Quantcast
Channel: Isriya Paireepairit blogs
Viewing all 557 articles
Browse latest View live

My Surface 3

0
0

Surface 3

เรื่องมีอยู่ว่า ThinkPad X250ที่ซื้อมาในปีที่แล้ว ไม่ค่อยเสถียรเท่าไรนัก (แรกๆ ไม่ค่อยเป็นแต่ช่วงหลังเป็นถี่ขึ้น) อาการคือ power management เรื่องการ sleep/wakeup ค่อนข้างมีปัญหา บางครั้งจะ sleep ช้าหรือไม่ก็หลับไม่ลง แถมบางครั้งที่เครื่องได้รับแรงกดจากภายนอก (เช่น ยกเอียงๆ) ก็จะจอฟ้าไปเลย

พยายาม debug มานานแต่ปัญหาเกิดแบบสุ่มมาก ไม่สามารถหาสาเหตุได้ เข้าใจว่าน่าจะเป็น hardware fault แต่ที่ผ่านมาก็ถือว่าอยู่ในระดับที่พอรับได้ ถ้าเครื่องปิดไม่ลงก็ force reboot ได้ไม่ยากอะไร เพราะ SSD มันบูตเร็ว + แอพเดี๋ยวนี้มันก็ autosave งานเกือบหมดแล้ว ปัญหาคงมีแค่ความรำคาญนิดหน่อยเท่านั้น (ช่วงที่มันดี มันจะไม่เป็นอะไรเลย perfect มาก)

แต่ความอดทนสิ้นสุดลง เมื่ออาทิตย์ที่แล้วไปสิงคโปร์ งาน Amazon Web Servicesนั่งฟัง keynote ไปพิมพ์ไปแล้วจอฟ้าขึ้นมากลางห้อง แถมรีบูตไม่ขึ้น (อาการคือไฟคีย์บอร์ดกะพริบ ต้อง force shutdown ด้วยการเอาเข็มจิ้มที่รูใต้เครื่อง) พักเครื่องไว้สักพัก บูตกลับมาได้ปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่พอยกเข้าไปสัมภาษณ์ CTO ใหญ่ของ Amazon เปิดเครื่องขึ้นมาก็จอฟ้าอีก แบบนี้คงไม่ไหวแล้ว เสียการเสียงานแบบ mission critical

พอกลับมาเมืองไทยก็นึกอยู่ว่าซื้ออะไรมาใช้แทนดี แนวทางก็มีทั้งซื้อโน้ตบุ๊กใหม่แบบบางเบา (คงไม่เอา Lenovo แล้วเพราะไม่ค่อยประทับใจคุณภาพในช่วงหลัง) ตัวเลือกในใจก็อย่างเช่น Dell XPS หรือไม่ก็กลับไป MacBook Air (MacBook ตัวบาง พอร์ตมันน้อยเกินทน) หรือไม่ก็ไปสายไฮบริด ซึ่งผมก็อยากได้ Surface Book มากแต่ไม่มีขาย + แพง ตัวเลือกอื่นที่มีคือ Surface Pro 4 หรือไม่ก็ Surface 3 ซึ่งตัวหลังออกมาได้ปีนึงแล้ว ตกรุ่นไปหน่อย แถมคีย์บอร์ดราคาแพงเลยคิดไม่ตก

ปรากฏว่าเปิดมาเจอโปรโมชั่น Surface 3 และ Surface Pro 3 ลดราคาพอดี เลยตัดสินใจง่ายขึ้นมาก เลือก Surface 3 ด้วยเหตุผลเรื่องราคาและความร้อน แถมไปถึงร้าน (IT City) ยังมีโปรลดราคา Dock อีก 50% เลยจัดมายกชุด

  • Surface 3แบบแรม 4GB/SSD 128GB ราคา 22,400 บาท (จริงๆ มีรุ่น 2GB/64GB ที่ถูกลงอีก แต่แรม 2GB เดี๋ยวนี้คงทำอะไรไม่ได้แล้ว)
  • Type Keyboard ของ Surface 3ราคา 4,590 บาท โปรโมชั่นเปลี่ยนเป็นแถมฟรี
  • Docking Station ของ Surface 3ราคาเต็ม 6,490 บาท ลด 50% เหลือ 3,245 บาท
  • ปากกา Surface Pen ของ Surface Pro 4 (ใช้ด้วยกันได้) อันนี้ไม่มีโปร ซื้อราคาเต็ม 2,390 บาท

รวมราคายกชุด 28,035 บาท ก็ถือว่าคุ้มค่าในราคาจับต้องได้ (จริงๆ Keyboard มันควรแถมมาตั้งแต่แรกนะ)

ชีวิตการทำงานของสัปดาห์นี้จึงออกมาหน้าตาแบบนี้ สิ่งที่ดีขึ้นมากคือเรื่องน้ำหนัก เบาหวิว นี่สิคือ mobility ของจริง ส่วนสิ่งที่ต้องแลกมาคือประสิทธิภาพที่ตกลงจากปกติไปพอสมควร (Atom + SSD ช้าๆ มาเจอเว็บหนักๆ แบบ Gmail นี่แทบร่วง)

Surface 3

ชื่อเครื่องตั้งว่า Roland


Deadpool

0
0

Deadpool หนังซูเปอร์ฮีโร่สาย Marvel เรื่องล่าสุดที่เน้นจุดขายเรื่องความกวนตีน หนังโปรโมทแรงดีมาก (หลอกว่าเป็น "หนังรักโรแมนติกช่วงวาเลนไทน์") มีโอกาสได้ดูบนเครื่องบิน จดไว้สักหน่อย

  • เนื่องจากดูบนเครื่องบินไม่มีซับ แถม Deadpool พูดเร็วๆ รัวๆ ศัพท์แสลงมากมาย เลยฟังไม่ทันไม่เก็ตมุขเสียดสีในหลายจุด
  • สิ่งที่ดีที่สุดในเรื่องคือแอ๊คชั่นที่ลื่นไหล และมีมุมหรือท่าแปลกๆ ต่างจากหนังฮีโร่ทั่วไป สิ่งที่ดีรองลงมาคือนางเอก (ไปค้นมาแล้วเป็นคนบราซิล)
  • ปมของเรื่องไม่มีอะไรแปลกใหม่ และคิดว่าหนังเสียเวลากับการย้อนอดีตของ Deadpool มากไป น่าจะมีช่วง Deadpoll ฝึกวิชา-ฝึกฝีมือสักหน่อย
  • คาแรกเตอร์ของตัวร้าย Ajax ไม่ค่อยน่าจดจำ ทั้งคาแรกเตอร์ ความสามารถ และชุด (ตัว Angel Dust ยังน่าสนใจกว่า)
  • ยังไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการเลือกตัวจาก X-Men มาร่วมในหนังเท่าไร มีความรู้สึกว่าถ้าเลือกตัวได้น่าสนใจกว่านี้ มันจะสนุกกว่านี้ ทั้ง Colossus ที่กระจอกผิดคาด และ Negasonic ที่ไม่ต้องใส่เข้ามาก็ยังได้

สรุปว่าดีประมาณนึง แต่รู้สึกว่ามันยังไม่สุด และมันน่าจะทำได้ดีกว่านี้อีกมาก

Keyword: 

WordPress: Exclude Category from Feed

0
0

ข้อดีของ WordPress คือ ecosystem ของปลั๊กอินที่มีขนาดใหญ่มาก อยากได้อะไรมักมีคนทำปลั๊กอินไว้ให้แล้ว ถ้าไม่ใช่ท่าแปลกๆ จนเกินไปก็แทบไม่ต้องทำเองเลย

ล่าสุดมี requirement ว่าไม่ต้องการแสดงเนื้อหาจากบางหมวดลงใน feed ของเว็บไซต์ จริงๆ ทางออกไม่ยากก็คือเพิ่ม hook ดักเข้าไว้ตอน functions.php แต่เนื่องจากไม่ต้องการ maintain custom code เลยเลือกใช้ปลั๊กอินแทนดีกว่า

ปลั๊กอินที่พบคือ RSS Filterใช้ง่าย ตรงกับความต้องการ กรอกแค่เบอร์ ID ของ category/tag/user ที่ไม่อยากให้แสดงบน feed ก็เสร็จแล้ว

แต่ถ้าอยากปรับแต่งส่วนอื่นๆ ของเว็บไซต์ (เช่น หน้าเว็บ) นอกเหนือจาก feed ด้วย ก็สามารถใช้ Simply Excludeที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นอีก

Keyword: 

Rin ผลงานใหม่ของ Harold Sakuishi ผู้เขียน Beck

0
0

Beck ของ Harold Sakuishi ถือเป็นการ์ตูนแนว coming of age ที่ผมชอบมากเรื่องหนึ่ง และถือว่าเป็นการ์ตูนที่อ่านซ้ำได้เรื่อยๆ เพราะถึงแม้รู้เรื่องทั้งหมดแล้ว แต่เมื่อหยิบมาอ่านแล้วรู้สึกมีไฟ มีพลังในการมุ่งหน้าเดินตามความฝันต่อไป

ถ้ามีโอกาสแนะนำการ์ตูนให้วัยรุ่นประมาณ ม.ปลาย - มหาวิทยาลัยอ่าน หนึ่งในลิสต์ย่อมต้องมี Beck อย่างแน่นอน

หลังจาก Beck อวสาน ก็ไม่ได้ติดตามอะไรอีก จนเมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งมารู้ว่า Harold Sakuishi มีผลงานเรื่องใหม่ตั้งแต่ปี 2012 ชื่อว่า Rin (คือมารู้ว่ามี ตอนที่ Rin อวกาสแล้วด้วย ตกข่าวไปหลายปี) เลยลองไปหามาอ่านดู

Rin เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "นักเขียนการ์ตูน"โดยตัวเอก Fushimi เป็นเด็กนักเรียน ม.ปลาย ในนาโงย่า เขาเป็นเด็กที่ไร้ตัวตนในห้อง ไม่มีอะไรโดดเด่น ยกเว้นเขามีความฝันว่าจะโตขึ้นเป็น "นักเขียนการ์ตูน"มืออาชีพให้จงได้

พล็อตหลักของเรื่องในแง่ความเป็นนักเขียนการ์ตูน แทบไม่ต่างอะไรจากเรื่อง Bakuman (เพียงแต่มาจากคนละค่ายกัน) เราได้เห็นกระบวนการเบื้องหลังของอาชีพ "นักเขียนการ์ตูน"ตั้งแต่นักเขียนหน้าใหม่เขียนเรื่องสั้นส่งเข้าประกวด จากนั้นเข้าไปฝึกเป็นผู้ช่วยของนักเขียนการ์ตูนดัง ได้มีเรื่องของตัวเองลงตีพิมพ์ และเข้าสู่ระบบเรตติ้งผลโหวตจากแฟนๆ นิตยสาร ฯลฯ

ในแง่การเดินเรื่อง แพทเทิร์นก็คล้ายกับ Beck มาก แค่เปลี่ยนจากดนตรีเป็นการ์ตูนเท่านั้นเอง ตัวเอกก็มีหน้าตาและคาแรกเตอร์แทบไม่ต่างกับ Koyuki พระเอกของ Beck สักเท่าไรนัก

เพียงแต่จุดต่างของ Rin อยู่ที่ว่า มันมีเรื่อง "ผี"เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย o_O

ชีวิตวัยรุ่นเรียบง่ายของ Fushimi ต้องถึงจุดพลิกผัน เมื่อเขาได้พบกับ Rin เด็กสาวรุ่นเดียวกันที่หน้าตาสวยระดับเป็นไอดอลได้ แต่จริงๆ แล้วเธอมีความสามารถ "พิเศษ"ที่สามารถรับฟังเสียงวิญญาณได้

Rin จึงมีความแปลกใหม่ชนิดไม่น่าจะมีใครเหมือน เพราะเอาเรื่องชีวิตนักเขียนการ์ตูน กับลึกลับทริลเลอร์มาผูกไว้ด้วยกันแบบงงๆ นั่นเอง

บทวิจารณ์ [spoil]

ช่วง 1/3 แรกของเรื่องนั้นสนุกมาก เพราะผู้อ่านจะค่อยๆ เรียนรู้โลกวัยรุ่นของ Fushimi ที่อยากเป็นนักเขียนการ์ตูน และใช้การ์ตูนสร้างการยอมรับจากเพื่อนในโรงเรียนได้ สลับกับปริศนาลึกลับที่อยู่รอบตัวของ Rin และความฝันของ Fushimi ที่สอดแทรกเข้ามาเป็นระยะ

แต่ช่วงกลางเรื่อง Rin กลับหลุดไปเป็นแนวจิตวิญญาณแทบทั้งหมด เมื่อตัวละครหลักบุกไปยังเกาะลึกลับในจังหวัดของ Rin แล้วต้องไปเคลียร์ปัญหาเรื่องพิธีกรรมโบราณของคนท้องถิ่นมากมาย จนรู้สึกว่าออกทะเลมากเกินไปหน่อย (ซึ่งก็ออกทะเลจริงๆ เพราะอยู่บนเกาะ)

อย่างไรก็ตาม ช่วง 1/3 ส่วนสุดท้าย เรื่องก็กลับมาสนุก เพราะกลับไปเป็นเรื่องการเขียนการ์ตูนเหมือนเดิม โดยพระเอกสามารถเข้ามาเป็นนักเขียนอาชีพได้ และคลี่คลายปริศนาในส่วนที่เหลือได้จนจบ

จุดที่น่าสนใจคือ Rin สร้างตัวละครสมมติเป็น "ปูชนียบุคคล"ของวงการการ์ตูนญี่ปุ่นชื่อว่า Sawamura ซึ่งเป็นตัวละครสมมติ แต่คนอ่านส่วนใหญ่ก็น่าจะรู้ว่าถอดแบบมาจาก Tetsuka Osamu มาแบบเต็มๆ (ที่ตลกคืออาจารย์ Sawamura มีการ์ตูนเกี่ยวกับเชฟนอกกฎหมาย ที่ทำอาหารอร่อยแต่ราคาแพงระยับให้คนกิน ซึ่งล้อเลียนจาก Black Jack มา) จากนั้นก็ผูกเรื่องเข้าไปว่า Sawamura ทิ้งปริศนาเอาไว้ก่อนตาย และรอพระเอกกับคู่แข่งอีกคนคือ Taki เข้ามาสานต่อตำนานอันนั้น

จุดด้อยของ Rin คงเป็นเรื่องพล็อตที่ซับซ้อน และพยายามผูกเอาเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดเข้ามากับการเขียนการ์ตูน เนื้อเรื่องบางจุดเลยดูฝืนๆ และเมื่อบวกกับการใส่พล็อตรองเข้าไปหลายอัน (เช่น รักสามเส้าของพระเอก การแข่งขันกับคู่แข่ง พี่สาวของพระเอกที่มีปัญหาชีวิต) มันเลยดูมึนๆ ไม่ค่อยลงตัวนัก

ในส่วนของพล็อตฝั่งของการเขียนการ์ตูน Rin ก็ไม่ได้ลงรายละเอียดเท่ากับ Bakuman (เพราะต้องแบ่งการเดินเรื่องบางส่วนไปแก้ปริศนาเรื่องจิตวิญญาณด้วย) ซึ่งคนที่อ่าน Bakuman มาแล้วก็คงไม่มีปัญหาเพราะรายละเอียดของวงการนี้มันก็ซ้ำๆ กัน แต่จุดที่ผมชอบคือการ์ตูนสมมติใน Bakuman มีโชว์เฉพาะหน้าปก คาแรกเตอร์ และเนื้อหาบางส่วนเท่านั้น แต่ใน Rin นั้นหยิบเอาการ์ตูนสมมติในเรื่องมาลงให้ดูเยอะกว่ากันมาก (ดูแล้วอิ่มเอิบหายคาใจว่ามันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร) แถมการ์ตูนที่ Fushimi เขียนก็น่าสนใจทุกเรื่องเลย (โดยเฉพาะ Re:member ที่เป็นเรื่องหลัก) เราก็ได้แต่หวังว่า อาจารย์ Harold จะหยิบสักเรื่องมาเขียนต่อแบบจริงจัง

โดยสรุปแล้ว ต้องบอกว่า Rin มีความเป็นผู้ใหญ่กว่า ซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากกว่า Beck แต่ก็ขาดความร้อนแรงแบบวัยรุ่นใน Beck ไป เมื่อบวกกับพล็อตบางจุดที่ดูฝืนๆ ไปหน่อย เลยคิดว่ายังให้ Rin เป็นรอง Beck ในภาพรวมทั้งหมด (แต่ก็ยังสนุกอยู่ดี ใครที่อ่านและเป็นแฟน Beck ก็แนะนำว่าควรอ่าน Rin)

Keyword: 

รีวิวหนังสือ "ยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทย"

0
0

เข้าโหมดเขียนบล็อกเดือนละ 1 ตอน หนังสือเล่มนี้อ่านจบมาได้สักพักแล้ว ไม่รู้จะไปเขียนลงที่ไหนดี เอาที่นี่ล่ะกัน

ยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทย: หลังบายน พุทธเถรวาท การเข้ามาของคนไทเป็นหนังสือรวมบทความเชิงวิชาการจากนักวิชาการประวัติศาสตร์หลายคน โดยมี อ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นบรรณาธิการ

หนังสือเล่มนี้จับเอาช่วงเวลาประมาณ 150 ปี พ.ศ. 1760-1900 ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างปลายยุคขอม (นครวัด-นครธม) ก่อนเข้าสู่อาณาจักรของคนไทในพื้นที่ของประเทศไทยปัจจุบัน (พวกสุโขทัย/ล้านนา, ส่วนกรุงศรีอยุธยา ตั้งปี พ.ศ. 1893) ว่าเกิดอะไรขึ้นในช่วงนั้นกันแน่

ประวัติศาสตร์ช่วงนี้ถูกเรียกว่าเป็น "ยุคมืด" (Dark Age) เพราะเรารู้เพียงเลาๆ ว่าอาณาจักรขอมล่มสลายลงไปด้วยเหตุผลบางอย่าง (หรือหลายอย่าง) จากนั้นอาณาจักรของคนไทที่นับถือพุทธเถรวาทก็ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นมา แต่แทบหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นหลักฐานโดยตรง (พวกจารึกหรือสิ่งปลูกสร้างอะไรต่างๆ) ไม่ได้เลย ทุกอย่างมืดบอดไปหมด

การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในช่วงนั้น จึงต้องอาศัยหลักฐานทางอ้อม เช่น บันทึกของทูตจีนสมัยปลายราชวงศ์ซ้องที่โล้สำเภามา หรือจารึกในศรีลังกาที่พูดถึงอาณาจักรในละแวกนี้ รวมถึงการตีความ "ความคล้าย"ของซากสิ่งปลูกสร้างบางอย่างที่ยังเหลืออยู่น้อยนิด ว่ามันผิดแผกไปจากยุคก่อนหน้าอย่างไรบ้าง

มีนักวิชาการหลายคนพยายามสร้างทฤษฎีมาอธิบายเหตุการณ์ช่วง dark age นี้ ซึ่งก็มีตั้งแต่โอเวอร์ไปเลยอย่าง ไมเคิล ไรท์ "ฝรั่งมองไทย"ที่เสนอว่าช่วงปลายของขอม เกิด "มหาสงครามศาสนา"ระหว่างฮินดูกับพุทธ โดยชาวไทพุทธที่เป็นรัฐเกิดใหม่ พยายามล้มล้างชาวขอมฮินดูที่เป็นเจ้าอาณาจักรเดิมลง และเมื่อได้ชัยชนะแล้ว ชาวไทพุทธอยากลืมประวัติศาสตร์อันโหดร้ายช่วงนี้ไป จึงพยายามทำลายหลักฐานต่างๆ ไม่ให้เหมือนเคยมีอะไรเกิดขึ้น (ยังกะวันพีซ) ให้กรุงศรีอยุธยาดูเหมือนว่ากำเนิดขึ้นมาจากความว่างเปล่า

แน่นอนว่าข้อเสนอแบบนี้อาจเป็นการตีความที่ดู dramatic เกินไปสักหน่อย ซึ่งในเล่มก็มีบทความของนักวิชาการท่านอื่นๆ มาหักล้างทฤษฎีนี้ในบางประเด็น อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดของหลักฐานชั้นต้นที่แทบไม่หลงเหลืออยู่แล้ว ทุกคนจึงได้แต่เดาว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่

หลักฐานที่สมบูรณ์ที่สุดน่าจะเป็นบันทึกของทูตจีนที่เคยเดินทางมายังดินแดนแถบนี้ อย่างไรก็ตาม ชื่อเมืองต่างๆ ที่อยู่ในบันทึกถูกแปลงเป็นชื่อภาษาจีน (เช่น หลอหู = ละโว้) และบางเมืองถูกแปลงจนไม่รู้ว่าคือเมืองอะไรกันแน่

ในจารึกของขอมที่ปราสาทพระขรรค์ ในเมืองพระนคร (อังกอร์) ก็มีฉันท์บทหนึ่งที่พูดถึงชื่อเมืองขึ้น 23 เมือง (ในภาษาขอม เช่น สุวรรณปุระ = สุพรรณบุรี, ชยราชปุรี = ราชบุรี) แต่บางเมืองก็ไม่รู้อีกเช่นกันว่าคือเมืองอะไร

ที่สนุกคือสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้สร้างเมืองนครธม เมืองหลวงแห่งสุดท้ายของขอม (สร้างหลังนครวัด) ได้สร้างรูปปั้น "พระโพธิสัตว์"ขึ้นมาเพื่อกระจายไปยังหัวเมืองเหล่านี้ และบางองค์ยังหลงเหลือมาอยู่จนถึงปัจจุบัน จึงมีความพยายามจะ map ชื่อเมืองเหล่านี้กับเมืองในยุคปัจจุบัน โดยใช้เทคนิคหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายดาวเทียมเข้าช่วย

Thailand Ancient Civilization

กล่าวโดยสรุปแล้ว หนังสือเล่มนี้สนุกมาก ถึงแม้จะไม่ได้คำตอบอยู่ดีว่ายุคมืดของประวัติศาสตร์ไทยช่วงนั้นเกิดอะไรขึ้น (เพราะคงไม่มีใครรู้) แต่ก็ช่วยให้เราได้เห็นคำถาม ประเด็น และโจทย์ที่นักประวัติศาสตร์ตั้งเอาไว้ รวมถึงความพยายามที่จะอธิบายประวัติศาสตร์จากการตีความของแต่ละคนด้วย

ข้อเสียของหนังสือเล่มนี้คือเป็นบทความกึ่งวิชาการ วิธีการเล่าเรื่องก็อาจจะแห้งๆ ไปหน่อย และน่าเบื่อสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคย อีกทั้งควรมีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ขอมมาบ้างพอสังเขป จึงจะอ่านสนุกขึ้น

ราคาเล่มละ 280 บาท, สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม/มติชน, ISBN 9789740214946

Keyword: 

The Man Who Knew Infinity

0
0

เห็นหนังสือเรื่อง "รามานุจัน"นักคณิตศาสตร์อัจริยะชาวอินเดีย หรือ The Man Who Knew Infinity มานานพอสมควรแล้วแต่ไม่มีโอกาสอ่าน พอทราบว่าเอาเรื่องของเขามาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ด้วย ก็คิดว่าถ้ามีโอกาสก็อยากดู เพราะประทับใจกับหนังชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์หลายเรื่องในช่วงหลัง ทั้ง The Theory of Everythingและ The Imitation Game

อย่างไรก็ตาม พอมีโอกาสได้ดู The Man Who Knew Infinity กลับไม่ค่อยประทับใจเท่าที่ควร รู้สึกว่าหนังยังไม่สามารถเล่าเรื่องของรามานุจันได้ดีพอ (ถึงแม้นักแสดงจะเล่นได้ค่อนข้างดี แต่บทภาพยนตร์ไม่ค่อยดี)

สิ่งที่หนังพลาดไปมากคือไม่ได้สร้างให้คนดูตระหนักถึง "อัจฉริยะ"ของรามานุจัน ที่คิดค้นทฤษฎีคณิตศาสตร์ต่างๆ ขึ้นมาได้เองแทบทั้งหมด โดยไม่ผ่านการศึกษาในระบบปกติเลย (เขาเป็นเด็กยากจนในอินเดีย ซึ่งกระดาษหายากและมีราคาแพง ส่งผลให้เขาต้อง "คิดในใจ"แทบทั้งหมด เพราะทดไม่ได้)

หนังโผล่มาตอนรามานุจันโตแล้ว และอยากพิสูจน์ตัวเอง ซึ่งในหนังก็ดูเหมือนไม่มีอุปสรรคอะไรนัก เขียนจดหมายฉบับเดียวก็ได้ไปเรียนที่เคมบริดจ์เลย ซึ่งในความเป็นจริงนั้น รามานุจันพยายามอยู่นานมากกว่าจะมีคนสนใจ

หนังไปให้ความสำคัญกับเรื่องการปรับตัวของรามานุจัน (ซึ่งเป็นประเด็นที่ดี แต่รู้สึกยังดีไม่พอ) และความรักของรามานุจัน (ซึ่งไม่รู้ใส่เข้ามาทำไมเยอะขนาดนั้น รู้สึแปลกแยกมาก)

ในขณะที่ประเด็นเรื่องตัวสมการคณิตศาสตร์ที่เป็นประเด็นหลักของเรื่อง ก็แทบไม่ได้อธิบายให้คนดูรู้เรื่องเลยว่าเป็นสมการเกี่ยวกับอะไร มันพิเศษอย่างไร เราก็เห็นแต่รามานุจันนั่งเขียนโน่นนี่นั่น ที่ดูเป็นสมการยากๆ อยู่ชุดนึงเท่านั้น ในหนังมีฉากเดียวที่ให้รามานุจันโชว์คิดตัวเลขเฉพาะ (prime) ในใจ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการคิดเลขในใจโชว์เหนืออยู่ชุดนึง แต่ก็ไม่ได้อธิบายเลยว่าการคิดตัวเลข prime นั้นยากขนาดไหน และทักษะของรามานุจันนั้นพิเศษเพียงใด

สรุปเป็นหนังชีวประวัติที่น่าเสียดายมาก กับเรื่องต้นฉบับที่ทรงพลังขนาดนี้ แต่ไม่สามารถเล่าเรื่องให้น่าสนใจได้อย่างที่ควรจะเป็น

Spectre

0
0

หลังจาก James Bond 007 รีบูตครั้งใหญ่ในปี 2006 กับ "Casino Royale"มหากาพย์ก็ดำเนินมาเกือบ 10 ปี แบบไม่ยอมจบสักที (จนเปลี่ยนตัวไปแล้วทั้ง Q และ M) สุดท้ายเรื่องราวก็ดูเหมือนจะขมวดปมในภาคสี่ "Spectre"

ถ้าลองย้อนความไปดู 007 ในยุค Daniel Craig ทั้งสามภาค

  • Casino Royale (2006) เปิดตัวแบบน่าประทับใจกับ Bond ในช่วงเริ่มต้นอาชีพสายลับ มีประสบการณ์ร่วมกับคนรัก Vesper Lynd และเรียนรู้ว่าต้องเผชิญกับ "องค์กรลับ"ที่ไม่รู้จักชื่อ
  • Quantum of Solace (2008) น่าจะถือเป็นภาค spin-off เล็กๆ เพราะ Bond ไปแก้ปัญหาวิกฤตน้ำในโบลิเวีย โครงเรื่องหลักแทบไม่มีอะไรคืบหน้า ยกเว้นรู้ชื่อองค์กรแล้วว่า Quantum
  • Skyfall (2012) ทิ้งช่วงนานถึง 4 ปี มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้ง M และ Q รวมถึงเผยชีวิตสมัยเด็กของ Bond ในสกอตแลนด์ แต่วายร้ายของเรื่องก็ไม่มีอะไรคืบหน้า เพราะเป็นการล้างแค้นกันภายในองค์กร MI6 เพียงอย่างเดียว

สรุปว่าเวลาผ่านไปนาน หนังผ่านไปสามภาค เรายังไม่รู้เลยว่า Quantum คือใคร มีเป้าหมายยังไงบ้าง พอมาถึง Spectre เรื่องราวก็ขมวดจบได้แบบงงๆ สามารถปิดฉากยุค Daniel Craig ได้อย่างสมบูรณ์ เว้นแต่จะแต่งเรื่องต่อเพื่อให้มีหนังภาคต่อๆ ไป

ดังนั้น การดู Spectre ต้องมองว่ามันเป็น continuity ของ Bond ซีรีส์นี้ ไม่สามารถดูเป็นหนังแบบ standalone โดดๆ ได้ (เพราะจะดูไม่รู้เรื่อง)

Spectre เฉลยเรื่องราวทั้งหมดว่าเกิดจากองค์กรชื่อ Spectre (ซึ่งเป็นองค์กรแม่ของ Quantum) และแรงจูงใจทั้งหมดเกิดจากปมของ "บอส" Ernst Stavro Blofeld ที่เป็นพี่บุญธรรมของ Bond และ "อิจฉา"ที่พ่อของเรารักลูกเลี้ยงอย่าง Bond มากกว่านั่นเอง เป็นผลให้ Blofeld สร้างอีเวนต์ทั้งหมดใน 3 ภาคก่อนหน้าขึ้นมาเพื่อล้างแค้น

ตัวพล็อตหลักมันดูฝืนๆ (แต่ก็พอรับได้) แต่จะดีกว่านี้ถ้าหนัง 3 ภาคแรกมีปูเนื้อเรื่องส่วนนี้เข้ามาบ้าง (ซึ่งไม่มีเลยอย่างสิ้นเชิง มีแตะนิดเดียวใน Skyfall ตอนท้ายๆ) ในภาพรวมเลยดูยัดเยียดไปสักหน่อย

จุดที่หนังทำได้ดีคงเป็นฉาก การกำกับศิลป์ และการตัดต่อที่โดดเด่นมาก ฉากเปิดตัวในเทศกาล Day of the Dead ที่เม็กซิโกนั้นทำดีมาก (ผมชอบสไตล์ของเทศกาลนี้เป็นการส่วนตัว แต่ฉากแอ๊คชั่นที่ใช้เสียงประกอบเป็นเสียงเทศกาล ถือว่าแปลกใหม่ดี) ฉากขับรถไล่ล่าในกรุงโรมตอนกลางคืนก็ทำได้สวยงาม และฉากสุดท้ายที่ระเบิดตึก Whitehall สำนักงานใหญ่ของ MI6 (ที่โดนระเบิดมารอบนึงในภาค Skyfall) ก็เป็น "สัญลักษณ์"ที่น่าสนใจในแง่การปิดฉาก Bond ชุดนี้

นางเอก Madeleine Swann ก็น่ารักและดูมีคาแรกเตอร์ดี (แต่เธอมีเวลาในหนังน้อยไปหน่อย)

โดยสรุปคือ Spectre ดีในระดับหนึ่งแต่ยังไม่เทียบเท่ากับ Casino Royale และ Skyfall ที่ถือเป็นจุดสูงสุดของ Bond ยุคนี้ (ส่วน Quantum of Solace ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ต้องมี ควรตัดออกไปได้เลย ทำเป็นหนังไตรภาคพอ)

Finding Dory

0
0

แอนิเมชันเรื่องใหม่ล่าสุดของ Pixar ภาคต่อของ Finding Nemo ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยทิ้งระยะเวลาห่างกันถึง 13 ปี (Nemo ออกปี 2003, Dory ปี 2016 แปลว่าเด็กที่โตมากับ Nemo ตอนนี้เป็นวัยรุ่น-วัยทำงานกันหมดแล้ว)

เรื่องราวคล้ายกับภาคแรก แต่เปลี่ยนจากตัวเอกปลาส้ม Nemo มาเป็นปลาสีฟ้า Dory ที่เป็นโรคความจำสั้น และต้องหาทางตามหาพ่อแม่ที่พลัดหลงกันมานาน

Finding Dory ดูแล้วสนุก ลื่นไหลตามสไตล์ Pixar (โดยเฉพาะตัวปลาหมึก Hank นี่ขโมยซีนมาก ถ้าไม่มีตัวนี้ หนังจะจืดลงไปมาก) แถมมีข้อคิดเชิงสังคมเพิ่มมาอีกหน่อยในประเด็นว่า สังคมมนุษย์จะมีวิธีจัดการหรือรับมือกับ "เด็กพิเศษ"แบบ Dory นี้อย่างไร เพราะชีวิตจริงคงไม่โชคดีหรือมีคนหวังดีคอยช่วยเหลือตลอดทางเหมือนกับที่ Dory ได้รับ

ข้อเสียของ Finding Dory คือพล็อตมันซ้ำกับ Finding Nemo อยู่พอสมควร ดูแล้วเลยเบื่อๆ อยู่บ้างเพราะรู้สึกไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก (แต่ก็มีส่วนดีคือให้เด็กรุ่นใหม่ที่ไม่เคยดู Nemo สามารถดู Dory ได้สนุก โดยไม่ต้องมีพื้นมาก่อน) ในระยะยาวก็น่าสนใจเหมือนกันว่า Pixar จะแก้ปัญหาเรื่อง "พล็อตซ้ำ"ได้อย่างไร

Keyword: 

Independence Day: Resurgence

0
0

หนังชื่อยาวเหยียด Independence Day: Resurgence ซึ่งคงไม่มีใครเรียกชื่อนี้ในชีวิตจริง (ทุกคนคงเรียก "ID4 สอง") กับเวลาที่ผ่านไป 20 ปีให้หลังจากภาคแรก

ID4 ภาคแรกสร้างปรากฏการณ์มากมาย ถึงแม้พล็อตเรื่องของมันไม่มีอะไรซับซ้อน (ยานเอเลี่ยนบุกยึดโลก) แต่ความสนุกของ ID4 อยู่ที่ความโดดเด่นของตัวละครเอกทั้ง 3 คน บวกกับการดำเนินเรื่องที่สนุกและลงตัว (รวมถึง CG ที่ถือว่าก้าวหน้ามากในสมัยนั้น) ส่งผลให้ ID4 กลายเป็นหนังฮิตแห่งยุคสมัยได้ไม่ยาก

20 ปีผ่านไป (ทั้งในโลกจริงและในหนัง) ID4 ภาคสองเปลี่ยนจากหนังฮิตแห่งยุค กลายเป็นหนังภาคต่อเกรดบี อย่างที่หลายคนน่าจะคาดกันได้

พล็อตเรื่องของ ID4: Resurgence ก็ยังไม่มีอะไรมากเช่นเดิม (และแปลว่ามันจะเริ่มซ้ำ) นั่นคือเอเลี่ยนกลับมาอีกครั้ง เพียงแต่ execution ของการเล่าเรื่องกลับทำได้แย่ (ทั้งที่เป็นผู้กำกับคนเดิม) ตัวละครในเรื่องมีทั้งตัวละครเก่า (ยกเว้น Will Smith) และตัวละครใหม่ที่เป็นรุ่นลูกของตัวละครชุดเดิม ผลคือตัวละครเยอะตีกันมั่วไปหมด ไม่รู้ว่าใครโดดเด่น ใครเป็นตัวหลักกันแน่ (แถมเวลาผ่านไป 20 ปี เราไม่มีความผูกพันกับตัวละครเด็กในหนังภาคเดิมเลย)

ในแง่การดำเนินเรื่องก็เป็นโจทย์ที่ท้าทาย เพราะมุขเอเลี่ยนบุกยึดโลก ถล่มเมืองใหญ่ ทุกคนต้องหนีตายเข้าบังเกอร์ กลายเป็นของที่ถูกผลิตซ้ำอย่างไม่รู้จบ ดังนั้น ID4 ภาคสองจึงจำเป็นต้องหาวิธีบิดให้การนำเสนอดูแปลกใหม่ (ซึ่งหนังอย่าง District 9 ทำได้ดีมากในเรื่องนี้) แต่ผลคือการดำเนินเรื่องแทบไม่มีอะไรต่างจากของเดิม แถมวิธีการเล่าเรื่องก็ขาดๆ เกินๆ ไม่ค่อยลงตัว หนังจึงไม่สนุกอย่างที่ศักยภาพของหนังควรจะทำได้

อีกประเด็นคือความจริงจังในหนังอาจจะดูเฟคๆ ไปหน่อย (ค่อนข้างต่างกับภาคแรก) เรื่องนี้อธิบายค่อนข้างยาก แต่คิดว่าหนังมีโทนการนำเสนอที่ดูการ์ตูนๆ (คล้ายกับ Transformer) ทั้งในแง่พล็อตเรื่อง ความมีเหตุมีผล และภาพ visual เลยรู้สึกว่าไม่อินกับวิกฤตแห่งมนุษยชาติในหนังมากนัก ในขณะที่หนังภาคแรก เราลุ้นและอินไปกับมันได้ดีกว่ามาก (แม้จะรู้ว่ามันไม่ได้สมจริงก็ตาม)

Keyword: 

The Martian

0
0

The Martian ถือเป็นหนังไซไฟแบบสมจริง (hard scifi) ที่ดีที่สุดที่ดูมาในรอบหลายปี เผอิญไม่ได้อ่านเวอร์ชันนิยาย แต่เข้าใจว่าตัวโครงเรื่องหลักมีความน่าสนใจอยู่แล้ว พอนำมาแปลงเป็นหนังแล้วคนทำมือถึงจริง ก็เลยยิ่งดีเข้าไปใหญ่

ความดีงามของ The Martian มีทั้งความสมจริงของเรื่อง (คือเราดูแล้วเชื่อว่ามันเป็นเช่นนั้นจริง ไม่ได้โอเวอร์เกินจนไม่น่าจะเป็นไปได้) ผนวกกับความตื่นเต้นน่าติดตามแบบเรื่องเล่า (คือไม่ได้จืดชืดเป็นสารคดี) บวกด้วยการแสดงของนักแสดงที่มีฝีมือ ทำให้หนังสนุกและน่าติดตามมาก โดยเฉพาะจากคนดูพวก space geek แบบข้าพเจ้า

จุดอ่อนของหนังเท่าที่นึกออก คงเป็นกลุ่มตัวละครบนยาน Ares III ที่ไม่มีเวลาแนะนำตัวกันมากนัก (คือผมยังแยกแยะไม่ค่อยได้ว่าลูกเรือชาย 3 คนนี่มีใครบ้าง คนไหนมีบทบาทอะไรบนยาน) กับช่วงตอนต้นเรื่องที่หนังไม่มีเวลาให้กับภารกิจของทีม Ares บนดาวอังคารมากนัก (มันเร็วไปหน่อยจนตามไม่ค่อยทัน) คือโผล่มาแป๊บๆ ยังไม่ทันตั้งตัว พระเอกก็ถูกทิ้งไว้บนดาวอังคารซะแล้ว

ประเด็นเล็กๆ อีกข้อคือ หนังไม่ได้แนะนำให้คนดูรู้จัก Jet Propulsion Laboratory (JPL) เท่าไรนัก เลยอาจจะไม่เก็ตกันสักเท่าไรว่าทำไมต้องคุย video conference ไปยังคนที่ JPL (แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญนัก)

สำหรับคนที่สงสัย ฉากภูเขาและทะเลทรายบนดาวอังคาร ถ่ายที่ ทะเลทราย Wadi Rum ประเทศจอร์แดนซึ่งก็ใช้ถ่ายทำหนังที่เกี่ยวกับดาวอังคารเรื่องอื่นๆ ด้วย

Keyword: 

ประสบการณ์ใช้งาน Surface แทนโน้ตบุ๊ก

0
0

หลังจากเปลี่ยนมาใช้ Surface 3ก็เจอคนมาถามเรื่อยๆ ว่าดีมั้ย อะไรยังไง อยากเปลี่ยนบ้างแต่ยังไม่กล้า ฯลฯ ไหนเลยก็ขอเขียนบล็อกอธิบายประสบการณ์การใช้ Surface มานานครึ่งปีครับ

อย่างแรกสุดต้องย้ำก่อนว่า ผมใช้ Surface 3 ตัวไม่ Pro (ราคาถูก) แต่คนส่วนใหญ่มักรู้จัก Surface ตัว Pro กันซะมากกว่า (โดยไม่รู้ว่ามันมีตัวไม่ Pro ด้วย) ในแง่ form factor ก็คงคล้ายๆ กัน เพียงแต่แตกต่างกันในรายละเอียดเรื่องขนาด น้ำหนัก ประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือราคา

สำหรับ รีวิว Surface 3นี่ Blognone เคยเขียนไปแล้ว ข้อมูลว่ามีฟีเจอร์อะไรบ้าง สเปกเป็นอย่างไร ย้อนไปอ่านกันเองได้ บล็อกอันนี้จะพูดถึงประสบการณ์ในการใช้งานเป็นหลักเท่านั้น

Surface เป็นอุปกรณ์ลูกผสม Hybrid ที่ไม่เคยมีมาก่อน

คนส่วนใหญ่มักมองว่า Surface เป็น "แท็บเล็ตที่ต่อคีย์บอร์ด ใช้เป็นโน้ตบุ๊กได้"ซึ่งมันก็ถูกแต่ไม่ใช่ทั้งหมด 100% ผมอยากนิยามว่ามันคืออุปกรณ์แขนงใหม่ไปเลยมากกว่า คือเป็นอุปกรณ์ประเภทที่ไม่เคยมีตัวตนอยู่ ไม่เคยถูกจัดหมวดหมู่มาก่อน ทุกวันนี้มันมีคำเรียกว่าเป็น "detachable"ซึ่งก็ต่างกับโน้ตบุ๊กพับจอได้หรือ "convertible"อยู่บ้าง

มันเป็นอุปกรณ์ลูกผสมที่ทำงานได้หลายแบบตามแต่ละโหมด แต่ทำงานได้ไม่ดี 100% สักอย่างนั่นคือใช้เป็นแท็บเล็ตอย่างเดียวก็สู้ iPad ไม่ได้, ใช้เป็นโน้ตบุ๊กอย่างเดียวก็สู้โน้ตบุ๊กสายบางเบาไม่ได้ ดังนั้นมันไม่เหมาะกับทุกคน แต่สำหรับบางคนแล้ว มันก็เป็นอุปกรณ์ที่เวิร์คมาก ถ้าเงื่อนไขของเราเข้าข่ายตามคุณสมบัติของมัน

ผมคิดว่างานหลักที่ Surface ทำได้ดีคือ "อ่าน"โดยมีงานด้านการ "ป้อนข้อมูล"เป็นส่วนน้อย สัดส่วนคงแล้วแต่คน แต่สำหรับผมแล้วน่าจะใช้อ่านหรือเสพย์ ("consume") ประมาณ 60-70% และเขียนหรือสร้างสรรค์ผลงาน (พูดให้เท่ๆ คือ "create") ประมาณ 30-40%

อันนี้ต้องย้ำว่าพฤติกรรมการใช้งานของแต่ละคนแตกต่างกันไป ผมเห็นในต่างประเทศมีคนเอา Surface มาเป็นอุปกรณ์จดโน้ตหรือวาดรูปก็เยอะ เพียงแต่พฤติกรรมของตัวเองเป็นอ่านเยอะ-พิมพ์เยอะ ก็เลยใช้ Surface ในแนวทางนี้เป็นหลัก

การใช้งาน Surface ในฐานะแท็บเล็ต

โลกปี 2016 คุ้นเคยกับแท็บเล็ตกันมามากแล้ว Surface ในฐานะแท็บเล็ต ยังสู้ iPad หรือ Android ไม่ได้แน่นอนในแง่ของจำนวนแอพ ปัจจุบันแพลตฟอร์ม UWP ของไมโครซอฟท์ยังไม่มีแอพสำคัญบางตัวอย่าง Pocket หรือ Feedly ที่เป็น 1st party เลยด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม การที่ Surface เป็น Windows ตัวเต็ม ทำให้เราสามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ไม่ยาก เพราะเข้าผ่านเว็บเบราว์เซอร์ได้ทันที (Killer App ของ Surface คือ Chrome ตัวเต็ม!) หรือสามารถอ่าน PDF ด้วย Adobe Reader ตัวเต็มได้

ในขณะเดียวกัน Windows 10 Anniversary Update ก็ปรับปรุงให้รองรับนิ้วสัมผัสดีขึ้นมากแล้ว มี Tablet Mode ที่ไม่มีอะไรน่าอึดอัดมากนักพวกแบบ UI เล็กจนเอานิ้วจิ้มไม่โดนหรือจิ้มพลาด (ยังพอมีจุดให้ติบ้าง แต่ก็เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หรือแอพบางตัว)

ปัญหาสำคัญของ Surface ที่สู้แท็บเล็ตไม่ได้อย่างชัดเจน คือ Surface ใช้ซีพียู x86 ที่ยังประหยัดไฟไม่เท่า ARM ดังนั้นเราจะเจอสภาพการณ์ dilemma ว่าจะเปิดเครื่องทิ้งไว้ ปิดแค่จอก็เปลืองแบต แต่ถ้าจะให้มัน sleep ก็ต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะปลุกให้มันตื่นขึ้นมา (ไม่เหมือนกับแท็บเล็ตที่กดปุ๊บติดปั๊บ) ตรงนี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่มาก แต่ต้องเจอบ่อยๆ ทุกวัน มันก็น่ารำคาญใจเหมือนกัน

ถ้าไม่เล่นเกมหรือติดใช้แอพเฉพาะทางบางตัว Surface สามารถทดแทน iPad ได้แทบจะ 100% หลังจากซื้อ Surface มาแล้ว ผมแทบไม่ได้แตะ iPad อีกเลย วางไว้ให้ฝุ่นจับแทน

การใช้งาน Surface ในฐานะโน้ตบุ๊ก

หลายคนมักเทียบ Surface ตอนกางคีย์บอร์ดออกมาเป็นโน้ตบุ๊กกับการใช้ iPad/Android ต่อคีย์บอร์ด อันนี้ต้องบอกว่าเทียบกันไม่ได้เลย เพราะ Surface มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อป ต่างไปจากคู่แข่งที่นำระบบปฏิบัติการจอสัมผัสมาสู้ ความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการทำงาน "แบบดั้งเดิม" (traditional desktop work) จึงดีกว่ากันมหาศาล เราสามารถทำงานทุกอย่างบนพีซีได้บน Surface ได้อย่างไม่มีข้อติดขัดอะไรในแง่ UI/UX

อย่างไรก็ตาม ถ้าเอา Surface ไปเทียบกับโน้ตบุ๊ก calmshell แบบดั้งเดิม นี่เทียบกันไม่ได้แน่ๆ ทั้งในแง่ขาตั้งที่ยังไงก็ไม่มีทางเสถียรเท่า (วางตักลำบากกว่าโน้ตบุ๊กอยู่ดี) และคีย์บอร์ดที่ไม่มีทางสู้คีย์บอร์ดขนาดเต็มได้ เพียงแต่สภาพการณ์ก็อยู่ในระดับ "พอพิมพ์ได้"ถ้าไม่มีตัวเลือกที่ดีกว่านี้

ผมแนะนำว่าการใช้ Surface อย่างจริงจัง เพื่อให้ชีวิตดีขึ้น ควรมี external keyboard ทิ้งไว้ทั้งที่บ้านและออฟฟิศ (ในกรณีที่ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น) รวมถึงจอมอนิเตอร์ที่สองด้วย (จะต่อผ่าน Dock หรือ Hub ก็แล้วแต่ชอบ)

Surface 3

ปากกา Surface Pen

อันนี้เป็นสิ่งที่ผิดคาดเหมือนกัน เพราะผมพบว่าใช้ปากกา Surface Pen น้อยมากกว่าที่คิดมาก (จนชักเสียดายค่าปากกา)

เหตุผลสำคัญน่าจะเป็นเพราะผมใช้มือถือ Galaxy Note ที่มีปากกาอยู่แล้ว และใช้ปากกา S Note จดโน้ตจดงานต่างๆ มากพอสมควร ซึ่งพบว่าการควัก Note มาจากกระเป๋ากางเกง มันสะดวกกว่าการหยิบ Surface ออกมาจากกระเป๋าสะพายมาก (นี่ยังไม่รวมปัญหา Surface ปลุกให้ตื่นช้าไม่ทันใจ) อีกทั้งขนาดก็เล็กและคล่องตัวกว่าในเกือบทุกโอกาส ยืนจดก็ได้ ในขณะที่ Surface เหมาะกับการนั่งจดบนโต๊ะมากกว่า (แน่นอนว่าในบาง use case อย่างจดเลคเชอร์ Surface น่าจะดีกว่า)

อีกประเด็นที่ควรพูดถึงคือแอพจดโน้ต เดิมทีผมใช้ Evernote ซึ่งใช้ดีประมาณหนึ่ง แต่ภายหลังก็มีปัญหาหลายอย่าง พอเปลี่ยนมาใช้ Surface ก็เลยตัดสินใจ "หักดิบ"เปลี่ยนมาใช้ OneNote แทนให้หมด เพื่อให้ข้อมูลซิงก์กันหมดทั้งการจดโน้ตจากมือถือ และการจดโน้ตจาก Surface

ปัญหาหลักที่พบใน OneNote คือ UI ของมันไม่เป็นมิตรนักเมื่อเทียบกับ Evernote (มาใช้ใหม่ๆ นี่งงทุกคน), OneNote เวอร์ชัน UWP ยังห่วย และมันซิงก์ช้ากว่า Evernote อย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม การรองรับปากกานั้น OneNote ทำได้ดีกว่า Evernote มาก และการที่มันฟรีแบบไร้ข้อจำกัด ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ผมคิดว่า Evernote จะแพ้ในระยะยาว

ข้อดี-ข้อเสียของ Surface 3

ที่กล่าวๆ มาข้างต้นเป็นประสบการณ์ใช้งานอุปกรณ์ประเภท Surface ในแง่คอนเซปต์ ดังนั้นถ้าใช้ Surface Pro 4 ก็คงไม่แตกต่างกันมากนัก

แต่ส่วนนี้เป็นการวิจารณ์เฉพาะ Surface 3 เฉพาะรุ่นเท่านั้น คงไม่สามารถใช้ร่วมกับ Surface รุ่นอื่นได้

  • ขนาดของ Surface 3 ถือว่ากำลังดี พกพาสะดวก น้ำหนักรวมคีย์บอร์ดแล้ว 884 กรัม ถือว่าโอเคพกพาสะดวก (แม้จะหนักไปหน่อยถ้าเทียบกับแท็บเล็ตคู่แข่ง แต่ก็พอรับได้ ใช้ๆ ไปก็ชิน)
  • ขนาดหน้าจอถือว่าเหมาะสำหรับแท็บเล็ต แต่เล็กไปสักนิดสำหรับโน้ตบุ๊ก
  • สมรรถนะด้อยไปหน่อย จุดตายสำคัญคือสตอเรจที่เป็น eMMC ค่อนข้างช้าจนหงุดหงิด เห็นรีวิวฝรั่งด่ากันแทบทุกเว็บในเรื่องนี้ ส่วนซีพียู Atom กับแรม 4GB (มีรุ่น 2GB ด้วยแต่อย่าซื้อเลยครับ) ก็พอไหวสำหรับงานทั่วๆ ไป แต่มาตายตรงเปิดเว็บ Gmail กับ Facebook ที่โหลด JavaScript ค่อนข้างหนัก
  • ข้อดีของ Surface 3 คือมันชาร์จด้วย Micro USB ได้ ดังนั้นถ้าเดินทางไปต่างจังหวัด-ต่างประเทศ อาจไม่ต้องเอาสายชาร์จไปก็ได้ เพราะใช้ร่วมกับสายชาร์จมือถือ (non-iPhone) ได้เลย หรือถ้าลืมก็สามารถหาสายชาร์จได้ไม่ยากเพราะมีอยู่เกลื่อนโลก ถือเป็นจุดเด่นมาก แต่ข้อเสียคือมันชาร์จค่อนข้างช้า ถ้าใช้สายชาร์จของมันเองจะดีขึ้นหน่อย แต่ก็ยังช้าอยู่ดีเมื่อเทียบกับโน้ตบุ๊กหรือสมาร์ทโฟนพวกที่มี fast charge
  • พอร์ตมี USB ตัวเต็มมาให้ อันนี้คือความดีงาม เอาเมาส์ ทัมบ์ไดรฟ์ มาเสียบก็ได้หมด universal
  • การต่อจอนอกต้องใช้ Mini DisplayPort ซึ่งไม่มีตัวแปลงแถมมาให้ อันนี้ไฟต์บังคับต้องซื้อเพิ่มเอง ส่วนจะใช้หัวแปลงเป็น HDMI หรือ VGA (สำหรับโปรเจคเตอร์) ก็คงแล้วแต่งาน หรือไม่อย่างนั้นก็ต้องซื้อคู่
  • สตอเรจมีจำกัดประมาณหนึ่ง แต่ถ้าไม่เก็บไฟล์เยอะมากก็คงไม่ใช่ปัญหานัก สามารถขยายพื้นที่ด้วย microSD ได้ (ช่องเสียบอยู่ด้านหลัง ใต้ขาตั้ง)

จุดที่ Surface 3 น่าสนใจมากคือ price point ที่ถือเป็น sweet spot ระหว่าง performance กับ affordability เพียงแต่ด้วยราคานี้ ไมโครซอฟท์ควรแถมคีย์บอร์ดมาด้วยเลย ไม่ใช่ต้องไปซื้อแยก (เว็บฝรั่งแทบทุกเจ้าวิจารณ์เรื่องนี้ แต่ดูไมโครซอฟท์จะไม่สนใจใดๆ)

ดังนั้นทางเลือกของผู้ใช้คือรอจังหวะที่ไมโครซอฟท์หรือร้านค้าเอามา bundle เท่านั้น อย่างเคสนี้ก็คือแถมฟรี ราคา 22,400 บาทได้ Surface + keyboard ซึ่งเป็นราคาที่ผมว่าน่าซื้อ แต่ถ้าต้องจ่ายอีก 4,590 บาท นี่แพงเกินไป

เนื่องจากผมซื้อ Dock มาด้วยก็วิจารณ์ด้วยเลย

  • Dock รุ่นที่ใช้เป็น Dock แบบแท่นวาง รุ่นสุดท้ายของ Surface เพราะหลังจากนั้น ไมโครซอฟท์เปลี่ยนมาใช้ Dock แบบต่อสายแทน
  • ความเลวร้ายที่สุดของ Dock ตัวนี้คือขนาดมันใหญ่มาก แต่ดันไม่มีช่องอ่าน SD (full size) มาให้ ดังนั้นเราซื้อ Dock มาแพงไม่ใช่น้อย ก็ต้องไปซื้อ SD reader มาอีก (สั่ง Aliexpress ไม่แพงแต่รอนานหน่อย) ไหนๆ คิดทำตัวเป็น Dock แล้วก็ควรให้ครบจบโซลูชันเดียว
  • อีกเรื่องที่น่าขัดใจรองลงมา คือมันควรจะมีหัวต่อจอภายนอกขนาดเต็มมาด้วย (เช่น DisplayPort หรือ HDMI) แต่ดันให้เป็น mini DisplayPort มา สุดท้ายก็ต้องหาหัวแปลงอยู่ดี
  • สรุปว่าข้อดีของ Dock คือมีพอร์ต USB เพิ่มขึ้น, มี Gigabit Ethernet (ซึ่งผมไม่ได้ใช้) นอกนั้นที่เหลือไม่มีอะไรมีประโยชน์เท่าไรนัก จะเสียบ SD หรือต่อจอผ่าน HDMI ก็ต้องหาตัวแปลงมาเพิ่มเองอยู่ดี ถ้าไม่ได้ซื้อแบบลดราคาแล้ว ซื้อ USB Hub มาใช้น่าจะคุ้มเงินกว่า

Dock แบบเก่า (ที่ใช้อยู่)

Dock แบบใหม่

ศูนย์บริการ

หลายเรื่องที่ได้ยินคนบ่นกันเยอะ คือบริการหลังการขายของไมโครซอฟท์ประเทศไทยที่ ... เพราะมีประกันก็จริง แต่ซ่อมไม่ได้เพราะไม่มีอะไหล่หรือด้วยเหตุผลอื่น อันนี้ยังไม่เคยเจอกับตัวเองโดยตรง (เพราะ Surface 3 ถือเป็นรุ่นที่ปัญหาน้อย เมื่อเทียบกับ Pro 3/Pro 4/Book ที่ปัญหาจุกจิกเยอะมาก) แต่คิดว่าเป็นคำวิจารณ์ที่มีน้ำหนัก และผู้สนใจซื้อควรรับทราบเรื่องบริการหลังการขายของไมโครซอฟท์เอาไว้ด้วย

ไม่ซื้อ Surface มีตัวเลือกอื่นไหม

ณ เดือนพฤศจิกายน 2016 ผมเริ่มเอนเอียงว่าไมโครซอฟท์จะไม่ทำ Surface 4 รุ่นราคาถูกตัวใหม่แล้ว (Surface 3 ออกเดือน พ.ค. 2015 หรือประมาณปีครึ่ง) ด้วยเหตุผลว่าไมโครซอฟท์ประสบความสำเร็จในการกระตุ้นตลาด OEM ให้แบรนด์อื่นๆ ทำฮาร์ดแวร์แบบเดียวกัน จับตลาดแมสราคาถูก และไมโครซอฟท์คงจะหันไปทำตลาดบน (Surface Pro, Surface Book) เพียงอย่างเดียว

ดังนั้นถ้าสนใจซื้ออุปกรณ์แบบ Surface-like ในราคา price point ระดับใกล้เคียงกัน (ต่ำกว่า Surface Pro 4 ที่ราคาเต็มเริ่มประมาณ 3.5 หมื่น ยังไม่รวมคีย์บอร์ด) คิดว่าตอนนี้มีอุปกรณ์แบบเดียวกันจากผู้ผลิตพีซีรายอื่นเป็นตัวเลือก เช่น

  • Acer Switch Alpha 12
  • Asus Transformer 3 Pro
  • Dell Latitude 7000 2-in-1 (แต่อันนี้แพงหน่อยเพราะจับกลุ่มธุรกิจ)
  • HP ตระกูล x2
  • Lenovo ตระกูล Miix

พวกนี้ก็เลือกกันเองได้ตามสเปก-ราคา-โปรโมชั่นในแต่ละช่วงครับ นี่เดือน พ.ย. แล้ว อีกไม่นานก็เป็นงาน CES หลังปีใหม่ เดี๋ยวก็มีกองทัพสินค้ารุ่นใหม่ตามมาอีก

Acer Switch Alpha 12 หน้าตาเกือบเหมือนเด๊ะ

สรุป ควรซื้อหรือเปล่า Surface

อย่างที่เขียนไปข้างต้นว่ามันเป็นอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสำหรับทุกคน และน่าจะเหมาะกับการเป็น secondary device สำหรับคนที่มีพีซีหรือโน้ตบุ๊กพลังสูงสำหรับทำงานกลุ่ม pro อยู่แล้ว (ถ้าใช้คอมพิวเตอร์หนักๆ ใช้ Surface ตัวเดียวคงอึดอัด) แต่ถ้าจะซื้อมาเล่นเกม เล่น Facebook เข้าเว็บทั่วไป ไม่น่าจะตรงกลุ่มเป้าหมายอีกเหมือนกัน

คำเตือนคือ Surface เป็นอุปกรณ์ที่ต้องลองใช้นานพอสมควร ถึงจะพอเก็ตว่าวิธีการใช้งานของมันควรเป็นเช่นไร ไม่ใช่อุปกรณ์ที่ไปยืนจับแป๊บๆ แล้วสามารถเข้าใจมันได้ทันที ดังนั้นถ้ามีของคนอื่นให้ยืม ก็ควรยืมมาลองใช้ก่อนครับ

Keyword: 

Rogue One: A Star Wars Story

0
0

ภาคเสริมภาคแรกของ Star Wars ถ้าเป็นภาษากันดั้มเรียก sidestory ไม่แน่ใจว่า Star Wars มีคำเรียกหรือไม่ ชื่ออย่างเป็นทางการจึงใช้คำว่า Rogue One: A Star Wars Story

เหตุการณ์ของเรื่องอยู่ระหว่าง Episode III กับ Episode IV โดยเกิดขึ้นก่อน Episode IV ไม่นานนัก โดยใช้ตัวละครหลักเป็นชุดใหม่ทั้งหมด และมีตัวละครรองบางส่วนที่อิงกับโครงเรื่องหลักบ้าง

  • หนังถูกออกแบบมาให้คนที่ไม่ใช่แฟนดั้งเดิม ไม่เคยดู Star Wars มาก่อนก็สามารถเข้าใจเรื่องได้ ซึ่งก็ถือว่าทำได้ดี
  • ในฝั่งของแฟนๆ เองก็ถือว่ามาเติมเต็มจักรวาล Star Wars (ที่ถูกโละทิ้ง Extended Universe ไป) ถือเป็นคำอธิบายอย่างเป็นทางการว่าแปลนของ Death Star ได้มาอย่างไร และอธิบายประเด็นในภาค IV ได้ว่าทำไม Death Star โดนยิงทีเดียวระเบิดทั้งยวง
  • ในภาพรวมหนังออกมาสนุก อารมณ์เหมือนหนังฮอลลีวู้ดปราบภัยพิบัติทั้งหลาย นั่นคือกลุ่มตัวเอกรวบรวมสมาชิกโดยบังเอิญ เพื่อไปกู้วิกฤตอะไรสักอย่าง แล้วเอาฉากหลังเป็นจักรวาล Star Wars มาใส่
  • แต่พอไม่มีตัวละครหลัก ไม่มีเจไดแม้แต่คนเดียว ก็พลอยรู้สึกว่ามันยังไม่ใช่ Star Wars เต็มขั้นมากนัก เปรียบเทียบภาพรวมแล้วยังให้เป็นรอง The Force Awakens
  • ข้อเสียของหนังคือมันรวบรัดไปหน่อย ตัวละครเยอะด้วย ต้องปูพิ้นตัวละครใหม่หมด หนังมันเลยเร่งๆ เร็วๆ ถ้าไม่คุ้นกับหนังที่พล็อตค่อนข้างซับซ้อน อาจมีหลุดบ้าง
  • ตัวละครหลายตัวออกแบบมาน่าสนใจและมีเอกลักษณ์ เช่น ตัวของ Donnie Yen แต่น่าเสียดายว่าตัวเอก Jyn Erso ที่พยายามปั้นให้เป็น heroine ลักษณะเดียวกับพวก Lara Croft กลับยังทำได้ไม่ค่อยดีนัก รู้สึกว่าปูพื้นความเก่งหรือความสามารถของเธอน้อยไปสักหน่อย (นอกจากว่าเป็นลูกใครแล้ว เธอไม่มีคุณสมบัติอื่นเลย) เราเลยไม่ค่อยอินกับเธอมากเท่าที่ควร ในขณะที่ตัวของ Cassian Andor ถ้าดันให้ดู "แบด"กว่านี้อีกหน่อย ก็จะขยี้ได้อีกมาก
  • พล็อตจุดที่ดูขาดๆ เกินๆ คือจังหวะที่ Rebels ไม่ยอมออกรบที่ Scarif แต่ทีม Rogue One รวมตัวกันได้รวดเร็วและมีสปิริตกันมาก ทั้งที่ก่อนนั้นไม่กี่นาทียังทะเลากันอยู่แท้ๆ
  • ข้อดีของ Rogue One คงเป็นความเรียล ทั้งในแง่การฉายภาพ Rebels ให้ดูมีด้านมืด และตอนจบแบบโลกไม่สวย แถมจบแบบสมบูรณ์ไม่ต้องมีภาคต่อ อีกทั้งฉากสงครามบู๊มีเยอะมาก อีกทั้งดู militarist สมจริงไม่การ์ตูน
  • ฉากที่ดีที่สุดแน่นอนว่าเป็นฉากของ Darth Vader แม้ออกมาสั้นๆ แต่ก็เด็ดขาด
Keyword: 

[Finished] Gunnm: Last Order

0
0

เขียนถึง Gunnm Last Order ไว้ตั้งแต่ปี 2005ผ่านมาเกือบ 12 ปีก็ได้อ่านจนจบ (คอมมิกฉบับภาษาไทยออกไม่จบ เพราะญี่ปุ่นเปลี่ยนสำนักพิมพ์ เลยต้องอ่าน scanlation ฉบับภาษาอังกฤษจนจบ)

Gunnmภาคแรกมีความยาว 9 เล่ม ใช้เวลาเขียน 5 ปี (1990-1995) ในขณะที่ Gunnm: Last Orderความยาวเพิ่มเป็น 19 เล่ม และใช้เวลาเขียนนานถึง 14 ปี (2000-2014) แถมยังไม่จบด้วย ต้องไปต่อกันที่ภาคสาม Gunnm: Mars Chronicleที่เพิ่งเริ่มเขียนในปี 2014 และคงใช้เวลาอีกนานกว่าจะจบสมบูรณ์ (หวังว่าชีวิตนี้คงอ่านจบนะ)

Last Order จับความต่อจาก Gunnm ภาคแรก แต่ดัดแปลงเรื่องจากตอนจบของภาคแรกอยู่บ้าง (ภาคแรกโดนตัดจบเพราะผู้เขียนป่วย) โดยนางเอก กัลลี่ บุกจากนคร "ซาเลม"บนพื้นโลก ไปยังเมืองบนอวกาศที่ชื่อว่า "เยรู" (ฉบับภาษาอังกฤษใช้ชื่อ Ketheres แทน)

กัลลี่บุกขึ้นเยรูไปเพื่อช่วยคืนชีวิตให้เพื่อนสนิท ลู (Lou) แต่กลายเป็นว่าต้องไปเอี่ยวกับศึกการประลองยุทธบนอวกาศชื่อ Zenith of Things Tournament (Z.O.T.T.) และการเมืองระหว่างดวงดาวแทน (ซึ่งเป็นจักรวาลที่ขยายไปจาก Gunnm ภาคแรกมาก)

เนื้อหาส่วนใหญ่ของภาคสองหมดไปกับการประลอง Z.O.T.T. ซะเยอะ (อันนี้คิดว่าสนุกดีแต่ยืดไปหน่อย คือไม่รวบรัดสวยงามเหมือนภาคแรก) สุดท้าย ทีมของกัลลี่ชนะศึก Z.O.T.T. ได้สำเร็จ แต่ตัวของกัลลี่เองก็ต้องเดินทางต่อไปยังดาวอังคาร เพื่อตามหาอดีตของเธอ ซึ่งจะพูดถึงในภาค Mars Chronicle

โดยสรุปคิดว่า Last Order ยืดไปหน่อย ไม่ค่อยสนุกเหมือนภาคแรก แต่ก็ขยายจักรวาลของ Gunnm ออกไปไกลอีกมาก และยังคงความหนักแน่นในแง่ไซไฟเช่นเดิม สรุปว่าภาคแรกเป็นเรื่องเล่นๆ บนผิวโลกที่ถูกทิ้งร้าง ภาคสองเป็นการเมืองบนลิฟต์วงโคจร ก่อนจะขยับไปยังภาคสามที่เหตุการณ์เกิดบนดาวอังคาร (สักที)

อ่านมาถึงขนาดนี้แล้วก็คงอ่านกันต่อไป ลองไปอ่านภาค Mars Chronicle แล้วพบว่าคงอีกนานกว่าจะจบสมบูรณ์ และหวังว่า Gunnm จบแล้ว ผู้เขียนจะกลับไปเขียน Aqua Knight ที่คาไว้เหมือนกันต่อให้จบด้วย

Keyword: 

เล่น Rockman 1 ใหม่อีกครั้ง

0
0

เกมต้นฉบับเล่นจบแล้วเมื่อประมาณ 20 กว่าปีก่อน (เกมออกครบ 30 ปีพอดี) ช่วงปีใหม่เห็น Steam เอา Mega Man Legacy Collection มาลดราคา 50% เลยจัดมาสักหน่อยแก้คิดถึง

Mega Man Legacy Collection รวมเกมภาค 1-6 จากเครื่อง Famicom/NES โดยเลือกเล่นได้ทั้งสองเวอร์ชันว่าจะเอา Mega Man หรือ Rockman (ส่วนตัวแล้วยังทำใจกับการเรียก Mega Man ไม่ค่อยได้ก็เล่นเวอร์ชันญี่ปุ่น)

ภาคแรกที่ลองนำมาเล่นใหม่ก็คือ Rockman 1 ต้นฉบับออริจินัล มาเล่นอีกทีตอนแก่พบว่าเกมมันยากมาก แถมเป็นเกมรุ่นเก่าที่ไม่มีระบบเซฟหรือพาสเวิร์ดใดๆ ต้องเล่นแบบรวดเดียวจบเท่านั้น

พอมาเล่นในยุคนี้ก็รู้สึกว่า สมัยก่อนเล่นเข้าไปได้ยังไง (วะ) เพราะการจะเล่นจบได้ใน 1 Continue (3 ตัว) ต้องคุ้นเคยกับทุกส่วนในเกมจริงๆ เพราะมีโอกาสให้ผิดพลาดได้น้อยมาก ขนาดเล่นในยุคสมัยที่ save state ได้อยู่หน้าเหวยังตายแล้วตายอีก กว่าจะเล่นจบโหลดใหม่เกินร้อยครั้งแน่ๆ (ตัวที่ยากที่สุดคือ Yellow Devil กว่าจะจำจังหวะมันได้และเล่นผ่าน)

พอได้เล่น Rockman หลายภาคเทียบกันในเวลาไล่ๆ กัน พบว่าเกมภาคแรกๆ มันไปอิงกับระบบอาวุธมาก ถึงขนาดว่าแทบไม่สามารถฆ่าบอสได้เลยถ้าเลือกอาวุธไม่ถูก (ใช้บัสเตอร์ธรรมดายิงแทบไม่ลด) ในขณะที่บอสมีจังหวะเดินที่ไม่เอื้อให้ผู้เล่นเอาตัวรอดจากการเดินชนบอสได้ง่ายนัก ในขณะที่ภาคหลังๆ พอมีตัวช่วยอย่างระบบชาร์จและสไลด์ ก็สามารถเอาชนะบอสด้วยฝีมือ คือกระโดดหลบไปมาแล้วยิงแต่บัสเตอร์อย่างเดียวก็ชนะได้ถ้าเก่งพอ

เกมแนว 2D Platformer สมควรต้องเล่นด้วยจอยเท่านั้น (ผมใช้จอย Xbox One) การเล่นด้วยคีย์บอร์ดเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำอย่างยิ่ง

Keyword: 

แนะนำกาแฟสำเร็จรูปแบบ 2-in-1 ไม่มีน้ำตาล

0
0

หลังจากได้สูตรการชงกินกาแฟเองที่บ้านที่ลงตัวคือ instant coffee แบบซองเล็ก เพราะเก็บรักษาง่าย ชงสะดวกรวดเร็ว (เคยใช้ท่าแบบซื้อแยกกาแฟ ครีม น้ำตาล พบว่าช่วงที่เราไม่ได้กินนานๆ เก็บใส่ขวดโหลไว้มันจะแข็งจากความชื้น) ดังนั้นกาแฟสำเร็จรูป 3-in-1 ที่มีทุกอย่างพร้อม กินทีละ portion เดียว เทน้ำใส่ไมโครเวฟแล้วกินได้ทันที ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด

ที่ผ่านมาก็ทดลองกาแฟแบบ instant มาหลากหลาย ดีบ้างแย่บ้างก็ว่ากันไป แต่ช่วงหลังตั้งใจว่าจะลดการกินหวานลง อย่างการกินกาแฟตามร้านระดับหรูที่ไม่ใส่น้ำเชื่อมมาให้ตั้งแต่แรก อันนี้ไม่มีปัญหา แต่พอเป็นกาแฟ instant ที่ส่วนใหญ่/เกือบทั้งหมดเป็นแบบ 3-in-1 มีน้ำตาลมาพร้อมสรรพ กลับเป็นปัญหาขึ้นมา

เคยลองกิน Nescafe สูตรหวานน้อย (ซองสีม่วง) ชิมได้คำเดียวก็แทบจะเททิ้งเพราะไม่อร่อยอย่างแรง สุดท้ายมาเจอทางเลือกที่ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกเดียว (อาจมีมากกว่านี้ แต่ผมเจออันเดียว ใครเจอมากกว่านี้โปรดชี้ช่อง) เลยเอามาแนะนำ เป็นกาแฟ instant แบบ 2-in-1 คือมีเฉพาะกาแฟกับครีมเท่านั้น ไม่มีน้ำตาลมาให้ด้วย (คือเราก็ยังไม่กล้าแกร่งพอถึงขนาดกินกาแฟดำ)

กาแฟตัวนี้เป็นของยี่ห้อ Super ใช้ชื่อว่า Super Coffee Essonso ซองดำคาดทอง (มันมีซองดำอีกอันที่เป็น 3-in-1 คือมีน้ำตาล ระวังซื้อผิด) หลังจากลองชิมมาได้สักระยะหนึ่งแล้วก็พบว่าโอเค รสชาติดีในระดับหนึ่ง เลยมาแนะนำกันต่อ (ราคา 104 บาท ได้ 15 ซอง ตกซองละประมาณ 7 บาท หาซื้อได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ อย่าง Tops หรือ BigC

Keyword: 

รีวิว Dell UltraSharp U2417H จอ UltraSharp ในราคาที่เอื้อมถึง

0
0

หมายเหตุ: บล็อกตอนนี้ถือเป็นรีวิวสั้นๆ ไม่ได้จริงจังอะไรมาก ไม่ได้มีเครื่องมือตรวจวัดอะไร เน้นประสบการณ์ซื้อและการใช้งานมากกว่า

เรื่องมีอยู่ว่า พีซีออลอินวันที่ใช้อยู่ที่บ้าน (Gateway One ZX6961) อายุประมาณ 6 ปีกว่า มีอันเป็นไปจากปัญหาที่น่าจะเป็น hardware fault เลยนำเอาโน้ตบุ๊ก ThinkPad x250มาใช้แก้ขัดไป แต่ก็พบปัญหาว่า ปรับลดจากพีซีจอใหญ่มาเป็นโน้ตบุ๊กจอ 12"ทำให้ productivity ลดลงไปพอสมควร (ปกติที่ออฟฟิศมีจอนอก แต่ที่บ้านไม่มี)

ในเมื่อต้องซื้อคอมใหม่อยู่แล้ว (อยู่ระหว่างคิดว่าเป็นพีซีหรือโน้ตบุ๊ก) ยังไงก็ต้องซื้อจอใหม่อยู่ดี เลยตัดสินใจซื้อจอมาก่อนเพื่อให้ระดับของ productivity กลับคืนมา

ที่ผ่านมาได้ยินเสียงชื่นชมจอ Dell UltraSharp มานาน ในเมื่อมีโอกาสซื้อจอใหม่เพื่อใช้งานส่วนตัว ต้องใช้เยอะ วันนึงต้องอยู่กับมันนาน ก็เลยตัดสินใจเอา Dell UltraSharp แบบไม่ต้องคิดมาก จ่ายแพงกว่าจอเกรดทั่วไปหน่อย แลกกับคุณภาพพรีเมียมกว่า (ถือเป็น UltraSharp ตัวแรกของผมด้วย)

ซีรีส์ของจอมอนิเตอร์ Dell

คำถามถัดมาคือ จะเอาจอขนาดไหน รุ่นอะไรดี

ปัญหาของ Dell Thailand คือทำเว็บได้ห่วยมาก ข้อมูลเก่าไม่อัพเดต (ปัญหานี้แก้ไม่หาย เรื้อรังมานาน) ดังนั้นเราดูจากเว็บ Dell เมืองนอกสะดวกกว่า

โดยทั่วไปแล้ว จอของ Dell มีด้วยกัน 3 ซีรีส์คือ

  • E Seriesจอเกรดทั่วไปสำหรับใช้งานในออฟฟิศ
  • S Seriesจอเกรดพรีเมียม เน้นหน้าตาสวยงาม และมีจอสำหรับกลุ่มเกมเมอร์ จุดเด่นคือ response time จะต่ำมากๆ เช่น 1ms
  • UltraSharpหรือ U Seriesจอเกรด professional สำหรับมืออาชีพ

dell-series

ส่วนในสายของ UltraSharp ก็จะมีซีรีส์ย่อยแยกไปอีก โดยมักจะระบุไว้ในตัวอักษรตัวสุดท้ายในชื่อรุ่น เช่น จอไร้สาย (Wireless Monitor รหัส Wi), จอโค้ง (Curved), จอกว้างพิเศษ (Ultrawide รหัส W) จอเน้นสีสันเที่ยงตรง (PremierColor รหัส D), จอมีขาแขวน (Arm รหัส A), จอที่ฐานใช้ชาร์จไฟไร้สายได้ (Wireless Charging Stand รหัส J) เป็นต้น

ขนาดของจอก็มีตั้งแต่ 24", 25", 27", 29", 30", 32", 34" (29"กับ 34"เป็น Ultrawide) อย่างแรกสุดเราก็คงต้องเริ่มก่อนว่าอยากได้จอไซส์ประมาณไหน

ความต้องการของผมคือจอ 24"ก็พอแล้ว (โต๊ะเล็ก ที่น้อย) ส่วนฟีเจอร์อื่นใดก็ไม่ต้องการอะไรเป็นพิเศษ การเลือกรุ่นจึงง่ายมากคือ UltraSharp U2417H (U = UltraSharp, 24 = ขนาด, 17 = ซีรีส์ย่อย, H = สัดส่วนจอแบบ 16:9)

จอ Dell UltraSharp 24"ถือเป็นสินค้าตัวถูกที่สุดในซีรีส์ และได้รับความนิยมอย่างสูง (ก็เพราะมันถูก) ที่ผ่านมาจอสาย U24 ออกมาแล้วหลายรุ่นย่อย โดยตัวก่อนหน้านี้ที่ดังมากคือ U2414H จากนั้นก็อัพเกรดมาเป็น U2417Hตัวล่าสุด (เปิดตัวช่วงกลางปี 2016 ก็คือไม่ได้ใหม่มาก ออกมาได้สักระยะแล้ว แต่ก็ถือว่าเป็นตัวใหม่ที่สุดในสายนี้)

จุดเด่นของ U2417H และ UltraSharp ซีรีส์ใหม่ๆ คือดีไซน์แบบ InfinityEdge คือขอบจอบางพิเศษที่เริ่มใช้ครั้งแรกในโน้ตบุ๊ก Dell XPS 13 ปี 2015) ในแง่การใช้งานคงไม่มีผลอะไร แต่ในแง่ดีไซน์ก็ต้องบอกว่ามันดูสวยงามกว่าเดิมมาก

สรุปก็คือเอาตัวนี้แหละ

สเปก

Dell UltraSharp U2417H เป็นจอราคาถูกที่สุดของ UltraSharp ดังนั้นสเปกก็ไม่ได้เลิศเลออะไรมากครับ ความละเอียดก็พื้นฐานของยุคนี้คือ Full HD 1920x1080 (จอ 4K 8K ก็ไว้ว่ากันในอนาคตนะลูกนะ) ความสว่าง 250 cd/m2, คอนทราสต์ 1000:1, Color Gamut 99% sRGB

เนื่องจากมันเป็นจอสำหรับงาน professional ไม่ใช่จอเล่นเกม อัตรา response tie อยู่ที่ 8ms (6ms ใน Fast Mode) อันนี้คงเทียบกับพวก gaming monitor ไม่ได้ และไม่มีฟีเจอร์พวก G-Sync/Freesync

สเปกละเอียดคงหาอ่านกันได้เองจากในเว็บของ Dell นะครับ

ซื้อที่ไหนดี?

ปัญหาของ Dell Thailand คือไม่มีหน้าร้านออนไลน์ที่สร้างชื่อให้กับ Dell ดังนั้นเราต้องหาช่องทางซื้อสินค้ากันเองแบบตามมีตามเกิดสักหน่อย

ผมลองท่าง่ายๆ คือลองหาจากใน Priceza ดูว่ามีที่ไหนขายบ้าง และราคาเท่าไร ก็พบกับราคาบนเว็บ Serve-Solutionขายถูกกว่าใครเพื่อนคือ 8,600 บาท ราคาก็ถือว่าน่าสนใจมาก แต่ไม่เคยได้ยินชื่อเว็บนี้เลยเสียวๆ เหมือนกันครับว่า สั่งไปแล้วเราจะมีปัญหาอะไรหรือเปล่า

ว่าแล้วก็เลยลองโทรเข้าไปที่ออฟฟิศดูก่อน เพราะในเว็บไม่ได้ระบุเรื่องค่าส่งด้วย ผลคือโทรไปแล้วเจอกับ "เซลส์ประชุมอยู่ค่ะ เดี๋ยวให้ติดต่อกลับ"ผมก็อึ้งๆ ไปพักนึงว่า จะไหวมั้ย แต่อีกไม่นาน เซลส์ก็โทรกลับมา แถมบริการดีมาก ข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้คือ

  • ส่งฟรีใน กทม.
  • มีบริการแบบเก็บเงินปลายทาง (cash on delivery) ด้วย
  • ออกบิล VAT ได้
  • สั่งก่อน 4 โมงเย็น จะได้ของในวันรุ่งขึ้น เพราะบริษัทไม่มีสต๊อกของ ต้องส่งคำสั่งไปตอน 4 โมงเย็น แล้วสินค้าจะส่งมาที่บริษัทในช่วงเช้าวันถัดไป พร้อมออกกระจายสินค้าในช่วงกลางวัน

พอสบายใจแล้วก็เลยสั่งมา 1 ตัว วันถัดมาช่วงสายๆ ของก็มาส่งครับ คุยกับพนักงานส่งแล้วพบว่า เป็นบริษัทในเครือเดียวกับ Strek ที่เป็น distributor สินค้าไอทีรายใหญ่ของบ้านเรา (โถ่ แล้วก็ไม่บอกตั้งแต่แรก) เอาเป็นว่าใครคิดจะสั่งกับเว็บนี้แล้วไม่มั่นใจ ผมลองมาแล้วเวิร์คจึงมาบอกต่อครับ อันนี้ไม่ได้ค่าโฆษณาใดๆ คือสุ่มหามาเจอเองแบบที่เล่าไปข้างบน

แกะกล่อง

สินค้าส่งมาถึงแล้วก็มาแกะกล่องกันเลยดีกว่า กล่องของ UltraSharp เป็นกล่องกระดาษสีขาว มีรูปตัวจอแปะมาให้ดูด้วย

Dell UltraSharp U2417H

พอเปิดกล่องออกมาก็พบกับอุปกรณ์พวกฐานจอ ขาตั้ง และสายไฟ ถูกจัดอยู่ในชั้นบนของกล่อง ส่วนตัวจอจริงๆ อยู่ชั้นล่าง อันนี้ต้องบอกนิดนึงว่า จอ Dell รุ่นนี้ไม่มีสาย HDMI มาให้นะครับ (มีแต่สาย DisplayPort) ถ้าใครต่อกับโน้ตบุ๊กที่เป็น HDMI หรือ Mini HDMI ต้องหาซื้อสายเพิ่มกันเอง ผมว่าเป็นจุดเสียหน่อยนึงเหมือนกัน คือจอราคาระดับนี้น่าจะให้มาด้วย

Dell UltraSharp U2417H

จุดเด่นของจอ UltraSharp คือจอทุกตัวจะถูก Calibrate มาจากโรงงาน พร้อมมีใบแสดงผลการ Calibration แยกเฉพาะของจอนั้นใส่ในกล่องมาให้ด้วย อันนี้ก็สบายใจได้ครับว่าสีสันเที่ยงตรงตามมาตรฐาน

Dell UltraSharp U2417H

การประกอบจอก็ไม่มีอะไรยาก คือเอาขาตั้งสอดเข้าด้านหลังจอให้พอดี แล้วเอาฐานจอมาประกบ โดยไขน็อตใต้ฐานจอให้เข้าที่ ใช้มือหมุนได้เลย ไม่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยใดๆ

Dell UltraSharp U2417H

พอร์ตเชื่อมต่อที่มีมาให้ มี HDMI in x1, DisplayPort (DP) in x1, Mini DisplayPort x1, DisplayPort out x1, ช่องเสียบหูฟัง/ลำโพง x1, USB in (upstream) x1, USB ธรรมดา (downstream) x4 (หลัง x2, ข้าง x2)

จอตัวนี้ทำตัวเป็น USB Hub ให้ด้วย ดังนั้นจะมีสาย USB upstream มาให้เสียบจากพอร์ต USB ของเราเข้าไปที่จอ เพื่อให้ใช้พอร์ต USB ของจอภาพได้ (สายที่มาในกล่องจึงมีแค่ สายไฟ x1, สาย USB upstream x1, สาย MiniDP to DP x1)

Dell UltraSharp U2417H

USB อีกสองพอร์ตจะอยู่ที่ขอบซ้ายของจอ

Dell UltraSharp U2417H

ปุ่มเปิดจอจะกดยากนิดนึง คืออยู่ที่มุมขวาล่าง หลบเข้าไปที่ขอบจอด้านใต้เล็กน้อย

Dell UltraSharp U2417H

ขอบจอแบบ InfinityEdge ที่เป็นเอกลักษณ์ มันก็บางจริงๆ แหละนะ ตอนจับจอยกนี่มีเสียวเลย

Dell UltraSharp U2417H

ลองใช้แล้วก็เห็นความแตกต่างได้อย่างไม่ยากครับ สีสันสดสวยชัดเจนมาก คือลองดาวน์โหลด wallpaper สีสดๆ จาก Bing มาใช้แล้วก็ตะลึงไปแพรบ (จอห่วยๆ ของ ThinkPad ผมนี่หมองไปเลย มันเป็นตัวเทียบที่ไม่ดีนัก แต่ก็ไม่อยู่แค่นี้)

Dell UltraSharp U2417H

ฟีเจอร์อีกอย่างที่ผมชอบคือ ขาตั้งของจอ UltraSharp (ทุกรุ่นนะ) ออกแบบมาดี เราสามารถปรับระดับความสูง ความเอียงซ้ายขวาก้มเงยของมันได้ง่ายมากๆ ชนิดว่าออกแรงนิดเดียวก็เอาอยู่ แถมมั่นคงแข็งแรงดีมาก ปรับระดับแล้วอยู่ปึ๊กไม่ต้องกังวัลใดๆ ว่ามันจะไม่เสถียร

ผมคงไม่ได้วัดพวก Color Gamut ใดๆ เพราะไม่ต้องการฟีเจอร์ขนาดนั้น + ไม่มีเครื่องมือ แต่โดยรวมแล้วจอ U2417H ก็ให้ความพึงพอใจดีมาก สีสันสดสวยในราคาเอื้อมถึงได้ ข้อเสียเดียวที่นึกออกคงเป็นว่าไม่มีสาย HDMI มาให้ในกล่อง เท่านั้นล่ะครับ

Moana

0
0

เจ้าหญิงดิสนีย์คนล่าสุดของปี 2016 ที่ต้องรับภาระหนัก เพราะรุ่นพี่ Frozen ทำรายได้เอาไว้ถล่มทลาย ทีมที่สร้าง Moana คือผู้กำกับเรื่อง The Princess and the Frog ที่ผมว่ากลางๆ ไม่ได้โดดเด่นอะไร

รอบนี้ดิสนีย์เปลี่ยนฉากหลังจากแดนหิมะ มาเป็นหมู่เกาะกลางทะเลแปซิฟิก ตัวเกาะเป็นเกาะสมมติ แต่สร้างขึ้นภายใต้อารยธรรมแบบ Polynesian (ตั้งแต่ใต้ฮาวายลงไป)

เนื้อเรื่องเป็นแนวแฟนตาซีคือ โมอันน่า (Moana) นางเอกเป็นลูกสาวของหัวหน้าเกาะ ที่กำลังจะตายเพราะคำสาบจากธรรมชาติ เนื่องจากเทพครึ่งมนุษย์ (Demigod) ชื่อ Maui (อ่านว่า เมาวี) ดันไปขโมยหัวใจมหาสมุทรของพระแม่ธรณีแห่งหมู่เกาะขึ้นมา ส่งผลให้โมอันน่าต้องปฏิบัติภารกิจ ตามหาเมาวี แล้วเอาหัวใจไปคืนเพื่อล้างคำสาบ

การนำเสนอบนโปสเตอร์หนังดูจะเน้นที่พลัง Girl Power ใช้ตัวเอกหญิงเป็นจุดขาย (พ่วงด้วยพลัง diversity คือยุคนี้นางเอกผิวขาวผมบลอนด์เยอะไม่ได้ ต้องเป็นชนชาติอื่น) แต่จริงๆ แล้วในหนังก็ค่อนข้าง gender neutral คือความเป็นผู้หญิงไม่ได้มีบทบาทอะไรมากนัก

แถมเรื่องนี้ยังไม่มีบทโรแมนซ์หรือ love-interest ใดๆ แบบหนังดิสนีย์ตามขนบ (จะว่ามันคล้ายหนังดิสนีย์ยุคมืดอย่าง Atlantis ก็ยังได้) บวกกับความสัมพันธ์ระหว่าง Moana กับ Maui เป็นเหมือนพ่อ-อา-พี่ชาย ซะมากกว่า ต่อให้สลับเพศของ Moana มาเป็นผู้ชาย เรื่องก็แทบจะเหมือนเดิมทุกประการ

สิ่งที่ต้องชมของ Moana คือภาพสวยมาก งาน CG พัฒนาขึ้นมาก เก็บรายละเอียดทุกจุด อันนี้ทำได้ดีจริงๆ (คือผมไม่คิดว่างาน CG มันจะไปได้ไกลกว่านี้อีกมาสักระยะแล้ว แต่มันก็ยังไปต่อได้) และเพลงก็เพราะในระดับหนึ่ง

แต่ส่วนที่ไม่ค่อยชอบคือการดำเนินเรื่องยังไม่ค่อยดีนัก ตัว Moana ไม่ค่อยมีคาแรกเตอร์สักเท่าไร (นอกจากเธอรักและหลงใหลทะเล ก็ดูแบนๆ ไม่ค่อยมีอะไรเด่น) แถมเธอมีตัวช่วยเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นครึ่งเทพ Maoi, ผีปลากระเบนหรือวิญญาณของย่าเธอเอง, พลังแห่งท้องทะเล แถมต้องไปรบกับมอนสเตอร์ปูยักษ์ และปีศาจลาวา มันชวนให้งงว่า "ศักดิ์"ความเก่งหรือความเนื้อชั้นของพลังธรรมชาติแต่ละตัวที่โผล่เข้ามาในเรื่อง มันแตกต่างกันอย่างไร

อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมหนังก็ดูสนุกและลื่นไหล ถือเป็นผลงานระดับคุณภาพดีของดิสนีย์ในยุคหลังๆ แม้ว่าจะไม่โดดเด่นถึงขนาด Frozen ก็ตามที (หนังได้คะแนนรีวิวเฉลี่ย 95% สูงกว่า Frozen ซะอีก แต่ผมว่าด้อยกว่าอยู่ 1-2 ขั้น)

Keyword: 

Fantastic Beasts and Where to Find Them

0
0

ภาคแรกของหนังซีรีส์ใหม่ในจักรวาล Harry Potter ที่ J.K. Rowling มาร่วมเขียนบทด้วย และเห็นว่าจะมีถึง 5 ภาคด้วยกัน

เนื้อเรื่องเกิดก่อนสมัยของ Harry Potter นานหลายสิบปี อิงจากหนังสือเล่มเล็กชื่อเดียวกัน ที่เป็นสารานุกรมสัตว์มหัศจรรย์ แล้วนำเรื่องของผู้เขียน Newt Scamander มาแต่งว่าผ่านการผจญภัยอย่างไร

Newt Scamander เป็นพ่อมดจากฮอกวอตต์ แต่ข้ามทะเลมายังอเมริกา โดยมีภารกิจลับเพื่อนำสัตว์ประหลาดมาปล่อยคืนถิ่นในแอริโซนา แต่พอมาขึ้นฝั่งที่นิวยอร์ก ก็มีเหตุให้เข้าไปวุ่นวายกับภาวะวิกฤตของเมืองที่มีสัตว์ประหลาดลึกลับอาละวาด

เนื้อหาในภาคแรกเป็นแค่ intro เข้าสู่ซีรีส์ของ Fantastic Beasts เท่านั้น เพราะเหตุการณ์ปราบสัตว์ประหลาดในภาคนี้เป็นแค่ incident เล็กๆ ที่เปิดเผยตอนหลังว่าเป็นฝีมือของ Gellert Grindelwald พ่อมดมืดของยุคสมัยนี้ และคู่ปรับร่วมรุ่นของ Dumbledore นั่นเอง ภาคหน้าก็คงกลับไปต่อสู้กันต่อในแผ่นดินแม่อย่างอังกฤษ

ในแง่ความต่อเนื่องของจักรวาล Harry Potter ถือว่าทำได้น่าสนใจดี (แหงล่ะ J.K. มาเขียนบทเอง) เพราะหนังแสดงให้เห็นสังคมพ่อมดแม่มดฝั่งอเมริกา ที่เราไม่เคยเห็นในหนังสือมาก่อน (แค่คำเรียกคนที่ไม่มีเวทย์มนตร์ก็ต่างกันแล้ว ฝั่งอเมริกาเรียก No-Maj หรือ No Magic ต่างจากอังกฤษเรียก Muggle) และตัวเรื่องก็ดูโอเคในระดับหนึ่ง (ยกเว้นฉากสุดท้าย ลบความทรงจำทั้งเมืองที่ดูโกหกไปหน่อย)

สิ่งที่ไม่ค่อยอินคือ คาแรกเตอร์ของนักแสดงนำทั้ง 4 คน มันดูแบนๆ ไม่ค่อยมีมิติเอาซะเลย และดูพยายามออกแบบบุคลิกมาให้จืดชืด (Newt ที่เราไม่รู้ว่าเขาคือใครอะไรยังไง นอกจากชอบสัตว์, Tina ที่ดูงงๆ ทั้งเรื่อง) หรือล้นเกิน (Jacob ที่พยายามให้เป็นตัวตลกแบบ comical, Quennie ที่ปั้นให้ดูเป็นเซ็กซ์บอมบ์เกินความจำเป็น) ส่งผลให้ความสัมพันธ์และพัฒนาการของตัวละคร มันดูดร็อปๆ ไปเมื่อเทียบกับตัวละครของภาคหลัก

ในแง่ของแฟนซีรีส์ ก็ถือว่าดีที่มีคอนเทนต์ใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาให้ติดตาม แต่ก็ได้แค่หวังว่า ภาคหน้ามันจะมีเรื่องราวซับซ้อนน่าสนใจกว่านี้

Doctor Strange

0
0

Doctor Strange หนังอีกเรื่องในจักรวาล Marvel Cinematic Universe (MCU) ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

Doctor Strange ภาคหนังถือเป็นภาคแรกของตัวละครนี้ การดำเนินเรื่องจึงเป็นเอกเทศไม่ยุ่งกับใคร ไม่เคยดู MCU มาก่อนก็สามารถดูได้อย่างไม่มีปัญหา

เรื่องเกิดในนิวยอร์ก เมื่อหมอรักษาเส้นประสาทสุดเทพสุดหยิ่ง Stephen Strange ประสบอุบัติเหตุจนกลายเป็นคนป่วยซะเอง เขาจึงหาวิธีรักษาตัวเองที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ จนไปพบสำนักจิตวิญญาณ Kamar-Taj ในเนปาล ที่สอนวิชาถอดจิตออกจากกาย (พูดถึง astral plane หรือมิติวิญญาณ) แต่จริงๆ แล้วเป็นผู้รักษาสมดุลของโลก เพื่อป้องกันวายร้ายจากมิติอื่นมาบุกโลก

หนังน่าตื่นตาตื่นใจมากตรง CG หมุนเมืองเป็นเหมือนฟันเฟือง อันนี้ถือเป็น art direction ที่แปลกใหม่ดีมาก (เบื้องหลัง) อีกอันที่ทำดีคือพัฒนาการของ Stephen Strange จากหมอผู้เคร่งครึม (ผมดู Imitation Gameมาก่อน บุคลิกของพระเอก Benedict Cumberbatch เหมือนกันเป๊ะ) จนค่อยๆ เปลี่ยนมาเป็นฮีโร่พิทักษ์โลก ผ่านเหตุการณ์และการแต่งตัวไปอย่างช้าๆ เนียนๆ

อันที่ไม่ชอบคือแรงจูงใจของตัวร้าย Kaecilius ที่เราไม่รู้ว่าเขาต้องการอะไรยังไง มีปมอะไร จู่ๆ ก็บุกมาโจมตีฝ่ายพระเอกอย่างเดียวแบบไม่ค่อยมีเรื่องราวนัก (ลิ่วล้อของตัวร้ายก็ไม่มีอะไรน่าจดจำ) เลยทำให้เรื่องดูอ่อนไปหน่อย

ตอนจบเรารู้ว่า หินดวงตาที่ใช้ย้อนเวลาได้ เป็นหนึ่งใน Infinity Stone ซึ่งก็จะถูกนำไปขยายความต่อใน Avenger ภาค 3 ที่จะโฟกัสไปที่ปมอันนี้

Keyword: 

La La Land

0
0

ได้ยินเสียงร่ำลือมานาน ในที่สุดก็ได้ดูสักที (บนเครื่องบิน)

  • ฉากเต้นเปิดเรื่อง long shot เท่มาก ชอบ เบื้องหลังนี่คิวต้องเป๊ะมาก (ดูคลิปตอนซ้อมเต้นได้ข้างล่าง)
  • หนังถูกออกแบบมาให้ดูย้อนยุค แต่จริงๆ แล้วไม่ได้ย้อนยุค อย่างร้านกาแฟที่นางเอกทำงานอยู่ ใช้เครื่องคิดเงินของ Square
  • นางเอก Emma Stone เล่นได้โดดเด่นมาก ในขณะที่ Ryan Gosling นี่รู้สึกเฉยๆ ไม่เด่นเท่า
  • เนื่องจากว่าไม่เคยไป L.A. (ยกเว้นทรานสิต) ดูแล้วก็อยากไป L.A. ขึ้นมาทันที เห็นว่าความสำเร็จของ La La Land ทำให้นักท่องเที่ยวไป L.A. กันเยอะขึ้น สถานที่ที่อาจไม่ค่อยดังมาก (เช่น หอดูดาว) ก็ดังขึ้นมาเลย
  • เพลงก็เพราะดีทั้งเรื่อง เผอิญเพิ่งไป New Orleans มาเมื่อปีที่แล้ว เลยเข้าใจว่าทำไมพระเอกถึงอินกับ Jazz มาก มันเป็นอารยธรรมจริงๆ
  • ชอบตอนจบแบบ bittersweet แต่เสียดายว่าช่วงท้ายๆ (ตอนนางเอกออดิชั่นรอบสุดท้าย) มันรวบรัดไปหน่อย ถ้าเล่าให้มีจังหวะกว่านี้ น่าจะดีขึ้นอีก
  • โดยสรุปว่าถือเป็นหนังน่าประทับใจ ที่ original musical สามารถมาได้ไกล (และทำได้ดี) ขนาดนี้
Keyword: 
Viewing all 557 articles
Browse latest View live




Latest Images