของเมืองไทยนำการประมูลคลื่นมาใช้แล้วในกฎหมายของ กสทช. ส่วนการขายคลื่นยังไม่มีใช้ (และห้ามไว้ในตัว พรบ.)

ที่ผมคิดว่าน่าสนใจคือ AIP น่าจะเอามาใช้แก้ปัญหาหน่วยงานภาครัฐเอาคลื่นไปดองไว้เยอะๆ แล้วไม่ยอมคืนคลื่นกลับมาได้

ปัญหาของวงการกำกับดูแลคลื่นทั่วโลกจะคล้ายๆ กันคือแต่ก่อนนี้คนดูแลคลื่นเป็นหน่วยงานของรัฐ (เช่น ทหาร วิทยาศาสตร์ สำรวจ โทรคมนาคม สื่อสารมวลชน) แต่พอแยก regulator ออกมาดูแล หน่วยงานเหล่านี้มักไม่ได้คืนคลื่นกลับมาเป็นอิสระด้วย (ทำนองว่าอ้อยเข้าปากช้างไปแล้ว) ทำให้ regulator ทั่วโลกมีปัญหาว่าคลื่นไม่พอจัดสรรให้ภาคเอกชน จะไปดึงกลับมาดื้อๆ ก็ต้องชนกับหน่วยงานรัฐเหล่านี้แน่นอน

AIP เป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยกดดันให้หน่วยงานรัฐพวกนี้คืนคลื่นกลับมาได้ (บ้าง) โดยอาศัยหลักการว่า ไม่คืนไม่เป็นไร แต่ regulator จะคิดเงินค่าใช้งาน โดยคำนวณจาก "ค่าเสียโอกาส" ของคลื่นที่จะไปทำประโยชน์ในเชิงพาณิชย์นะ

ตัวอย่างเช่น กระทรวงกลาโหมถือคลื่น A เอาไว้ ถ้าเป็นการกำกับดูแลแบบเดิม regulator อาจคิดค่าธรรมเนียมการใช้คลื่น 1 ล้านบาทต่อปี โดยพิจารณาจากต้นทุนในการกำกับดูแลของ regulator ซึ่งไม่เยอะนัก ค่าธรรมเนียมนี้อาจถือว่าถูกจนกระทรวงกลาโหมยินดีจ่ายเพื่อเก็บคลื่นไว้เฉยๆ หรือส่งสัญญาณปีละ 3-4 ครั้งก็ได้

แต่ถ้าคิดค่าธรรมเนียมแบบ AIP ทางฝ่าย regulator ต้องมาประเมินว่าถ้าได้คลื่น A มาแล้วนำไปจัดสรรใหม่ (สมมติว่าประมูล) ได้เงินมา 1000 ล้านบาทต่อปี แต่ในความเป็นจริง กระทรวงกลาโหมไม่ยอมคืนคลื่นนี้ ดังนั้น regulator ก็เสียรายได้ไปเปล่าๆ 999 ล้านบาทต่อปี (ซึ่งรัฐเสียประโยชน์) ก็ยินดีจะให้ใช้คลื่นต่อไป แต่จะขอคิดเงินจากกระทรวงกลาโหมเป็น 5% ของรายได้พึงประเมินก็คือ 50 ล้านบาทต่อปี

พอเงินเยอะขึ้นมา กระทรวงกลาโหมอาจจะเริ่มรู้สึกว่า ถือไว้เฉยๆ มันแพงแฮะ แต่จะเอาไปใช้งานเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้ก็ทำไม่ได้ เพราะขอคลื่นมาใช้เพื่อกิจการอื่น ดังนั้นกลาโหมอาจเริ่มมองว่าเป็นต้นทุนที่ต้องจ่ายออกไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายไม่คุ้มและขอคืนให้ regulator ดีกว่า

เท่าที่มีข้อมูล ประเทศแรกที่นำแนวทาง AIP มาใช้คืออังกฤษ ใช้ตั้งแต่ปี 1998 โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาคลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รายละเอียดสามารถอ่านได้จากรายงานของ Ofcom ในปี 2009 ซึ่งมองย้อนหลังไป 10 ปีเพื่อดูว่านโยบาย AIP เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และมีผลกระทบต่อการจัดสรรคลื่นมากแค่ไหน

การประเมินของ Ofcom ระบุว่า AIP เป็นแค่ "ส่วนหนึ่ง" ของการบีบให้คืนคลื่นเท่านั้น แต่ก็ระบุคลื่นความถี่หลายช่วงที่หน่วยงานอื่นของรัฐคืนมายัง Ofcom (ในจำนวนนี้ก็มีกระทรวงกลาโหมของอังกฤษด้วย) แม้ในแง่จำนวนถือว่ายังไม่เยอะนัก แต่ก็มีผลต่อการคืนคลื่นแน่นอน

การคิดราคา AIP เป็นเรื่องซับซ้อนและหาจุดเหมาะสมยาก ทั้งในแง่ว่าควรคิดค่า AIP กับคลื่นประเภทใดบ้าง และควรคิดราคาเท่าไร อันนี้คงต้องศึกษารายละเอียดกันต่อไป

U.S. Military Command during WWII

$
0
0

I have some troubles during reading Eisenhower's biography. Can't recognize his role during WWII time. Is he the supreme commander during war? Is he higher in rank compared to MacArthur?

So after a bit of googling and looking through Wikipedia, I can conceptualize the wartime command structure into this diagram.

  • The U.S. system puts the President (in this case, FDR) as the Commander in Chief
  • Joint Chiefs of Staff, the committee consists of each armed forces chief, serves as the supreme command structure of the military.
  • William D. Leahy (U.S. Navy) is the highest rank military officer during WWII
  • During WWII, the Air Forces serve under U.S. Amry. Arnold also hold the rank as Army General.
  • People in this diagram are listed only the top rank officers after WWII, all of them were promoted to General of the Army or Fleet Admiral (five-star general) in late 1944.

Apple vs Samsung

$
0
0

Dan Gillmor has everything I want to say:

Now, I'm not a fan of Samsung. Like so many others in the technology world, it has has behaved in ethically questionable ways. And it quite plainly did mimic much of the functionality of the iPhone – though it was Apple's longtime CEO, Steve Jobs, who famously quoted Picasso's adage that good artists copy and great artists steal.

But in recent years, I have become even less a fan of Apple. It is now the uber-bully of the technology industry, and is using its surging authority – and vast amounts of cash – in ways that are designed to lock down our future computing and communications in the newest frontier of smart phones and tablets.

and

Even more than Microsoft during that company's most ruthless days in the 1990s, Apple wants control over how we use technology. It locks down the iOS, requiring that apps be offered or sold only though its own portal, and limits competition when a developer is doing anything that might have an impact on its own business. And as Apple expands into living rooms – a TV is widely believed to be on the horizon – and beyond, we have to ask: do we want a single company with such influence?

It's only fair to note that Apple fans are ecstatic at the prospect. They are eager to live in the embrace of their favorite company, and believe they get a safer and smoother experience by doing so. But those of us who believe we should be able to use what we buy the way we want to use it are less enthralled. We don't want Apple, or any other company, dictating – in fundamental ways – how we compute and communicate. Yet, that is precisely where we may be heading.

Guardian: Apple crushes Samsung in quest for global tech domination

How to Extract Public Key from Keystore

Charlie Wilson's War

$
0
0

เป็นหนังที่เคยพยายามดูบนเครื่องบินแล้ว แต่อดทนดูไปได้ประมาณ 15 นาทีก็เลิกเพราะบทพูดมันเยอะและยาก ดูไม่รู้เรื่องเลย วันนี้มีโอกาสได้ดูจนจบ (ขนาดดูแบบมีซับภาษาอังกฤษแล้วยังอ่านแทบไม่ทัน)

หนังเรื่องนี้พูดถึง Charlie Wilson ส.ส. เพลย์บอยจากรัฐเท็กซัสในยุค 1980s (แสดงโดยทอม แฮงค์) Wilson ขี้เหล้าและบ้าผู้หญิง ปาร์ตี้กับสาวโป๊ กินเหล้าตลอดเวลา และในสำนักงานของเขาที่วอชิงตันดีซี ก็มีแต่สาวสวยเอ็กซ์ (บทพูดในหนังตอนนึงบอกว่า "เราสอนสาวเอ็กซ์ให้พิมพ์ดีดได้ แต่เราทำให้นมของสาวเก่งใหญ่ขึ้นไม่ได้")

Wilson เหมือนจะไม่มีอะไร แต่เขาดันไปอยู่ในคณะอนุกรรมาธิการด้านกลาโหม ซึ่งอยู่ใต้คณะกรรมาธิการด้านงบประมาณของสภาผู้แทนสหรัฐอีกทีหนึ่ง มีอำนาจจัดสรรงบประมาณให้กับ CIA และหน่วยงานด้านความมั่นคงของสหรัฐ ซึ่งเขาก็เป็นคนสั่งเพิ่มงบของ CIA ในอัฟกานิสถานอันน้อยนิด จาก 5 ล้านเป็น 10 ล้าน

ตอนนั้นมีเหตุการณ์สำคัญคือโซเวียตบุกโจมตีอัฟกานิสถาน เพื่อนและกิ๊กคนหนึ่งของ Wilson คือ Joanne Herring ม่ายไฮโซพราวสเน่ห์จากเท็กซัส (จูเลีย โรเบิร์ต) ที่สนใจกิจกรรมด้านอัฟกานิสถาน เลยกระตุ้นแกมบังคับให้ Wilson เดินทางไปดูเหตุการณ์จริงที่ปากีสถาน ซึ่งต้องรับดูแลผู้อพยพชาวอัฟกัน เพื่อให้เขาช่วยเหลืออัฟกานิสถานสู้กับโซเวียต (ฉากที่ Wilson คุยกับประธานาธิบดีปากีสถานนี่เป็นฉากที่ดีที่สุดในเรื่อง)

Wilson อินและอยากช่วย แต่ตอนนั้นเป็นยุคสงครามเย็น ถ้าอเมริกาส่งอาวุธเข้าไปตรงๆ แล้วโดนโซเวียตยึดได้ เกิดสงครามโลกแน่นอน ดังนั้น Wilson และ CIA จึงต้องทำเนียนๆ ส่งอาวุธจากอิสราเอล ผ่านอียิปต์ เข้าไปยังอัฟกานิสถาน ซึ่งสองประเทศนี้ก็เพิ่งก่อสงครามหกวัน (1967) กันไปไม่นาน ยังเกลียดกันมาก Wilson จึงต้องหาวิธีชักจูงหว่านล้อมแบบแปลกๆ แต่ได้ผล (เช่น ส่งสาวเต้นระบำหน้าท้องไปล่อรัฐมนตรีกลาโหมอียิปต์ ซึ่งไม่รู้ว่าจริงแค่ไหนในประวัติศาสตร์)

ผลสุดท้ายก็คืออเมริกาส่งอาวุธเข้าไปช่วยนักรบมูจาฮิดีนสำเร็จ ไล่โซเวียตออกไปได้ในภายหลัง และส่งผลกระทบต่อการล่มสลายของโซเวียตในอีกไม่กี่ปีต่อมาด้วย

Wilson สามารถระดมเงินช่วยอัฟกันจากรัฐบาลสหรัฐได้ถึง 500 ล้านดอลลาร์ + ชวนให้ซาอุลงเงินสมทบอีก 500 ดอลลาร์ เทียบกับ 5 ล้านดอลลาร์ในตอนแรกไม่ได้เลย เรื่องนี้จึงชื่อ Charlie Wilson's War คือเป็นสงครามที่เขาช่วยให้มันเกิดขึ้นได้สำเร็จ

แต่หลังชนะสงคราม Wilson พยายามหาเงินไปสนับสนุนประเทศอัฟกานิสถานในด้านอื่นๆ เช่น การศึกษา ซึ่งไม่มี ส.ส. คนไหนในอเมริกาสนใจ และหนังก็บอกใบ้ว่านี่แหละเป็นช่องว่างให้อัฟกานิสถานเติบโตแบบคุมไม่อยู่ จนเกิดเหตุการณ์ 9/11 ตามมาในอีกประมาณ 20 ปีต่อมา

หนังสนุกประมาณนึง แต่ที่ได้มากกว่าความสนุกคือได้รับรู้วิธีการล็อบบี้ด้านนโยบายการทหาร-ความมั่นคงของสหรัฐนั่นเอง

NBTC Public Forum: 1800MHz Spectrum

$
0
0

ไปพูดงาน NBTC Public Forum ครั้งที่หก หัวข้อ "สัมปทานบริการมือถือสิ้นสุด จะคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไร?" ที่ กสทช. เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2555

เอาสไลด์มาแปะไว้เป็นที่ระลึกครับ (หัวผมอยู่รูปขวาบน ข้างคุณสุภิญญา แต่กลับก่อนเลยไม่มีรูปถ่ายหมู่)

ป.ล. งาน NBTC Public Forum ครั้งที่เจ็ด เรื่อง "กล่องรับสัญญาณโทรทัศน์กับ​ผู้บริโภคสื่อในยุคดิจิทัล" ก็ไป แต่ไม่มีสไลด์เพราะเป็นวงเสวนา

Woontua Keyboard

$
0
0

โปรโมทมาหลายที่แล้ว ยังไม่ได้เขียนลงบล็อกตัวเอง ก็เอาสักหน่อยครับ

Woontua Keyboard เกิดจากว่า คีย์บอร์ดภาษาอังกฤษของ Jelly Bean นั้นดีมาก ในขณะที่คีย์ภาษาไทยเข้าขั้นเลวร้าย (ใครทำวะเนี่ย) โชคดีที่ Android เปิดซอร์ส เราไม่พอใจก็ไม่ต้องเอาแต่พร่ำเพ้อ มาแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้

ผมเลยเอาซอร์สโค้ดของ Jelly Bean Keyboard มาปรับแก้ เปลี่ยนเลย์เอาท์ภาษาไทยให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น (ยังไม่ตรงกับคีย์บอร์ดปกติ 100% ด้วยข้อจำกัดเรื่องพื้นที่) อยู่ในขั้นพอพิมพ์ได้บนมือถือ ยังไม่มีฟีเจอร์อื่นใดรวมไปถึง suggestion/spelling ที่ดูจะยากเกินไป (อาจทำในอนาคตถ้ามีเวลา)

ใช้ได้กับ Android 4.1 ขึ้นไปเท่านั้น ใครมี Jelly Bean ใช้ (ซึ่งตอนนี้ก็คงไม่เยอะนัก) ไปโหลดมากันเองจาก Play Store ตามลิงก์ข้างต้น

Woontua Keyboard

ป.ล. Woontua = วุ้นถั่ว = ถอดคำแปลของ Jelly Bean

ป.ล.2 ขอบคุณ @sugree และ @pittaya ที่ช่วยพัฒนาครับ


Gundam the Origin

$
0
0

Gundam Origin 23

และแล้วการ์ตูนเรื่องเยี่ยมเรื่องนี้ก็จบลง (เล่ม 23)

ผมไปค้นดูใน Wikipedia แล้วพบว่า Yas ใช้เวลาเขียนนานถึง 10 ปี (2001-2011) ถึงกับตกใจว่า นานขนาดนี้เลยหรือ เพราะในความรู้สึกยังคิดว่าเพิ่งได้ยินข่าวประกาศทำ Gundam the Origin พร้อมดีไซน์หุ่นแบบใหม่ (ต่างจากในอนิเมนิดหน่อย) จากนั้นก็ติดตามการเดินทางของไวท์เบสมาตลอด แป๊ปๆ จบเสียแล้ว

Gundam the Origin ถือว่าเป็นการ์ตูนระดับสุดยอดอีกเรื่องหนึ่งที่ผมยินดีไปแนะนำคนอื่นๆ ให้อ่าน

คือเรื่องของ Gundam ภาคแรกที่แต่งโดย Tomino นั้นสุดยอดอยู่แล้ว เป็นมหากาพย์สงครามยิ่งใหญ่ที่เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย มีความสมจริง มีเหตุมีผล มีเรื่องราวของความรัก ความเกลียดชัง มิตรภาพ การตามหาตัวตน (จากมุมมองของอามุโร่) และตัวละครเจ๋งๆ (ชาร์เป็นตัวร้ายที่มีมิติมากๆ คนหนึ่งของการ์ตูนญี่ปุ่น)

แต่ข้อจำกัดของอนิเมที่สร้างตั้งแต่ปี 1979 ก็มีมากมาย ทั้งเรื่องระยะเวลา กำลังคนทำโปรดักชัน รวมไปถึงข้อจำกัดทางการตลาดที่ทำเรื่องให้หนักมากไม่ได้ (ช่วงแรกๆ มันเลยมีกลิ่นของซูเปอร์โรบ็อตอยู่เยอะ) ทำให้กันดั้มภาคแรกยังแสดงศักยภาพออกมาได้ไม่เต็มที่นัก (แต่ก็โด่งดังถึงขนาดนี้)

การนำเรื่องราวที่สุดยอดอยู่แล้วมาตีความใหม่ (reinterpret) โดยผู้ออกแบบตัวละครต้นฉบับอย่าง Yas จึงเป็นการจับคู่ที่ลงตัว กันดั้มฉบับตีความใหม่เป็นการเล่า "นิทาน" เรื่องเดิมในมุมที่ต่างออกไป เพิ่มความสมจริงและลุ่มลึกมากขึ้น ที่มาที่ไปของตัวละครถูกแต่งเสริมเข้ามาเติมเต็ม อธิบายแรงจูงใจของแต่ละคน (โดยเฉพาะช่วงวัยเด็กของชาร์และเซร่า)

ในขณะเดียวกัน ฝีมือการวาดภาพของ Yas ถือว่าขั้นเทพ ภาพสีน้ำเปิดตอนวิจิตรบรรจง เหนือความเป็นมังงะธรรมดาไปมาก เทียบได้กับงานศิลปะอันงามงด (ผมเสียดายมากๆ ที่ SIC พิมพ์หน้าสีได้ไม่หมดเพราะต้นทุน บางหน้าเลยต้องพิมพ์แบบขาวดำแทน) บรมครูอย่าง Yas เล่าเรื่องด้วยภาพได้สุดยอด หลายๆ ตอนใช้ภาพเล่าเรื่องโดยไม่ต้องมีคำบรรยาย แต่ก็ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในสงครามจริงๆ

จุดขัดใจมีนิดเดียวคือเล่ม 23 ชื่อตอนภาษาไทยใช้ว่า "อวกาศแห่งโชคชะตา" ถ้าดูจากภาษาอังกฤษ Encounter in Space น่าจะใช้ว่า "การเผชิญหน้ากลางอวกาศ" (ระหว่างอามุโร่และชาร์) มากกว่า (แต่ก็พอถูไถ)

วันนี้ Gundam the Origin จบแล้วอย่างงดงาม ความหวังต่อไปก็คือ Gundam Z the Origin (แต่ Yas ก็อายุเยอะแล้ว 60 กว่า ความหวังคงริบหรี่)

Keyword:

Chiang Mai - One Day Trip

$
0
0

ผมไปเชียงใหม่มาแล้วหลายครั้งพอสมควร แต่เมื่อวานเพิ่งเป็นครั้งแรกที่เคยไปแบบเช้าเย็นกลับ ก็เลยมาบันทึกลงบล็อกไว้สักหน่อยครับ

เรื่องมีอยู่ว่าได้รับคำเชิญจาก คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้ไปร่วมงานเสวนาประจำปีที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและไอที (คณะนี้เปลี่ยนชื่อจากนิเทศศาสตร์ โดยเพิ่มส่วนของสารสนเทศเข้ามา ซึ่งเป็น direction ที่ผมเห็นว่าถูกต้องมากๆ)

งานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารลักษณะนี้ ยินดีรับคำเชิญอยู่แล้วครับ เพียงแต่ตารางเวลาของผมช่วงนี้แน่นพอสมควร วันก่อนหน้ามีงานสำคัญตอนเย็น เลยตัดสินใจว่าบินไปเช้าวันงาน (งานมีตอนบ่าย) แล้วกลับเย็นวันนั้นเลย ซึ่งก็เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องเพราะวันถัดมา (วันนี้) มีธุระเข้ามาอีก

การเดินทางก็ไม่มีอะไรยากนัก นกแอร์มีไฟลท์ 9 โมงเช้าทำให้ไม่ต้องแหกขี้ตาตื่นแต่มืด (ผมเคยไปเชียงใหม่ไฟลท์ 6 โมงต้องตื่นตีสี่ มันโหดร้ายมาก) ขึ้นเครื่องที่ดอนเมืองซึ่งสะดวกกับผมมากกว่าไปสุวรรณภูมิมาก แถมวันเสาร์เช้ารถไม่ติดเสียด้วย

ดอนเมืองกำลังปรับปรุงใหม่เพื่อรับการขยายตัวจากสุวรรณภูมิ (1 ต.ค.นี้) เท่าที่สังเกตได้เลยคือมีป้ายใหม่ มีร้านค้าเพิ่มมากขึ้น แต่สินค้ายังแพงนรกแตกอยู่เหมือนเดิม กาแฟร้อนไม่มีแบรนด์แก้วละ 75 บาท ชาเขียวขวดละ 40 บาท ผมว่ามันเกินไปหน่อยนะ

ถ้าสาเหตุมันมาจากค่าเช่าที่ของ ทอท. แพงจนเกินไป มันคงเป็นปัญหาเชิงนโยบายแล้วล่ะ

สถานที่จัดงานคือเซ็นทรัลแอร์พอร์ต ซึ่งอยู่ใกล้กับสนามบินมาก ทางผู้จัดมาดูแลเทคแคร์อย่างดี อาหารเที่ยงเป็นเย็นตาโฟชามยักษ์ ร้านสวนผัก อยู่ติดกับเซ็นทรัลแอร์พอร์ตแบบรั้วชนรั้วเลยครับ (คือไปเชียงใหม่มาหลายรอบ ก็ไม่เคยรู้ว่ามีร้านตรงนี้ เราคนต่างถิ่น แฮะๆ)

งานจัดอยู่บนลานกิจกรรมชั้น 3 แขกที่มาพูดพร้อมกับผมคือคุณพิง ลำพระเพลิง หมวกแดงในภาพ

อยู่ในชั้นขายมือถือ-ไอทีทั้งที แถมมีเวลา ก็เลยเดินสำรวจตลาดไอทีเชียงใหม่สักหน่อย ผมพบว่า ณ ตอนนี้ เซ็นทรัลแอร์พอร์ตยังถูกยึดครองด้วย Galaxy S III เสียเยอะ มีป้ายแปะอยู่ทุกๆ 5 เมตร ต้องยอมรับว่าทีมการตลาดของซัมซุงแน่จริงๆ

ร้านโนเกียยังน่าสงสารเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นลอนดอนหรือเชียงใหม่ เราก็เห็นแต่พนักงานจับกลุ่มนั่งคุยกัน และโปรโมชันจืดๆ ที่ไม่น่าสนใจ (ซื้อมือถือแถมเป้หนึ่งใบ) คือตัวผลิตภัณฑ์ยังมีปัญหา ทำโปรโมชันอะไรมาช่วยก็ลำบาก

คุณพิง ลำพระเพลิง มีการแสดงแบบ street performance ด้วย เจ๋งมากครับ สุดยอด ความเป็น entertainer ผมยกให้พี่แกเป็นของจริงเลย อุปกรณ์ไม่กี่ชนิดแต่แสดงได้ลื่นไหล เล่นกับคนดูได้ตลอด

หลังช่วงเสวนาเป็นการประกวด "สาวโลกสวย" (ชื่องานนี้คือ "โลกสวยด้วยการสื่อสาร") ซึ่งผู้เข้าประกวดหลายๆ คนที่เห็นในภาพ อยู่แค่ ม.4-5 เองนะ เด็กสมัยนี้โตกันเร็วมาก! (คนที่ชนะคือน้องคนใส่กระโปงลายจุด)

เสร็จงานก็กลับไปยังสนามบินครับ ถือเป็นการไปเชียงใหม่แบบรวดเร็วและจำกัดพื้นที่มากที่สุดที่เคยไป คือจากสนามบินไปเซ็นทรัลแอร์พอร์ต แล้วกลับมายังสนามบินนั่นเอง

ไว้โอกาสหน้ามีเวลาค่อยเจอกันใหม่แบบยาวๆ นะ เชียงใหม่จ๋า

How to Revive Motorola

$
0
0

เขียนไว้ใน Google+ สักระยะแล้ว มาแปะไว้อีกสักรอบนะครับ

ถ้าผมมีอำนาจเต็มใน Motorola จะวางยุทธศาสตร์ของบริษัทดังนี้

  1. ลดจำนวนแบรนด์ย่อยของตัวเองลง พวก Atrix, Defy ตัดทิ้งให้หมด มือถือของโมโตต้องมีแบรนด์เดียวคือ RAZR เช่นเดียวกับที่ซัมซุงมี Galaxy หรือโซนี่มี Xperia ส่วนพวกรุ่นยิบย่อยราคาถูกทั้งหมด ต้องตัดทิ้ง (ข้อนี้อาจมีปัญหากับพวกโอเปอเรเตอร์บ้าง เช่น Atrix กับ AT&T แต่ก็ต้องเดินหน้าทางนี้เพื่ออนาคต)
  2. แบตเตอรี่ของตระกูล MAXX ต้องกลายเป็นมาตรฐานในมือถือโมโตทุกรุ่น คืออย่างน้อยๆ เวลาคนคิดถึงโมโต ก็ยังมีเรื่องแบตอึดให้พิจารณา เฉกเช่นเดียวกับคิดเรื่องสเปกต้องซัมซุง เรื่องดีไซน์ต้องโซนี่ อะไรแบบนี้ ปัจจุบันโมโตไม่มีจุดเด่นอะไรเลย มีเรื่องแบตเข้ามาในใจผู้บริโภคสักเรื่องก็ยังดี
  3. ไหนๆ เป็นของกูเกิลไปแล้ว ก็ควรใช้นโยบาย vanilla Android เต็มที่ รอมของโมโตต้องพร้อมหลังจาก Andy Rubin เดินลงจากเวทีเปิดตัว Android รุ่นใหม่ การันตีการอัพเกรดพร้อม Nexus และอย่างน้อย 2 ปีหลังวางขาย

ที่เหลือในอนาคตจะสร้างจุดขายอะไร ค่อยว่ากันอีกที แต่ถ้าแค่นี้ยังทำไม่ได้ โมโตก็คงเป็นได้แค่สิทธิบัตรกองใหญ่เท่านั้นล่ะครับ

Big Four Smartphone of 2005

$
0
0

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว โลกไอทีมีบริษัทสมาร์ทโฟนใหญ่ 4 ค่าย

  • Palm ผู้สร้างตำนาน PDA
  • PocketPC/Windows Mobile ของไมโครซอฟท์ ผู้อหังการ
  • Symbian ของโนเกีย ราชามือถือโลก
  • BlackBerry เจ้าพ่อมือถือองค์กร สร้างชื่อขึ้นมาจากเพจเจอร์

มาถึงวันนี้ บิ๊กโฟร์ใกล้พินาศสิ้น จากการรุกเข้ามาในวงการมาเฟียของมังกรคู่ iOS/Android

ชะตาชีวิต

  • Palm เกิดสงครามภายใน และพ่ายศึก PocketPC ให้ไมโครซอฟท์ จนต้องยอมตกอยู่ในอาณัติ Windows Mobile อยู่พักใหญ่ ถึงแม้จะมีชีวิตกลับมาได้อีกครั้งด้วย webOS แต่ก็เป็นเปลวเทียนใกล้สิ้นแสง สว่างวาบขึ้นมาแล้วตายไปในมือของ HP
  • Windows Mobile ต้นสังกัดไหวตัวทันว่าแก่เกินแกง ฉีดยายุติชีวิตและสร้าง Windows Phone มาแทนที่ จากราชาสมาร์ทโฟนกลายมาเป็นส่วนแบ่งตลาดกะจิดริด เรียก single digit ยังฟังดูดีเกินไป
  • Symbian กระโดดลงน้ำจากแท่นน้ำมันที่ไฟลุกไหม้ เมื่อปี 2005 โนเกียคงไม่นึกไม่ฝันว่าจะต้องมาจับมือกับไมโครซอฟท์ ที่เคยสู้กันเอาเป็นเอาตาย
  • BlackBerry เหมือนจะอยู่รอดมานานที่สุด แต่สุดท้ายเจอตีด้วยนโยบาย BYOD จนร่อแร่ โอกาสสุดท้ายอยู่ที่ BB10

สรุปคือ Palm ตาย, Windows Mobile กับ Symbian ต้องหันมาจับมือกันเอง, BlackBerry หายใจรวยริน

โลกไอทีมันเปลี่ยนแปลงไวจริงๆ

Big Data กับการเปลี่ยนวิธีทำธุรกิจ

$
0
0

มีมิตรสหายท่านหนึ่งจากภาคการเงินการลงทุน มาคุยกับผมใน Facebook เรื่องความพร้อมของหน่วยงานธุรกิจไทยกับเทคโนโลยี Big Data เมื่อเช้านี้

ผมคิดว่านี่เป็นสัญญาณว่า Big Data น่าจะเริ่มโตพอแล้ว ที่ภาคธุรกิจไทยโดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ๆ จะเริ่มหันมาสนใจ และไม่ใช่การขับเคลื่อนจากคนไอที (ที่เห็นความสำคัญของเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว) แต่เป็นการผลักดันจากฝ่ายบริหารหรือฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กร ที่ไม่ได้ติดตามเรื่องนี้ใกล้ชิดมากนักเท่ากับฝ่ายไอที

ในวงการไอทีเราพูดเรื่องนี้กันมาเยอะมากแล้ว ถึงแม้ว่าคำว่า Big Data จะเพิ่งกำเนิดมาได้ไม่นานนัก แต่แนวคิดพื้นฐานอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลและสกัดสารสนเทศที่สำคัญมาใช้งาน (business intelligence) ก็พูดกันมาสิบชาติแล้ว ส่วนโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคอย่าง MapReduce (จนกลายมาเป็น Hadoop) หรือการสร้างคลัสเตอร์-ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ราคาถูกดูแลรักษาง่าย ก็คุยกันมาเยอะแล้วเช่นกัน

ถ้าวางเรื่องเทคนิคไว้ก่อน ผมคิดว่าประเด็นที่สำคัญที่สุดของ Big Data คือ มันจะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจแบบเดิมๆ ขององค์กร จากเดิมที่ไอทีเป็นฝ่ายสนับสนุนกระบวนการของธุรกิจ (business process) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้นทุนลดลง (แต่วิธีการหรือกระบวนการเป็นเหมือนเดิม) กรณีของ Big Data จะยิ่งใหญ่กว่านั้นมาก เพราะมันจะกลายเป็นตัวกำหนดวิธีการทำธุรกิจแบบใหม่ให้องค์กรแทน

เท่าที่ผมไปคุยกับผู้บริหารบริษัทไอทีมาหลายแห่ง คนที่พูดเรื่องนี้ได้ใจความที่สุดคือ EMC (ไม่ได้ค่าโฆษณานะครับ) ที่ตั้งสโลแกนแบบตรงไปตรงมาว่า "Big Data Transforms Business" อ่านแล้วก็แบบ เออ ประมาณนี้แหละ ใช่เลย (แต่คนที่นำหน้าเรื่องนี้ที่สุดผมว่าเป็น IBM ฮา)

โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าการใช้งาน Big Data ในองค์กรแบบจริงจัง มันต้องประกอบด้วย 3 ส่วน

  • ต้องมี Data คือองค์กรต้องเก็บข้อมูลไว้เพื่อการวิเคราะห์ในรูป digital form ด้วย (ไม่จำเป็นต้องเป็น structured data คือเป็น unstructured ก็ได้ ออกแบบซอฟต์แวร์มาให้อ่านทีหลังได้ แต่ขอให้เก็บ) ซึ่งเท่าที่มีประสบการณ์มา องค์กรในไทยยังไม่ค่อยเก็บข้อมูลในรูปแบบ digital form กันสักเท่าไร
  • IT infrastructure พออยากจะเก็บข้อมูลเยอะๆ แล้วก็ต้องเตรียมโครงสร้างพื้นฐานทางไอที เช่น storage, computing power มารองรับการเก็บ-วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ๆ ด้วย อันนี้เป็นส่วนที่ง่ายที่สุดคือเอาเงินแก้ปัญหาได้ ถ้าเงินถึงจริงๆ ต่อให้ไม่มีอะไรในมือเลย บริษัทไอทีทุกแห่งแทบจะกระโจนเข้าไปทำให้ครบโซลูชัน (แต่ถ้าเงินน้อยก็ต้องหาวิธี implement กันแบบประหยัดๆ นะครับ)
  • Analytical Skills ส่วนนี้ยากที่สุด คือมีแต่ข้อมูลก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด ต้องมีคนที่มีทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (data scientist จริงๆ จะมาจากสายสถิติก็ได้) มาหาความสัมพันธ์ของข้อมูลแล้วสกัดเอาสาระออกมา (เหมือนร่อนทอง) ต่อให้เครื่องมือพร้อม แต่ถ้าไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหนยังไง ก็ทำไม่ได้อยู่ดี (เท่าที่คุยมา แรงงานด้านนี้ขาดแคลนมากๆ เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะมี analytical skill)

ในบทวิเคราะห์ของ Harvard Business Review เขียนเรื่องนี้ไว้แบบตรงไปตรงมาว่า

Simply put, you can't do much with big data without data scientists.

สุดท้ายแล้วจะเห็นว่า Big Data มันไม่ใช่เรื่องของไอทีสักเท่าไรเลย (IT infra ถือเป็นแค่ส่วนเล็กๆ ของระบบเท่านั้น) แต่มันเป็นเรื่องการวางยุทธศาสตร์ของภาคธุรกิจ ว่าจะเก็บข้อมูลอย่างไร (ซึ่งเรื่องนี้พูดกันมาตั้งแต่สมัยเริ่มนำ database มาใช้งาน แต่ก็ยังไม่จบไม่สิ้น) มาจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร (data mining) และนำข้อมูลมาใช้กับกระบวนการทำธุรกิจอย่างไร (business intelligence) จากนั้นก็คูณด้วยอัตราข้อมูลจำนวนมหาศาล (data explosion) ออกมาเป็นโกโก้ครันช์ เอ้ย Big Data นั่นเอง

การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับองค์กร สามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้ระบบไอทีเลยสักนิด (ใช้กระดาษก็ได้ถ้าทักษะถึง) แต่ถ้าต้องการเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ (ซึ่งจะทำให้การวิเคราะห์แม่นยำขึ้นตามจำนวน sampling) อันนี้ต้องใช้ไอทีมาเป็นตัวช่วยให้กระบวนการมันอัตโนมัติขึ้น แต่สุดท้ายแล้วมันก็เป็นเรื่องของความคิดและการวิเคราะห์อยู่ดีครับ

หมายเหตุ: ในแง่ของบริษัทไอที การหากินกับ Big Data กำลังกลายเป็นทิศทางสำคัญของธุรกิจไอทีองค์กร (แต่ในมุมของธุรกิจทั่วไปที่ไม่ใช่ไอที คงไม่กระทบสักเท่าไร) ประเด็นนี้ลองดูในบทความ พญาช้างเริงระบำ: สิบปีต่อมาของ IBM ใต้เงา Samuel Palmisano ที่ผมเคยเขียนไว้ เป็นเรื่องของ IBM กับการปรับตัวไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ ที่หาคนมาสู้ด้วยยากมาก

ปิดท้ายด้วยสไลด์ของอาจารย์ของผมเอง อ.ภุชงค์ อุทโยภาส ไปพูดที่งาน Big Data ของ Software Park โดยยกกรณีศึกษาของ Facebook กับการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ผู้ใช้โพสต์กันทุกวัน

Resource สำหรับผู้สนใจเรื่อง Big Data

Action Starts Here

$
0
0

เพิ่งค้นพบครับว่า วิดีโอโฆษณา Action Starts Here ของ BlackBerry มันมีสองเวอร์ชัน สถานที่เดียวกัน เปลี่ยนแค่ตัวละครและภาษา

ไทย

(เข้าใจว่า) อินเดีย

BlackBerry 10 - Peek & Flow

$
0
0

เพิ่งมีเวลามานั่งดูคลิปของงาน BlackBerry Jam Americas เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว (ข่าวใน Blognone) ซึ่งถือเป็นการโชว์ BlackBerry 10 ค่อนข้างละเอียดเป็นครั้งแรก

ไอเดียของ UI BB10 ถือว่าน่าสนใจครับ ในภาพรวม RIM เรียกมันว่า "Flow" ซึ่งประกอบด้วยแนวคิด 2 แบบ

  • cascade หรือการซ้อนหน้าต่างเป็นชั้นๆ ต่อกันไปเรื่อยๆ อันนี้ใกล้เคียงกับ card ของ webOS
  • gesture หรือการวาดนิ้วเพื่อใส่คำสั่ง (เบื้องต้นก็คือลาก 4 ทิศ บนล่างซ้ายขวา) คนที่เคยเล่น PlayBook จะรู้ว่ามันใช้ gesture เยอะมาก และ BB10 ก็ต่อยอดแนวทางนี้มา

หมายเหตุ: ระบบปฏิบัติการอีกตัวที่ใช้แนวทางคล้ายๆ กันนี้คือ MeeGo ใน N9 ซึ่งผมชอบมาก

ทีนี้มาดูแนวคิดเรื่อง Peek มันคือการ "เลื่อนจอไปทางซ้าย" (หรือเลื่อนนิ้วไปทางขวา) เพื่อ "แอบดู" (peek) ข้อมูลที่จำเป็นของแอพหรือของระบบ

  • peek ของแอพ จะย้อนกลับไปดู "ต้นทาง" ของหน้าจอปัจจุบัน เช่น อ่านเมลอยู่ ถ้า peek ก็จะกลับไปดูกล่องเมลต่างๆ (หรือถ้าแบบเป๊ะเลย มันคือแอพ Facebook บน iOS/Android ที่มีเมนูซ่อนอยู่ด้านซ้ายมือนั่นแหละครับ)
  • peek ของระบบ จะเข้าไปยังหน้าจอ notification กลางของระบบ (คล้ายๆ กับ tray ของ Android แต่อยู่ขวามือ) ถ้าเลื่อนไปจนสุดจะกลายเป็น "Hub" หรือแอพรวม notification (universal inbox ถ้าใช้ภาษาสมัยก่อน)

อธิบายเป็นข้อความอาจยากไปหน่อย ดูวิดีโอง่ายกว่า เริ่มจาก peek ของระบบก่อน

peek ของแอพต่างๆ เริ่มจากวิดีโอรวมๆ มี Foursquare และ Cisco WebEx (เลื่อนดูกันเองตามสะดวก)

BB10 Browser วิดีโอนี้เราจะเห็นการ peek ไปด้านขวาเพื่อเปิดเมนู Share แบบเดียวกับของ Android ด้วย

Facebook อันนี้ชัดมาก แทบเหมือนกับเวอร์ชันอื่นเด๊ะๆ

รวมๆ แล้วถือว่าน่าสนใจดีครับ เป็น modern UI ที่เหนือกว่า iOS/Android พอตัว แต่ผมรู้สึกว่ามันยังไปต่อได้อีกนิด คือ ถ้ารักจะใช้ peek แบบนี้ก็ควรจะตัดปุ่ม Back/Cancel ทิ้งไปเลย เลิกใช้ UI แบบปุ่มคำสั่งบนจอเพื่อเปลี่ยนหน้า แต่เลื่อนซ้าย-ขวา (สำหรับแอพเดียวกัน) และบนล่าง (สำหรับระบบ) แทน

ที่เหลือก็รอเล่นของจริงละ

ป.ล. ผมว่า BB10 ทำได้แบบนี้เจ๋งมากๆ แต่มันควรทำได้ตอนที่ออก PlayBook (ต้นปี 2011) น่ะครับ ออกช้าสองปี ไม่รู้จะยังกู้ชีพกลับคืนทันหรือเปล่านะ


What Oracle Wants

$
0
0

ทำไมออราเคิลถึงซื้อแหลกบริษัทน้อยใหญ่

ทำไมออราเคิลถึงซื้อซัน

และทำไมซันถึงเจ๊ง (จาวาเร็วส์)

วิดีโอนี้มีคำตอบ

ป.ล. มันอธิบายได้ด้วยว่าทำไม Larry Ellison ถึงรวยเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

The Death of Personal Blogging

$
0
0

หัวข้อคือ The Death of Personal Blogging ไม่ใช่ The Death of Blogging

เนื้อหาก็ตามนั้น คือตัวผมเองเขียนบล็อกส่วนตัวอันนี้น้อยลงไปมาก และคิดว่าบล็อกเกอร์คนอื่นๆ ที่เขียนบล็อกส่วนตัว ย้ำว่า บล็อกส่วนตัว น่าจะเผชิญสภาวะเดียวกัน (มาตั้งนานแล้วด้วยซ้ำ)

เหตุผลก็มีหลายอย่างประกอบกัน เช่น คนเรามันจะมีเรื่องอะไรให้เขียนได้ทุกวัน, การเขียนบล็อกยาวๆ หน่อยต้องใช้แรงพอสมควร, การเข้ามาของ Facebook/Twitter ที่โพสต์ง่ายกว่ากันมาก และมี friend interaction เยอะกว่ามาก เป็นต้น

ในระยะยาวแล้ว personal blogging คงลดรูปลงไปเหลือแค่งานเฉพาะทาง สำหรับคนบางกลุ่มที่ชอบเขียนไดอารี่จริงๆ เท่านั้น แต่ฟังก์ชันทั่วๆ ไปส่วนใหญ่ของบล็อกสามารถแทนได้ด้วย Facebook หมดแล้ว

ส่วน blogging ในภาพรวมน่าจะยังอยู่ต่อไป ที่ไปได้ไกลคงเป็น professional blogging หรือการเขียนบล็อกเจาะจงเฉพาะทาง ซึ่งในวงการของมันก็จะพัฒนาตัวกลายเป็น new media agency ที่ต่อสู้กับ online media ที่มีรากมาจาก offline แทน

กรณีของบล็อกไอทีคงเป็นตัวอย่างที่ดีในระดับหนึ่ง แต่มันก็ไม่จำกัดเฉพาะไอทีเพียงอย่างเดียว ยังไปถึงวงการอื่นๆ ได้ตามเท่าที่คนใช้เน็ตจะสนใจ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดผมว่ายังเป็น The Huffington Post ที่ขึ้นมาท้าทาย นสพ. การเมืองเก่าแก่ได้สำเร็จ

คำว่าบล็อกอาจตายไปในอนาคต แต่เจตนารมณ์ของมันคงยังอยู่ในรูปแบบที่เปลี่ยนไปบ้าง ไม่ว่าจะเป็น social network หรือจะเป็น new media ก็ตามที

เพ็กฮวยเกี่ยม เทพบุตรงูทอง

$
0
0

เป็นนิยายเรื่องที่สองของกิมย้ง เขียนก่อนมังกรหยกภาคแรก ความยาวสองเล่มจบ

อ่านแล้วรู้สึกเหมือน ดาบมังกรหยก ภาคที่ยังไม่สมบูรณ์นัก โครงเรื่องคล้ายๆ กันคือพระเอกเป็นฮีโร่เพอร์เฟคต์ ชาติตระกูลดีแต่ตกอับ ได้อาจารย์ดีเลยมีฝีมือ จิตใจซื่อตรงไม่คดโกง ออกเดินทางไปเรื่อยๆ ส่วนนางเอกก็ปลอมตัวเป็นชาย เจ้าแง่แสนงอนกลัวพระเอกทิ้งไปหาสาวอื่นตลอดเวลา ที่เหลือก็มีตัวละครร่วม party ต่างสาขาอาชีพคอยร่วมเดินทางไปด้วยกัน และมีสาวๆ ในยุทธจักรมากมายมาติดพระเอกไปหมด

แต่ตัวละครในเพ็กฮวยเกี่ยมยังแบนๆ ไม่ค่อยมีมิติมากเท่ากับเรื่องหลังๆ ของกิมย้ง พล็อตเรื่องโดยรวมเลยมาตรฐานไปสักนิด (พระเอกเพอร์เฟคต์ไร้จุดอ่อน) และยังมีจุดไม่ค่อยลงตัวอยู่เยอะ

จุดที่เจ๋งคือ กิมย้งเริ่มเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์โดยแต่งตัวละครเชื่อมไปกับประวัติศาสตร์จริง ซึ่งทำได้ค่อนข้างดี เพ็กฮวยเกี่ยมจับช่วงเวลาตอนใกล้สิ้นราชวงศ์หมิง พระเอกเป็นลูกของแม่ทัพใหญ่หมิงที่โดนฮ่องเต้สั่งประหารเพราะโดนยุยง พอโตขึ้นก็เลยเข้าร่วมขบวนกู้ชาติ และมีโอกาสช่วยล้มราชวงศ์หมิง แต่สุดท้ายก็ต้องพ่ายให้กับฝ่ายแมนจูที่รุกเข้ามาตั้งราชวงศ์ชิง

ตัวละครบางตัวจากเพ็กฮวยเกี่ยม เช่น อาเก้า จึงไปมีบทบาทต่อในเรื่อง อุ้ยเสี่ยวป้อ ซึ่งอิงประวัติศาสตร์ช่วงต้นราชวงศ์ชิงด้วย

โดยสรุปแล้วก็อ่านพอเพลินๆ ถือเป็นเรื่องที่ทำออกมาได้ดีประมาณหนึ่ง แต่ถ้าเทียบกับระดับท็อปฟอร์มของกิมย้งแล้ว ก็ยังห่างไกลกันมาก

Tablet for the Mass

$
0
0

มีน้องที่รู้จักกันคนหนึ่งเขียนอีเมลมาปรึกษาดังนี้ครับ

พี่มาร์ค tablet ตามลิ้งค์ เป็นไงบ้างคะ ถ้าจะเอามาไว้อ่านหนังสือเฉยๆ หมายถึงพวกหนังสือที่เป็นไฟล์ PDF อ่ะค่ะ ของซัมซุงกับไอเเพดมันเเพงไปคร่า :)

แท็บเล็ตตัวที่ว่าคือแท็บเล็ตของ jFone ตัวละ 4,990 บาท

ประเด็นที่กินใจผมมากคือประโยคสุดท้ายของน้องเขา มันชี้ให้เห็นว่ามีคนอีกมากอยากเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ แต่ยังติดกำแพงด้านราคาเท่านั้นเอง

เราอยู่ในโลกของสมาร์ทโฟนควอดคอร์ จอเรตินา กล้องเทพ ระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุด ฯลฯ ทำให้เรามักจะลืมไปว่ายังมีคนอีกมากที่ไม่ได้สนใจฟีเจอร์หรูหราพวกนี้ (มีจำนวนมากกว่ากลุ่มแรกมากๆ ด้วยซ้ำ) แต่ขอเพียงต้องการเข้าถึงความสามารถพื้นฐาน ในราคาที่จับต้องได้

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรสนับสนุนโครงการอย่าง คอมพิวเตอร์เอื้ออาทร หรือแท็บเล็ตเพื่อการศึกษา คือตัวโครงการมันเองลำพังคงช่วยสนับสนุนฮาร์ดแวร์ให้กับคนได้จำนวนหนึ่งเท่านั้น แต่ในภาพรวมแล้วมันจะช่วยผลักดันให้ราคาสินค้าของภาคเอกชนต่ำลงมาตาม และคนจำนวนมากจะได้ประโยชน์จากนโยบายนี้

คุยกับ NGO นักพัฒนาแต่ไฮเทคอย่างคุณ @nuling (ที่ใช้ LINE เป็นเครื่องมือสื่อสารภายในองค์กร เท่ซะไม่มี) เห็นตรงกันว่า ราคาสมาร์ทโฟนขั้นต่ำที่เหมาะสมควรลงไปที่ 2,000-3,000 บาท มันถึงจะสร้างจุด critical mass ให้กับสังคมในแง่การเข้าถึงเทคโนโลยีได้ (นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆ เรื่องค่าเน็ตที่ต้องถูกมากพอด้วย ซึ่งปัจจุบันผมว่ายังแพงไปนั่นแหละ)

ผมเคยเขียนบทความเรื่องประมาณนี้ไว้ที่ มือถือเพื่อปวงชน: บทเรียนของสมาร์ทโฟนเครื่องละ 2,400 บาทในเคนยา

Microsoft and WinRT

$
0
0

ผมใช้ Windows 8 บนเครื่องหลัก (ที่ไม่ใช่จอสัมผัส) มาได้หลายเดือนแล้ว ช่วงแรกๆ ต้องปรับตัวให้คุ้นกับ Metro มากพอสมควร แต่พอปรับตัวได้ก็ไม่มีปัญหากับการทำงานมากเท่าไรนัก

แต่ในภาพรวมก็สรุปได้ว่า Windows 8 มีปัญหาจริงๆ นั่นแหละ และเตรียมพบกับเสียงก่นด่าจำนวนมหาศาล + คำขอให้ช่วย tech support จากคนรอบตัวได้ในไม่ช้า

ถ้ามองในแง่ยุทธศาสตร์แล้ว ไมโครซอฟท์ทำถูกต้องมากๆ นะครับกับการรวม notebook/tablet เข้าด้วยกันในระบบปฏิบัติการเดียว (เพียงแต่ในแง่การดำเนินการ มันออกมาไม่สมบูรณ์เท่าไร)

ปลายทางของไมโครซอฟท์นั่นแจ่มชัดว่า สุดท้ายแล้วเป้าหมายคือ "All apps are WinRT" และ Windows RT จะกลายเป็นระบบปฏิบัติการหลัก (อย่างน้อยๆ ก็ในฝั่งคอนซูเมอร์)

แต่ระหว่างนี้เป็น transitional process ที่อาจต้องใช้เวลาอีกหลายปี (อย่างต่ำๆ คงสัก 5 ปี) ซึ่งไมโครซอฟท์ต้องพึ่งพิง legacy app ในโหมด Win32 อยู่มาก ปัญหาคืออุปกรณ์ที่เป็น x86 รัน Windows 8 ตัวเต็มได้มันแพงไปสักหน่อยเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง Android/iPad

ดังนั้นไมโครซอฟท์จำต้องเร่งโปรโมทให้คนมาทำแอพเป็น WinRT กันเยอะๆ และ 1 ปีแรกหลัง Windows 8 ออกคือช่วงเวลาสำคัญ ถ้าไมโครซอฟท์สามารถชักจูงให้นักพัฒนาแปลงแอพ (ทั้งจาก Win32 และจากระบบปฏิบัติการคู่แข่ง) มาเป็น WinRT ได้เยอะพอ จุดติด อนาคตของไมโครซอฟท์ตามแผน WinRT จะสดใสกว่าเดิมมาก

แต่ถ้าจุดไม่ติด ผมก็ไม่ค่อยอยากคิดเหมือนกันว่ามันจะจบอย่างไร

Viewing all 557 articles
Browse latest View live




Latest Images