Quantcast
Channel: Isriya Paireepairit blogs
Viewing all 557 articles
Browse latest View live

Harry Potter and the Deathly Hallows - Part 2

$
0
0

ความเดิม

ไม่ได้ไปดูในโรงด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง แต่สุดท้ายก็ได้ดู เส้นทางชีวิตของเรากับ Harry Potter ก็จบลงสักที


Me on Google+

Songkran in Thailand 2012

$
0
0

มีมิตรสหายส่งมาให้ดู เป็น MV สงกรานต์ที่ตัดต่อโดยทีมของ "เรื่องเล่าเช้านี้" (ไม่มีข้อมูลวันออกอากาศ น่าจะเป็น 16 เม.ย. 55 จดไว้เป็น record สักหน่อย)

ผมดูแล้วพบว่า โคตรชอบเลยครับ เพราะมันก็สะท้อน what is actually happening ของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ทำลายสิ่งที่เป็น pretending "ความเป็นไทย" ลงไปได้อย่างราบคาบ คล้ายๆ กับคลิปเปิดนมสีลมปีที่แล้ว แต่อันนี้ให้ภาพมุมกว้างที่ดีกว่า

ถ้าได้ลงไปเดินตามถนนหรือนั่งท้ายรถกระบะเล่นน้ำวันสงกรานต์ ภาพเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นปกติมานานแล้ว คือมันไม่มีอะไรใหม่เลยจากสงกรานต์เมื่อ 10 ปีที่แล้ว (สมัยที่ผมยังมีความกระหายอยากเล่นอยู่อะนะ) ไม่มีอะไรน่าตกใจเลย

3G Speed Test - Ideas

$
0
0

จาก 3G and 4G Wireless Speed Showdown: Which Networks Are Fastest? โดย PC World

มันไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร แต่ก็เป็นเรื่องดีที่น่ากระทำ

ประโยชน์ที่แน่ๆ คือช่วยเป็นข้อมูลของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกใช้บริการ และเป็น feedback ไปยังโอเปอเรเตอร์ให้ปรับปรุงคุณภาพบริการของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น

สบท. เองมีบริการ speed test อยู่แล้ว แต่เรื่องพวกนี้ยิ่งมีเยอะยิ่งดี ทำเยอะไม่มีอะไรเสียหาย เพราะข้อมูลมันจะเป็น complement ช่วยเสริมกัน ในขณะเดียวกันก็ตรวจเช็คกันเองด้วย

ปัญหาและข้อจำกัดที่ยังต้องคิดต่อ

  • ทำอย่างไร ข้อมูลจึงจะ real time และสดใหม่เสมอ สะท้อนสภาพจริงของทราฟฟิกในช่วงนั้น (และดูย้อนหลังได้ตลอด) การทดสอบเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วเลิกกันไป
  • ทำอย่างไร ข้อมูลจึงจะครอบคลุมพื้นที่ให้บริการที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ จากตัวอย่างของ PC World ระบุว่าทดสอบใน 13 เมือง มันก็แสดงภาพรวมได้ในระดับหนึ่ง แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถทดสอบได้ในพื้นที่มากกว่านั้น (โมเดล crowdsourcing น่าจะช่วยได้เยอะ)
  • ความน่าเชื่อถือของการทดสอบ เพราะจะมีผลชี้ผิดถูกดีแย่ ต้องคิดเรื่อง methodology ในเชิงเทคนิคให้ดีๆ (methodology ของ PC World เอาไว้อ้างอิง)
  • sustainability ทำอย่างไรการทดสอบเหล่านี้จึงจะอยู่ยงยาวนาน เลี้ยงตัวเองได้ในเชิงการเงิน โดยที่ยังรักษาความเป็นอิสระจากภาคเอกชนเอาไว้ได้ด้วย (กองทุน USO ของ กสทช?)

TV & Radio Archive - Ideas

$
0
0

ออกตัวก่อนว่า อันนี้เป็นแค่ไอเดียของผมเองคนเดียวนะครับ

ไอเดียมีอยู่ว่า กสทช. ในฐานะ regulator ทางด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (ถ้าให้เจาะจงหน่อยคือ บอร์ดย่อย กสท.) ควรจะ บันทึกการแพร่สัญญาณวิดีโอของทีวีทุกช่อง และสัญญาณเสียงของสถานีวิทยุทุกช่องในประเทศไทย (นับเฉพาะที่ขอใบอนุญาตจาก กสทช.) แบบ 24/7/365

พูดง่ายๆ ว่าเป็น full archive นั่นแหละ ส่งสัญญาณอะไรออกมา ควรจะเก็บไว้หมด

เหตุผลสนับสนุนไอเดียนี้คือ

  • [เหตุผลหลัก] กสทช. เป็นองค์กร regulator ที่พิจารณาให้คุณให้โทษแก่ผู้ประกอบการได้ ดังนั้นการตัดสินใจให้คุณโทษ (ในเชิงปกครอง) ควรจะมีหลักฐานประกอบในทุกกรณี และเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือ (ไม่ใช่ให้ผู้ประกอบการเป็นคนเก็บเอง)
  • [เหตุผลอื่นๆ] ประโยชน์ในเชิง research ข้อมูลย้อนหลัง เช่น การพิจารณาแพทเทิร์นของผังรายการ การสุ่มตรวจในประเด็นต่างๆ อย่างเวลาโฆษณาที่ใช้ ฯลฯ
  • ข้อมูลการแพร่ภาพเหล่านี้ถือเป็น "มรดก" ทางวัฒนธรรมของประเทศ (ลองจินตนาการถึงคนไทยปี 2600 มาดูว่าคนปี 2555 เขาดูอะไรกัน มีสภาพชีวิตอย่างไร นิยมเพลงอะไร กินอะไร ฯลฯ)

ระบบ full archive ควรจะทำงานอัตโนมัติ ใช้คนดูแลให้น้อย และไม่เปิดกว้างต่อสาธารณะ (ด้วยเหตุผลด้านลิขสิทธิ์รายการ ไม่งั้นมันจะกลายเป็นเว็บดูทีวีออนไลน์ย้อนหลังไปแทน) แต่คนที่ต้องการจะดูจริงๆ ก็สามารถร้องขอสิทธิการเข้าถึงจาก กสทช. ได้เป็นกรณีไป (เพราะประโยชน์มันเอาไว้สำหรับงานเฉพาะเรื่อง)

กระบวนการจัดเก็บในแง่เทคนิคคงไม่มีอะไรซับซ้อนนัก เพียงแต่จะมี challenge ในเรื่อง storage space/infrastructure ของระบบอยู่พอสมควร (คงต้องใช้เงิน-ทรัพยากร-ความเชี่ยวชาญ) ไม่น้อย แต่ผมเชื่อว่าผลที่ได้มันจะคุ้มค่าแก่การลงทุนนะ และเงินของกองทุน USO ก็น่าจะใช้ในเรื่องลักษณะนี้ได้

ผมขายไอเดียกับ กสทช. สุภิญญา ไปทาง Twitter ก็ได้ คำตอบ กลับมาดังนี้

@markpeak ตามกม.บังคับให้ผู้รับใบอนุญาตทุกรายต้องบันทึกรายการย้อนหลัง 30วัน ใครไม่ทำถือว่าผิด แต่เราก็หารือเรื่องการต้องจัดเก็บเองอยู่ด้วย

อันนี้ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนนัก แต่ในระยะยาวคิดว่าทำแล้วคุ้มแน่

Trustworthy Computing

$
0
0

จากข่าว Kaspersky - แอปเปิลล้าหลังไมโครซอฟท์ถึง 10 ปีในเรื่องความปลอดภัย ชวนให้ผมคิดถึงสถานการณ์ของไมโครซอฟท์หลังออก Windows XP ใหม่ๆ (นั่นก็คือเมื่อ 10 ปีที่แล้ว)

XP ออกมาแรกๆ ยังไม่มีอะไรน่าตกใจ แต่ผ่านไปสักพักหนึ่งก็โดนไวรัส มัลแวร์ โทรจัน เวิร์ม รุมตีกระหน่ำจนเสียกระบวน (ผมเคยโดนเข้ากับตัวตอนลง XP ให้คอมพิวเตอร์ที่มหาลัยแล้วเผลอเสียบสายแลนทิ้งไว้ ก็เลยเดี้ยงตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่มใช้งาน) จนไมโครซอฟท์ต้องกลับไปปรับทัพเสียยกใหญ่ และสุดท้ายกลับมาพร้อมกับ XP SP2 ที่นิ่งขึ้นมาก

กระบวนการในตอนนั้นที่จำได้คือ บิล เกตส์ ออกบันทึกภายในเรื่องความปลอดภัย โดยยกให้เป็นวาระสำคัญของบริษัท และจับนักพัฒนาของไมโครซอฟท์ทุกคนไปหัดวิธีการเขียนโค้ดอย่างปลอดภัยเสียใหม่ (ย้ำว่าทุกคน) ผลออกมาดีมาก และระบบความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ดีขึ้นแบบผิดหูผิดตานับตั้งแต่นั้น

มันเป็น learning process ของทุกคนในองค์กรที่ต้องมีร่วมกัน (แต่การผลักดันของผู้นำก็สำคัญ)

เมื่อนึกถึงเรื่องนี้ได้เลยลองค้นข้อมูลดู ก็พบบันทึกของบิล เกตส์ ฉบับนั้น ผมเข้าใจว่าบันทึกนี้ชื่อ Trustworthy Computing แต่ในเว็บของไมโครซอฟท์ไม่ได้ระบุชื่อเอาไว้ เขียนว่าเป็น Memo from Bill Gates เท่านั้น

แต่ระหว่างการค้นหาบันทึกฉบับนี้ ก็เจอของดีกว่านั้นคือบทความ 10 years since the Bill Gates security memo: A personal journey เขียนโดย Michael Howard ตำแหน่ง Microsoft principal cybersecurity architect

คนนี้เป็น "ผู้สอน" คลาสความปลอดภัยให้กับพนักงานทุกคนของไมโครซอฟท์ เขาเล่าความหลังในช่วงปี 1999-2003 ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างกับปัญหาด้านความปลอดภัยของบริษัท เป็นประวัติศาสตร์ของวงการคอมพิวเตอร์ที่น่าสนใจมากทีเดียว

สรุปแบบสั้นๆ คือทีมงานด้านความปลอดภัยของเขา (ซึ่งตอนนั้นยังไม่สำคัญมากนัก) ริเริ่มการแก้บั๊กและช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ภายในบริษัท โดยใช้วิธีแบบ sprint คือเซ็ตวาระเฉพาะกิจขึ้นมา แล้วระดมคนมาช่วยกันแก้บั๊กด้านความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ตัวใดตัวหนึ่งโดยเฉพาะ

วิธีนี้เวิร์คในแง่ของคุณภาพซอฟต์แวร์ แต่ไม่เวิร์คในระยะยาว เพราะเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ ตอนหลังทีมของเขาจึงปรับกลยุทธ์มาเป็นการให้ความรู้ด้านการเขียนโค้ดที่ปลอดภัย และกระตุ้นให้พนักงานภายในเห็นความสำคัญของความปลอดภัยมากขึ้นแทน

เผอิญช่วงนั้นไมโครซอฟท์เจอปัญหาความปลอดภัยพอดี คนในเลยรู้สึกว่าจำเป็นจริงๆ แล้ว แถมผู้นำอย่างบิล เกตส์ก็เอาด้วย งานเลยคืบหน้าและสุดท้ายออกผลมาเป็นอย่างที่เห็น

Spectacular Fighting Scene

$
0
0

อาจารย์ที่เคารพเคยสอนเรื่องการเขียนนิยายกำลังภายในไว้ว่า จุดสำคัญของฉากบู๊ในนิยายลักษณะนี้ไม่ได้อยู่ที่สำนวนการพรรณาว่าเยี่ยมยอดเพียงใด แต่อยู่ที่จินตนาการของผู้เขียน ในการออกแบบ "ซีนต่อสู้" ให้น่าจดจำ

คำว่าซีนต่อสู้นี้ไม่ได้หมายถึงแค่กระบวนท่าที่ใช้ต่อสู้ แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ที่ช่วยให้ฉากนั้นๆ น่าประทับใจด้วย ไม่ว่าจะเป็นฉากหลัง ตัวละคร บทสนทนา เงื่อนไขของการต่อสู้ ฯลฯ

ถ้าสามารถสร้างฉากต่อสู้ที่น่าจดจำได้แล้ว สำนวนการบรรยายจะเป็นส่วนเสริมให้ฉากนี้โดดเด่นยิ่งขึ้น ต่อให้ผู้อ่านจำเนื้อเรื่องในนิยายไม่ได้เลย ก็จะยังจดจำฉากต่อสู้เด่นๆ บางฉากไว้ได้เสมอ

ตัวอย่างนักเขียนที่เขียนฉากเจ๋งๆ ลักษณะนี้ได้ดีคือ หวงอี้ (ผมคิดว่าหวงอี้ได้อิทธิพลมาจากเกม-อนิเมญี่ปุ่นหรือหนังแอคชั่นฝรั่งยุคใหม่ๆ มาพอสมควร) ตัวอย่างฉากเจ๋งๆ ในนิยายของหวงอี้ (ที่นึกออกได้ทันที) ได้แก่

  • การต่อสู้ของโค่วจงกับกระบี่หมากล้อมชอนแชอิม น่าประทับใจในจุดที่กระบี่หมากล้อมทุบกระถางกำยานให้ลอยขึ้น แล้วการต่อสู้ทั้งหมดเกิดขึ้นในช่วงก่อนที่กระถางจะตกลงสู่พื้น (ในแง่การประพันธ์แล้วก็คือการสร้างตัวเปรียบเทียบ ขับเน้นความเร็วให้เด่นขึ้นแบบ relatively)
  • การต่อสู้ของโค่วจงกับดาบสวรรค์ ที่ดาบสวรรค์เปลี่ยนดาบไปเรื่อยๆ ที่ละเล่ม เพื่อสอนโค่วจงไปทีละเรื่อง
  • ในเรื่องเทพทลายนภา ตัวเอก (ซึ่งผมจำชื่อไม่ได้แล้ว) โดนศัตรูล้อม เลยนำผ้ามัดหญิงงามที่เดินทางไปด้วยกันไว้บนหลัง และต่อสู้บนหลังคาบ้านไปเรื่อยๆ แบบ survival จนหลบหนีออกไปได้ในท้ายที่สุด (สร้างเงื่อนไขในการต่อสู้ให้บีบคั้นและน่าสนใจมากขึ้น) อย่างไรก็ตาม ข้อเสียคือหวงอี้เอาฉากนี้ไปรียูสบ่อยพอสมควร ที่เหมือนมากๆ คือเรื่องเทพมารสะท้านภพ ที่หานป๋อก็ใช้มุขให้หญิงงามขี่หลังแล้วต่อสู้บนหลังคาเหมือนกัน
  • เทพทลายนภาอีกเหมือนกัน ตัวเอกคนเดิมไปท้าสู้กับสุดยอดนักบู๊มองโกลที่ถนนสายกลางเมือง ข่านมองโกลจึงสั่งอพยพคนออกจากเมืองให้หมดเพื่อไม่รบกวนการประลองของยอดฝีมือ ซีนนี้จึงเป็นการดวลกันบนถนนกลางเมืองร้างที่ฝนตกลงมาพอดี ถึงแม้ฉากจะดูยิ่งใหญ่แต่ก็รู้สึกว่างเปล่า และสุดท้ายพระเอกที่ฝีมือด้อยกว่าในตอนแรก กลับชนะในจังหวะที่กระโดดฟันแล้วฟ้าผ่าลงมาที่ดาบพอดี (ฉากคล้ายๆ กันถูกรียูสในตอนจบของเทพมารสะท้านภพอีกเหมือนกัน)

สำหรับกรณีของกิมย้ง ฉากต่อสู้ที่ผมประทับใจและนึกออกในตอนนี้ได้แก่

  • การต่อสู้ของเฒ่าทารกที่แบ่งสมาธิออกเป็นสองส่วนได้ ทำให้กระบวนท่าซ้าย-ขวาไม่เหมือนกัน คู่ต่อสู้จึงต้องใช้วิธี 2 รุม 1 จึงจะเอาอยู่
  • การต่อสู้ของเตียบ่อกี้ที่ขึ้นเขาเม้งก่าครั้งแรก ยอดฝีมือคนอื่นๆ ถูกวางยาจนหมด ทำให้เตียบ่อกี้กลายเป็นคนเดียวที่ต่อสู้ได้ (ตัวอย่างที่ดีของการสร้างเงื่อนไขให้การต่อสู้น่าสนใจ)

สำหรับการ์ตูนญี่ปุ่น การออกแบบฉากต่อสู้ที่น่าสนใจคงไม่มีใครเกินเรื่อง Jojo (ในขณะที่การ์ตูนต่อสู้ชื่อดังอย่าง Dragon Ball กลับเต็มไปด้วยกระบวนท่าที่ไม่สำคัญมากมาย) ที่เน้นทริค เงื่อนไข และบุคลิกของตัวละคร ช่วยขับเน้นให้การต่อสู้เป็นที่น่าจดจำได้มาก (โดยเฉพาะภาค 3-4-5)

Keyword:

Football Visualization

$
0
0

เปิดหาตารางคะแนนของ Sheffield United ใน League One แล้วไปเจอกับเว็บของ SkySports เข้าพอดี เจอเทคนิคการนำเสนอตารางคะแนนที่น่าสนใจเลยเอามาแปะไว้หน่อย

อย่างแรกคือตารางคะแนนฟุตบอลลีก ส่วนหน้าสุดคงไม่มีอะไรแปลกใหม่ ที่ควรดูคือช่องท้ายสุดซึ่งเป็นผลการแข่งขัน 5 นัดหลังสุด การเปลี่ยนจากสัญลักษณ์ WDL แบบที่คุ้นเคยมาใช้เม็ดสี ช่วยให้ดูง่ายขึ้นมาก (โดยเฉพาะการเปรียบเทียบระหว่างทีม) แถมไม่ต้องมี legend กำกับก็เดาได้ว่าแต่ละสีหมายถึงอะไรบ้าง

ไอเดียจะคล้ายๆ กับ Sparkline ของ Tufte

อย่างที่สองคือกราฟแสดงอันดับในลีก อันนี้ก็ปกติ เห็นทำกันหลายที่อยู่แล้ว แต่ส่วนที่แปลกใหม่คือกราฟแสดง "คะแนนสะสม" พร้อมเงาของจำนวนเต็ม (คะแนนสูงสุดที่เป็นไปได้) เพิ่มเข้ามาด้วย (ถ้าสามารถเปรียบเทียบกราฟคะแนนสะสมระหว่างสองทีมได้ น่าจะสนุกขึ้นไปอีก)


BBC Sport - Match Timeline

$
0
0

เคยเขียนเรื่อง News Timeline โดยใช้ตัวอย่างของเว็บไซต์ The Verge กับข่าวไอทีไปแล้วครั้งหนึ่ง

วันนี้ระหว่างตามอ่านข่าว แมนยูแพ้ ก็ไปเจอของดีเข้าที่ BBC Sport มันคือการรายงานข้อมูลของแมตช์การแข่งขัน (liveblogging + คอมเมนต์อื่นๆ) ที่ใช้การนำเสนอแบบ timeline ของ Twitter

ตัวอย่าง

Anatomy of BBC Sport Timeline

โครงสร้างการนำเสนอแบบนี้น่าสนใจมาก เน้นไปที่ informative ของผู้รับสารเป็นหลัก จะเห็นว่า

  • headline ของเว็บไซต์นั้นตรงไปตรงมา เน้นข้อมูล ไม่เน้นสำนวน
  • sub-headline จะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นแบบรวบยอด ภายในบรรทัดเดียว อ่านแล้วเข้าใจประเด็นของข่าวได้ครบ (ถ้าสนใจค่อยอ่านต่อไป) ช่วยประหยัดเวลาของผู้อ่านได้มาก
  • การใช้ assets อื่นที่มีอยู่แล้วของ BBC เข้ามาช่วยให้การนำเสนอน่าสนใจและครบถ้วนมากขึ้น ในที่นี้คือวิดีโอ และข่าวประกอบอื่นๆ ที่ดึงมาโดยอัตโนมัติ (ไม่ต้องลงทุนทำคอนเทนต์ใหม่)
  • ข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่ผู้อ่านมักอยากรู้ เช่น โปรแกรมแข่งขันนัดหน้า หรือตารางคะแนนในปัจจุบัน อยู่รวมมาในเพจเดียวกัน ไม่ต้องไปกดหาเพิ่มอีก
  • ส่วนสีเหลืองนั้นเจ๋งที่สุด คือเป็น summary แบบ bullet point ไม่กี่ข้อ อ่านแล้วเข้าใจประเด็นทุกอย่างทันที (เป็นขั้นถัดมาจากการอ่าน sub-headline)
  • ส่วนสีส้มเป็นจุดหลักของเพจนี้คือ timeline สิ่งที่เกิดขึ้นขณะแข่งขัน ทั้งเหตุการณ์สำคัญในสนามแข่ง (ยิงประตู ฟาล์ว เปลี่ยนตัว ฯลฯ) มุมมองหรือคอมเมนต์จากบุคคลสำคัญ เช่น คอมเมนเตเตอร์หรือนักข่าวของ BBC เอง หรือจากภาพจะเห็นการดึงทวีตของ Edin Dzeko เข้ามาประกอบด้วย ทุกอย่างเป็นไปแบบอัตโนมัติ (ถ้าเป็นสื่อไทยเราจะเห็นการรายงานข่าวแบบแมนนวล เช่น "ดาราคนนี้โพสต์ว่า ..." ที่ใช้วิธี rewrite โดยนักข่าวอีกที)

ตัวอย่างของ BBC เป็นตัวอย่างที่ดีมากที่แสดงให้เห็นการผสมผสานระหว่าง

  • ข้อมูลหรือคอนเทนต์ที่มีอยู่แล้ว (video, related news, score table)
  • ทักษะการเขียนข่าวหรือคอนเทนต์ที่เข้าใจง่าย ได้ประเด็น (headline, sub-headline, summary, timeline)
  • ข้อมูลสำคัญอื่นๆ ที่อยู่บนเน็ต (timeline ที่ใช้วิธี aggregate หรือ curate)

ข่าวออนไลน์ในอนาคตจะอัตโนมัติมากขึ้น แต่ก็ยังต้องพึ่งพิงทักษะการนำเสนอข่าวที่ดีอยู่ เพียงแต่มันอาจจะต่างไปจากทักษะแบบเดิมๆ นั่นเอง

One Day with iPad 3

$
0
0
  • ไม่ว่าแอปเปิลจะเรียกมันว่าอะไร เวลาเราคุยกับคนอื่นเราจะเรียกมันว่า "ไอแพดสาม" อยู่ดี #fail
  • จอ retina มันชัดจริงๆ คือภาพกลายเป็นสิ่งไม่ชัดไปเลยเมื่อเทียบกับ text
  • ใช้แล้วพบว่ายังไม่ชอบ form factor แบบนี้ (10 นิ้ว) อยู่ดี คือมันใหญ่เกินไปสำหรับการถือมือเดียว
  • การออกแบบ UI ก็ไม่ค่อยเอื้อสำหรับการถือมือเดียว (ผมถือมือซ้าย) เพราะปุ่ม Back จะอยู่ซ้ายบน (ต้องเอามือขวากด หรือวางตักแล้วค่อยเลื่อนมือซ้ายไปกด) ต่างจาก Android Tablet ที่ปุ่ม Back มันอยู่ซ้ายล่าง ตำแหน่งพอดีกัน
  • มันนุ่มลื่น (ไม่ใช่แค่ลื่น) กว่า Android มาก ความนุ่มเป็นเอกลักษณ์ของ iOS จริงๆ คือลองใช้ WP แล้วมันก็ลื่นแต่ไม่นุ่ม (อธิบายเป็นข้อความลำบาก)
  • Design language ของแอปเปิลมันจะดู "จำลอง" ไปหมด คือ ชั้นหนังสือจำลอง สมุดบันทึกจำลอง ร้านเกมจำลอง ฯลฯ มันดูของเล่นไปหน่อย (สวยน่ะใช่แต่สวยแบบของเล่น) ต่างจาก Android หรือ WP ที่มันออกแบบมาให้ดูแล้วรู้ว่านี่คือโปรแกรม ชัดเจน
  • Navigation ของ iOS ใช้ง่ายเพราะมันไม่มีอะไร แต่ส่วนของ Settings ซับซ้อนขึ้นกว่ารุ่นแรกๆ ที่เคยใช้มาก (คือมันไม่ได้ใช้ง่ายอีกต่อไปแล้ว)
  • ส่วนที่ใช้แล้วรู้สึกอึดอัดคือ notification ด้อยกว่าของ Android มาก, การไม่มี widget ทำให้งานหลายอย่างลำบากขึ้นเยอะ, task switching ไม่ทรงพลังเท่ากับของ Android
  • การทำงานร่วมกับโปรแกรมของกูเกิลถือว่าด้อยกว่า Android มากเช่นกัน (ซึ่งอันนี้ไม่น่าแปลกใจ) คือมันให้ประสบการณ์ out-of-box แบบ Android ไม่ได้ เช่น ไม่มี search suggestion, ไม่รองรับ multiple calendar ของ Gmail มาตั้งแต่ต้น, Mail.app ขาดฟีเจอร์หลายอย่างของ Gmail, Maps.app ใช้ My Maps ไม่ได้, ไม่มี Google Talk ในตัว ฯลฯ (ถ้าว่ากันแฟร์ๆ แอปเปิลก็ไม่ผิดอะไรเพราะมันคนละบริษัท แต่มันก็มีตัวเลือกที่ดีกว่าในตลาด)
  • ในทางกลับกัน มันทำงานร่วมกับ iTunes ได้ดี (ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอีก) และแน่นอนว่า iCloud (แต่ข้อมูลของเราไม่เคยอยู่บน iCloud นี่)
  • คีย์บอร์ดอ่อนด้อยมาก ดีอย่างเดียวตรงมีปุ่ม Shift ให้สองข้าง แย่สุดคือไม่บอกสถานะตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่

สรุปคือมีดีที่นุ่มลื่นกับจอสวย แต่ไม่เหมาะกับ power user เท่าไร ใช้แล้วค่อนข้างอึดอัด

On Vietnam

$
0
0

Bicycle in Vietnam

นั่งเขียนบล็อกนี้อยู่ที่เมือง นิงห์บิงห์ (Ninh Binh) ทางตอนเหนือของเวียดนาม เถิบจากฮานอยลงมาสักหน่อย

ผมเข้ามาเวียดนามผ่านประเทศลาวที่ด่านน้ำพาว ตอนเหนือ-กลางของประเทศ ซึ่งเป็นโซนบ้านนอกๆ ของเวียดนาม แล้วตัดเข้ามายังทางหลวงแนวเหนือ-ใต้ ที่เป็นเส้นทางเศรษฐกิจหลักของประเทศ (กำลังจะขึ้นไปยังฮานอยที่ไม่ได้ไปมานานแล้ว ไม่รู้ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง)

ในฐานะที่ผ่านทั้งเมืองบ้านนอกและเมืองขนาดกลางๆ ของเวียดนามมาบ้างแล้ว มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

  • เศรษฐกิจเวียดนามกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก นั่งรถผ่านเห็นการก่อสร้างทั้งถนน สะพาน บ้านเรือน อยู่ตลอด
  • บ้านเวียดนามเน้นบ้านปูน ไม่ว่าจะเก่าแค่ไหนก็เป็นปูน ตรงนี้จะคล้ายกับจีนมากกว่าไทย-ลาวที่เน้นบ้านไม้
  • อีกอันที่เห็นเติบโตเร็วมากคือโชว์รูมรถยนต์ ผ่านที่เมือง วินห์ (Vinh) บ้านเกิดของโฮจิมินห์และเมืองขนาดกลาง พบว่ามีโชว์รูมรถใหม่ๆ จำนวนมากกำลังสร้างอยู่ (ที่นิยมคือ Honda และ KIA)
  • ส่วนร้านค้าขนาดเล็กที่เห็นเยอะมากคือ ร้านเช่าชุดแต่งงาน มีทุกหัวระแหง กับร้านอาหารและร้านขายของชำขนาดเล็ก ธนาคารยังมีไม่เยอะนัก
  • กะด้วยสายตาแล้ว เศรษฐกิจเวียดนามล้าหลังบ้านเราอยู่ราวๆ 10-20 ปี (แน่นอนว่าไม่ได้พัฒนาตามกันแบบ linear ที่ต้องเดินตามรอยกันทั้งหมด) จุดที่เป็นปัญหาที่เส้นทางลอจิสติกส์ระหว่างเมืองที่ยังด้อยกว่าเมืองไทยมาก ถนนยังเป็นสองเลน รถขับช้า การขนส่งคน-สินค้ายังทำได้ยาก ระดับความก้าวหน้าน่าจะใกล้เคียงกับต่างอำเภอบ้านเราที่กำลังเริ่มพัฒนาทุนของตัวเอง
  • วัฒนธรรมของเวียดนามจะผสมๆ ระหว่างจีนกับอุษาคเนย์ สไตล์การใช้ชีวิตน่าจะคล้ายจีนมากกว่า แต่จะต่างไปจากลาวที่เน้นความสงบสุขแบบไทยอีสาน เพราะที่นี่เน้นความคึกคักวุ่นวาย (แต่ยังไม่มีระเบียบมากนัก) เส้นทางเดินของประเทศน่าจะคล้ายๆ ไทยผสมจีน เน้นทุนนิยมและบริโภคนิยมมากกว่าลาวมาก
  • เนื่องจากเป็นชาติที่ผ่านสงครามมามาก (โดยเฉพาะฝรั่งเศสและอเมริกา) คนที่นี่ยังมีบาดแผลทางประวัติศาสตร์หลงเหลืออยู่เยอะ (ซึ่งก็จะค่อยๆ จางลงเมื่อทุนนิยมพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ)
  • ค่าอาหารในเวียดนาม แพงกว่าในเมืองไทยเล็กน้อย ทั้งที่ผลิตอาหารเองได้ก็เยอะ และค่าครองชีพส่วนอื่นก็ถูกกว่า น่าสนใจว่าเป็นเพราะอะไร
  • คนเวียดนามนิยมของไทย ถึงแม้จะมีร่องรอยความนิยมน้อยกว่าในลาวที่ทุกอย่างเป็นของไทยแทบทั้งหมด อันนี้น่าสนใจมาก และเป็นโอกาสทางการค้าของคนไทยไม่น้อย คือคนไทยควรจะเลิกกลัวเวียดนามแซงเพราะไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่หันมาค้าขายกับเวียดนามกันดีกว่า
  • เวียดนามมีประวัติศาสตร์ซับซ้อนยาวนานกว่าไทยมาก (2000+ ปี ของไทยชิดซ้ายไปเลย) ในแง่ geopolitics แบ่งเป็น 3 ภูมิภาคสำคัญคือ เหนือ กลาง ใต้ ซึ่งในอดีตเป็นคนละอาณาจักรกัน แต่อาณาจักรเวียดจริงๆ มีต้นกำเนิดมาจากภาคเหนือ (ซึ่งในอดีตก็เป็นจังหวัดทางใต้ของจีน) ก่อนจะไล่ตีจามปาและขอมลงมาทางใต้เรื่อยๆ

ร้านหนังสือสนามหลวง ย้ายที่อยู่แล้ว

$
0
0

คนรุ่นผมในเมืองโคราชคงรู้จักร้านหนังสือสนามหลวง ร้านการ์ตูนเก่าแก่ที่อยู่ข้างไนท์บาร์ซากันเป็นอย่างดี (หลายๆ คนก็เติบโตขึ้นมาจากการ์ตูนในร้านนี้แหละ) เดือนก่อนแวะไปซื้อการ์ตูน เจ้าของร้านแจ้งว่าจะย้ายที่อยู่แล้ว เพราะเจ้าของที่ไม่ต่อสัญญาเช่า

ส่วนสถานที่ใหม่ก็ย้ายไปอยู่ที่แถวหน้าราชภัฎ ตามแผนที่ประกอบ

Keyword:

IPTV and Internet TV

$
0
0

วันนี้ (11 พ.ค.) ไปบรรยายเรื่อง IPTV กับ Internet TV ให้กับคณะอนุกรรมการจัดช่องรายการ ของ กสทช. (ผมจำชื่อคณะอนุกรรมการเป๊ะๆ ไม่ได้แต่ประมาณนี้) ก็ขอเอาสไลด์มาแปะไว้หน่อยเป็นหลักฐาน

ในสไลด์อธิบายแนวทางของ IPTV และ Internet TV ในอนาคต เพื่อเป็นข้อมูลประกอบให้คณะอนุกรรมการพิจารณาเรื่องนโยบายการจัดเรียงเลขช่องของทีวีเมืองไทย (ที่ส่วนใหญ่ยังไม่ใช่ IPTV หรือ Internet TV) ส่วนไอเดียของผมเองในเรื่องการจัดเลขช่อง (ออกตัวก่อนว่าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้) มีดังนี้

  • ช่องรายการยุคใหม่มีเยอะ เกิดใหม่และแตกดับอยู่เรื่อยๆ การจัดแบบ fix หมายเลขทั้งหมดคงเป็นไปได้ยาก
  • การเปิดเสรีวิธีการเรียงช่องรายการ ถือเป็นการสร้างนวัตกรรมแบบหนึ่ง เช่น ทีวีดาวเทียมรายหนึ่งจัดช่องเป็นดิวิชันหนึ่งกับสอง ได้หมายเลขช่องดีแย่ต่างกัน แต่ถ้าลีกสองพัฒนาตัวเองขึ้นมา ก็อาจได้เลื่อนชั้นขึ้นเป็นลีกหนึ่ง ได้เลขช่องต่ำกว่า 100 ได้ เป็นต้น
  • เนื่องจากช่องมีเยอะ วิธีการจัดการที่เหมาะสมกว่าคือใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย เช่น การตั้ง hot key หรือเพิ่มความสามารถที่รีโมททีวี
  • แต่คนอีกจำนวนมากก็ยังต้องพึ่งวิธีการกดรีโมทไปเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลต่างๆ (เช่น ไม่รู้วิธีตั้งช่องลัด) ดังนั้นช่องที่กดบ่อยคือช่องเลขต่ำๆ ตรงนี้ผมไม่มีข้อมูลตายตัวแต่น่าจะสูงสุดที่ช่อง 20 หรือ 30
  • เราควรหาวิธีเอื้อประโยชน์ให้คนกลุ่มนี้ดูรายการช่องสำคัญๆ ได้ง่ายผ่านการเรียงเลขช่องด้วย (คำนิยามของ "ช่องสำคัญ" ต้องว่ากันอีกประเด็น) ดังนั้นผมคิดว่าควร regulate เลขช่องแค่ระดับหนึ่ง เช่น 1-20 หรือ 1-30 ที่เหลือปล่อยเสรี
  • ส่วนจะคัดเลือกช่องไหนเข้ามาในกลุ่ม 1-20 ก็เป็นเรื่องยาก เพราะทุกช่องอยากได้เลขช่องสวยๆ อยู่อันดับแรกๆ วิธีที่นึกออกและเป็นธรรมหน่อยมี 2 ทาง คือ 1) เฉพาะ public TV ที่ทุกคนดูได้ฟรีแบบไม่เสียเงิน หรือ 2) ใช้ระบบประมูลช่อง แข่งขันด้วยระบบตลาดเลย

Popeyes in Thailand

$
0
0

ไปสุวรรณภูมิมาล่าสุด พบว่าขาออกของเที่ยวบินในประเทศ (Domestic) โซนร้านอาหารมีร้านฟาสต์ฟู้ด Popeyes เพิ่มขึ้นมา

สมัยเด็กๆ เคยกินมาเมื่อนานมาแล้ว พอคราวนี้มาเจอก็เลยลองเสียหน่อย

Popeye Meals

ชุดปลาทอด ประมาณ 200 บาท ประกอบด้วยปลา 2 ชิ้น, มันทอด, น้ำอัดลม และ "บิสกิต" อาหารเฉพาะของร้าน Popeyes กินกับแยม อร่อยดี แปลกดีด้วย (เห็นว่า Popeyes ที่ฮ่องกงจะเป็นน้ำผึ้งแทนแยม)

Popeye Meals

ไม่แน่ใจว่าในเมืองไทยมีสาขาอื่นอีกไหมนะครับ ลองหาข้อมูลในเน็ตแล้วไม่เจอแฮะ

ศาสนาและศาสดา


Mission: Impossible – Ghost Protocol

$
0
0

ไม่ได้ดูในโรงด้วยเหตุผลว่าไม่ค่อยได้ดูหนัง (ไม่มีเวลา+รู้สึกว่าการดูหนังในโรงมันแพงไปละ) แต่ก็มีหลายคนบอกสนุก วันก่อนขึ้นเครื่องบินเลยมีโอกาสดูบนเครื่องแทน

  • ในภาพรวมแล้วรู้สึกว่าหนังมันเร็วมาก (แต่ก็ยังดูรู้เรื่อง) คือไม่เสียเวลากับดีเทลยิบย่อย ตัดฉับๆ แล้วเหลือ subtle ไว้นิดหน่อยให้คนดูปะติดปะต่อกันเอง (ดังนั้นถ้าสมาธิหลุดก็จะไม่เก็ตเลย)
  • ฉากแอคชั่นน่าประทับใจหลายฉาก ที่โดดเด่นคงเป็นการปีนตึก Burj Califa ที่น่าจะเทียบได้กับฉากโรยตัวในภาค 1 หรือฉากปีนหน้าผาของภาค 2 แต่ฉากอื่นก็ทำดี เช่น ฉากไล่ล่าตอนเปิดเรื่องในบูดาเปสต์ ฉากปลอมตัวเข้าวังเคลมลิน ฉากไล่ล่าในพายุทราย คงมีแต่ฉากต่อสู้ในอินเดียตอนท้ายที่ธรรมดาไปหน่อย (แต่โรงรถก็เท่ดี) คือรวมๆ แล้วมันมีความแปลกใหม่ไม่ซ้ำซากกับหนังแอคชั่นเดิมๆ (โดยเฉพาะซีรีส์เจมส์ บอนด์) ต้องยกเครดิตให้ผู้สร้างเลย
  • อุปกรณ์ gadget ต่างๆ ก็แปลกแนวดีและไม่จำเจเหมือนกัน แถมทำให้คนดูเชื่อว่ามันใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ในสถานการณ์นั้นๆ เช่น ถุงมือปีนตึก เบาะรองรับเวลากระโดดตึก คอนแทคเลนส์สแกนสภาพแวดล้อม ที่โอเวอร์หน่อยคงเป็นฉากกั้นปลอมลายฝาผนัง แต่ก็เวอร์แบบรับได้อะนะ
  • ส่วนเรื่องสินค้าของแอปเปิลก็แปลกใหม่อีกเหมือนกัน เข้าใจว่าน่าจะเป็นเรื่องแรกที่แอปเปิลลงมาสปอนเซอร์โดยตรง จากที่เราเห็นโซนี่ ซัมซุง โนเกีย ในหนังกันมาเยอะแล้ว
  • จุดอ่อนของหนังคงเป็นเรื่องบทที่มันอ่อนไปนิดนึง ตอนดูหนังมันไปเร็วมากจนรู้สึกว่าต่อเนื่องและสนุก แต่พอมานั่งคิดๆ ดูแล้วมันมีประเด็นที่ไม่สมเหตุสมผลอยู่หลายจุด (ที่หนังไม่ยอมเสียเวลาอธิบาย) คือตอนดู The Incredibles ของ Brad Bird ก็รู้สึกคล้ายๆ แบบนี้ (เร็วลื่นไหล) เพียงแต่บทมันลงตัวกว่าเยอะ
  • ประเด็นที่คิดว่าผู้สร้างจงใจแทรกเข้ามา (และทำได้ดี) คือพัฒนาการของตัวพระเอก Ethan Hunt ที่ภาคนี้แก่ขึ้นเยอะ ก็จะเปลี่ยนจากการลุยเดี่ยวเหมือนเดิม มารับบทเป็นผู้นำทีมที่คอยตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ และ coaching ให้กับคนอื่นๆ ในทีมเพิ่มเติมด้วย
  • ตัวละครส่วนใหญ่ทำได้ดี แต่ตัวที่บทอ่อนแอไปหน่อยคือ หน่วยข่าวกรองของรัสเซียที่ไล่ล่าพระเอก ดูกระจอกเกินไปมาก และบทของนักวิเคราะห์ Brandt ที่อ่อนไปหน่อยนึง (แต่ถ้ามีภาคต่อไปแล้วเขาได้กลับมาแสดงฝีมืออีก ก็จะลงตัวดี)
  • สิ่งที่ไม่เข้าใจที่สุดคงเป็นชื่อหนังว่า จะตั้งเป็น Ghost Protocol ทำไมไม่เห็นมีความเกี่ยวข้องสักเท่าไรเลย ตั้งเป็น MI4 แบบธรรมดาน่าจะดีกว่า

สรุปแล้วผมคิดว่า MI ภาคนี้ถือเป็นการ re-imagine แบบอ่อนๆ สำหรับการนำ MI ไปสู่ยุคใหม่ จะเห็นว่าหนังแบรนด์ดังหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น Batman, James Bond หรือ Star Trek ก็ทำออกมาคล้ายๆ กัน คือ บทสนทนาคมคาย-ลื่นไหล-ไฮเทค เนื้อเรื่องทันสมัย ค่อนข้างสมจริง ไม่การ์ตูนและไม่โอเวอร์มากเกินไป

Biggest Companies by Market Capitalization

$
0
0

ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหุ้นและตลาดทุน แต่ก็สงสัยมานานเวลาอ่านข่าวเรื่อง market cap ของแอปเปิลในช่วงหลังๆ นี้

ส่วนตัวแล้วผมคิดว่า market cap มันเป็นแค่ดัชนีที่แสดงให้เห็น "กระแส" ในความคิดของนักลงทุนเป็นหลัก ดังนั้นแอปเปิลที่เล่นกับกระแสเก่งอยู่แล้วจึงไม่น่าแปลกใจที่จะมี market cap สูง สิ่งที่ควรพิจารณาจริงๆ คือของที่มันจับต้องได้อย่าง revenue/profit มากกว่า (ซึ่งแอปเปิลก็ทำได้ดีอีก เพียงแต่ประเด็น market cap มันน่าตื่นเต้นกว่าเวลาเป็นข่าว)

วันก่อนไปตอบคอมเมนต์เรื่องนี้ใน Blognone เลยลองหาข้อมูลดูว่า market cap ของบริษัทใหญ่ในอดีตเป็นอย่างไรกันบ้าง แล้วก็ไปพบของ WSJ ทำเอาไว้ Apple Market Cap Vs. Exxon, Microsoft and IBM: 1981-2011

จากภาพคือ Microsoft เคยขึ้นไปสูงสุดที่เกือบ 600,000 ล้านดอลลาร์ในปี 1999 น่าเสียดายว่าหลังจากนั้นไม่นานก็เจอทั้ง dotcom crash และ 9/11 ทำให้หุ้นทั้งตลาดมันร่วงลงมาด้วย ส่วน Exxon เองก็เคยขึ้นไปสูงกว่าปัจจุบันพอสมควรในปี 2007 ครับ

แต่บริษัทพวกนี้แข่งกันให้ตาย ก็ยังไม่ใหญ่ที่สุดอยู่ดี เพราะเจอ Saudi Aramco บริษัทน้ำมันของรัฐบาลซาอุ มี market cap (ประเมินเอาเพราะไม่ได้อยู่ในตลาด) ที่ 2.2-7 ล้านล้านดอลลาร์ (ตัวเลขปี 2010)

ตัวเลขแบบละเอียดหน่อย (ย้อนไปไกลสุดปี 2008) มีให้อ่านที่ Wikipedia List of corporations by market capitalization

State Owned Telecom Company

$
0
0

ออกตัวก่อนว่าข้อมูลทั้งหมดในบล็อกนี้เป็นการรวบรวมแบบคร่าวๆ ของผมเอง (ส่วนมากเอามาจาก Wikipedia) เอาไว้เป็นข้อมูลส่วนตัว และคงเอาไปใช้อ้างอิงในเชิงวิชาการลำบาก

เรื่องมีอยู่ว่า มานั่งนึกๆ ดูแล้ว บริษัทมือถือรายใหญ่ๆ ของโลกมักมีรากเหง้ามาจากการเป็นรัฐวิสาหกิจด้านโทรศัพท์ในอดีต แล้วเติบโตขยายกลายพันธุ์มาเป็นบริษัทมือถือในภายหลัง (พูดง่ายๆ ว่าใช้อิทธิพลของ state incumbent เดิมช่วยให้ธุรกิจของตัวเองไปรุ่ง) ถ้าเราไม่นับ

  • สหรัฐ ที่ใช้โมเดล all-private ทุกรายมาจากภาคเอกชนหมด
  • จีน ที่ใช้โมเดล all-state ทุกรายเป็นของรัฐหมด

จะเห็นว่าในประเทศเขตเศรษฐกิจสำคัญๆ (เท่าที่รวบรวมมาคือของเอเชีย-ยุโรป) โอเปอเรเตอร์เบอร์หนึ่ง (หรือเบอร์สอง) มักเป็นบริษัทที่มีรากมาจากรัฐวิสาหกิจด้านโทรศัพท์เดิมทั้งสิ้น จะมีบริษัทเอกชนแท้ 100% ไม่กี่รายเท่านั้นที่สอดแทรกเข้ามาได้ เช่น Vodafone, Airtel, America Movil, VimpelCom

ส่วนรัฐวิสาหกิจที่ทำผลงานได้ไม่ดีก็มีที่เมืองไทย และมีแถวๆ เอเชียใต้บางประเทศเท่านั้น ซึ่งกรณีของไทยจะพูดให้แฟร์ก็ต้องบอกว่าเมืองไทยเลือกใช้เส้นทางสัมปทาน แทนรัฐประกอบกิจการเอง ทำให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นแบบนี้ (คือถ้า TOT ทำมือถือเองแต่แรก ตามหลักการแล้วก็ควรจะโตเท่า AIS ในทางปฏิบัติว่ากันอีกที)

คำถามที่น่าสนใจคือโมเดลสัมปทานนี้ ประเทศอื่นๆ มีใช้กันเยอะน้อยแค่ไหนอย่างไร อะไรเป็นแนวคิดเบื้องหลังโมเดลแบบนี้ ซึ่งก็ต้องหาข้อมูลกันต่อไป

The Walt Disney Company

$
0
0

ไปยืนอ่าน Fortune เล่มใหม่ มีเรื่องบริษัท Walt Disney อันที่น่าสนใจคือ "สัดส่วนรายได้" ของบริษัท

ส่วนของเคเบิลทีวีได้เยอะสุดคงไม่น่าแปลกใจนัก (เคเบิล != ทีวี ในสหรัฐ เลยคิดแยกคนละส่วนกัน) แต่ที่แปลกใจคือสวนสนุกมีสัดส่วนรายได้เยอะมาก ในขณะที่ภาพยนตร์ไม่เยอะอย่างที่ภาพลักษณ์แสดงออกมา

(จริงๆ ตัวเลขพวกนี้มันมีอยู่ในงบดุลอยู่แล้ว เพียงแต่ผมไม่เคยไปสนใจเองแหละ)

ใครสนใจก็ตามไปอ่านต่อที่ Fortune กันเองครับ Bob Iger: Disney's fun king สกู๊ปชิ้นนี้กล่าวถึงซีอีโอ Robert Iger ที่เข้ามาพลิกฟื้นกิจการด้วย นอกจากนี้ใน Fortune เล่มนี้ยังมีบทความมหาเทพ How Hewlett-Packard lost its way ด้วย

Blognone Stats - May 2012

$
0
0

ผมขี้เกียจแคปภาพแปะภาพดีๆ ไว้เดี๋ยวครบรอบครึ่งปีค่อยทำ เผอิญอยากรู้ stats ของ Blognone ช่วงนี้เลยมาจดเก็บไว้ก่อน

  • รอบสัปดาห์ล่าสุด
    • วันธรรมดา - visits อยู่ที่ 45k บวกลบ, pv อยู่ที่ 95k บวกลบ
    • วันเสาร์อาทิตย์ - visits อยู่ที่ 35k บวกลบ, pv อยู่ที่ 75k บวกลบ
  • วันที่ 4 พ.ค. 2012 ผลจาก Galaxy S III ทำให้เกิดภาวะ spike (ซึ่งเป็นปกติ) คือ visits 50k กับ pv 123k
  • sources ตอนนี้มาจาก search 50%, referral 28%, direct 21%
  • คิดแยกเว็บคือ google 50%, direct 21%, facebook 13%, t.co 4%, google.co.th 1.7%, m.facebook 1.55%, twitterfeed 1.33%
  • content ยอดนิยมในรอบ 1 เดือนล่าสุด = review galaxy tab 7 plus, paul graham, เปิดตัว ssgs3, ios 5.1.1, minireview galaxy cooper, review windows phone 7.5, review nokia lumia 710, บทวิเคราะห์ ssgs3, phil schiller เลิกใช้ instagram, minireview htc one x, อากงเสียชีวิต
Viewing all 557 articles
Browse latest View live




Latest Images